magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

หุ่นยนต์บน Cloud

หุ่นยนต์ในยุคหน้าหรือหุ่นยนต์ในยุค 2.0 นั้น ไม่ว่าจะเป็น  หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (Industrial robot)  ที่เป็นมิตรกับมนุษย์ และหุ่นยนต์ที่อยู่อาศัยร่วมกับมนุษย์  (Co-inhabitant Robot) เช่น หุ่นยนต์ช่วยเหลือผู้สูงอายุในบ้านพักอาศัย หรือหุ่นยนต์ทำหน้าที่คอยช่วยเหลือมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือทำงาน ต้องอาศัยประสาทสัมผัส หรือ Senses เป็นสิ่งสำคัญ

สำหรับแนวทางการพัฒนาหุ่นยนต์ ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่จะทำให้หุ่นยนต์ในยุคหน้าฉลาดมากขึ้น นั่นคือ สมอง หรือความสามารถในการประมวลผล (Processing) และจดจำ (Memorizing) ซึ่งปัจจุบันความเร็วของชิปประมวลผลคอมพิวเตอร์มีสูงมากกว่าเดิมมาก ทำให้หุ่นยนต์สามารถทำงานที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และมีความสามารถในการตัดสินใจด้วยตัวเอง (ตามที่มนุษย์เคยสอนเอาไว้)

และ มากกว่านั้นมันอาจจะเรียนรู้ (Learning) จากประสบการณ์ที่มันเจอได้อีกด้วย ซึ่งต้องอาศัยหน่วยความจำขนาดใหญ่ แต่เนื่องจากขนาดอันจำกัดของมัน จะเอาคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ไปใส่ไว้ให้มันแบกไว้ก็ไม่ได้

ด้วย เหตุนี้ จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีคลาวด์ โรบอต(Cloud Robot) ซึ่งพึ่งพาความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง ทำให้หุ่นยนต์สมัยใหม่สามารถทำงานที่ต้องอาศัยการประมวลผลสูงๆ และหน่วยความจำขนาดมหาศาลบนคลาวด์เซิร์ฟเวอร์ ผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เช่น การประมวลผลเชิงภาพ (Image Processing) หรือการประมวลผลเสียง (Voice Processing) เป็นต้น

นอกจากนี้มันยังสามารถดึงเอาข้อมูลออกมาจากหน่วยความจำบนรีโม ตเซิร์ฟเวอร์ เช่น ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลการตัดสินใจ หรือแม้แต่ความสามารถที่มันไม่เคยมีมาก่อนมาใช้ได้ทันที

บริษัท กูเกิลกำลังทุ่มเทวิจัยในเรื่องนี้อยู่ เรียกได้ว่า จะได้เห็นหุ่นยนต์ทุกตัวสามารถใช้ข้อมูลกูเกลิแมพบนเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิล เพื่อการนำทาง และในยุโรปมี

โครงการ RobotEarth เป็นโครงการที่พยายามสร้าง World Wide Web for Robot หมายถึง สร้างให้หุ่นยนต์ทุกตัวเชื่อมต่อถึงกันบนเครือข่ายคลาวด์ขนาดใหญ่ เพื่อให้หุ่นยนต์ทุกตัวสามารถแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุ รูปภาพ สภาพแวดล้อมและแบ่งหน้าที่กันได้

เช่น เมื่อหุ่นยนต์เห็นวัตถุที่ไม่เคยรู้จัก ก็จะส่งภาพวัตถุที่เห็นนั้นไปยังคลาวด์ เพื่อค้นหาในฐานข้อมูลว่าวัตถุนั้นมันคืออะไร เมื่อพบแล้วก็จะส่งข้อมูลโมเดล 3 มิติเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์กลับมายังหุ่นยนต์ คล้ายกับเวลาที่เราต้องการค้นหาข้อมูลด้วยโปรแกรม Goggle ของกูเกิล เราก็เพียงถ่ายรูปสิ่งนั้นด้วยโทรศัพท์มือถือแล้วค้นหาข้อมูลได้เลยว่ามัน คืออะไร

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าคลาวด์ โรบอตไม่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ประมวลผลสูงก็สามารถทำงานได้ โดยอาศัยเพียงชิปคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนปกติเท่า นั้น นอกจากข้อมูลวัตถุสิ่งของ หน้าตา และเสียงของมนุษย์ก็สามารถถูกบันทึกโดยคลาวด์ โรบอต ทำให้หุ่นยนต์รู้จักเราและมีปฏิสัมพันธ์กับเราได้อย่างไม่เคอะเขิน

ล่าสุดมีหุ่นยนต์ขนาดเท่าเด็ก มีชื่อเรียกว่า iCub ผลิตออกมาเพื่อให้สามารถดาวน์โหลดข้อมูลการทำงาน เช่น การทำพิซซ่าผ่านทางอินเทอร์เน็ต มันก็จะมีความสามารถทำพิซซ่าได้โดยทันที เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าหุ่นยนต์ในยุค 2.0 นั้น จะมีขนาดเล็กลง เบาลง ใช้พลังงานน้อยลง แต่จะฉลาดมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน

รายการอ้างอิง :

หุ่นยนต์บน Cloud. กรุงเทพธุรกิจ (เทคโนโลยีปริทรรศน์). ฉบับวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556.– ( 113 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


4 × = twenty eight

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>