magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home การแพทย์/สาธารณสุข ‘​มะรุม​’ ​ต้น​ไม้​มหัศจรรย์​
formats

‘​มะรุม​’ ​ต้น​ไม้​มหัศจรรย์​

ฝักมะรุมจัดเป็นผักพื้นบ้านที่หารับประทานได้ง่ายและมีวาง ขายในช่วงต้นฤดูหนาว ในขณะที่เกษตรกรที่ปลูกมะรุมไว้ในบ้านจะได้บริโภคยอดมะรุม ใบอ่อน,ช่อดอกและฝักอ่อนได้ตลอดทั้งปีโดยนำมาต้มหรือลวก ให้สุกจิ้มกับน้ำพริกได้หลากหลายชนิดหรือจะใช้ยอดอ่อนและ ฝักมะรุมมาทำแกงส้ม มีหลายคนนำช่อดอกมะรุมไปดองเก็บไว้บริโภคกับน้ำพริก

ในทางพฤกษศาสตร์จัดให้ต้นมะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่คน ไทยปลูกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วขณะนี้มีเรื่องที่น่ายิน ดีที่มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่า “มะรุม” มีคุณค่าทางโภชนา การสูงมาก ในใบมะรุมจะมีวิตามินซีมากกว่าส้มถึง 7 เท่า มีธาตุแคลเซียมมากกว่านมถึง 4 เท่า มีวิตามินเอมากกว่าแครอท 4 เท่า มีโปรตีนมากกว่านม 2 เท่าและมีธาตุโพแทสเซียมมากกว่า กล้วย 3 เท่า

ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว จากมูลนิธิ   โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี บอกว่าในใบมะรุมมีสารอยู่หลายชนิดดังที่ได้กล่าวมา ในทางการแพทย์จะช่วยใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วย เบาหวาน ใช้ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ถ้ามีการใช้ควบคู่กับยาแผนปัจจุบันจะช่วยรักษาโรคไขข้อ อักเสบ โรครูมาติซั่มและรักษาโรคตาได้เกือบทุกชนิด ภญ.ผกากรอง ย้ำว่าจะใช้ใบมะรุมเพื่อการรักษาโรคควรใช้ควบคู่กับยาแผน ปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาของคณะแพทย์ศิริราชพยาบาล พบว่าสารสกัดน้ำของมะรุมน่าจะเป็นสมุนไพรที่ช่วยลดโอกาสการ เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

ส่วนงานวิจัยในประเทศอินเดียได้ใช้แอลกอฮอล์สกัดเมล็ดของมะรุม มาให้หนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นข้ออักเสบ พบว่าสารสกัดมะรุมช่วยลดการอักเสบ แต่เป็นการทดลองในหนูเท่านั้น ถึงแม้ยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันชัดเจนว่ามะรุมต้านความชรา ได้ แต่ได้มีการวิเคราะห์พบว่าในมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์ที่ สำคัญอยู่หลายตัวซึ่งมีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทำให้คนญี่ปุ่นได้มีการผลิต ชาใบมะรุมออกจำหน่ายและในประเทศเริ่มผลิตเป็นแคปซูลใบมะรุม จำหน่ายกันบ้างแล้ว แต่ในขณะนี้ทาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยายังไม่มีการอนุญาตให้ขึ้น ทะเบียนผลิตภัณฑ์จากมะรุม เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาพิษวิทยาที่อาจจะเกิดจากการ บริโภคมะรุมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ที่ผ่านมาคนไทยบริโภคมะรุมเป็นอาหาร

มีการวิจัยได้สรุปว่าการกินมะรุมจะมีผลต่อการลดไขมันใน ร่างกาย ดังนั้นหากการกินมะรุมมีผลทำให้ขับไขมันออกมาทางอุจจาร ะมากขึ้น นั่นก็หมายถึงไขมันที่กินเข้าไปไม่ถูกดูดซึมในร่างกาย ซึ่งก็ไม่ดีเสมอไป เพราะโดยปกติร่างกายเราต้องการไขมันในการใช้เป็นพลังงานและ ทำให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติประมาณวันละ 15-30%.

รายการอ้างอิง :

ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ. ‘มะรุม’ ต้นไม้มหัศจรรย์. เดลินิวส์ (เกษตร). วันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2552– ( 150 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


9 + = eleven

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>