magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก ติด GPS ไม่เปลี่ยนพฤติกรรมคนขับ ผลสำรวจรถบัสขับเร็วกว่ารถตู้ 81%
formats

ติด GPS ไม่เปลี่ยนพฤติกรรมคนขับ ผลสำรวจรถบัสขับเร็วกว่ารถตู้ 81%

แม้ว่าคนไทยบางส่วนจะหันไปซื้อ “รถคันแรก” ตามนโยบายของ รัฐบาลกว่า 1.3 ล้านคัน แต่ก็ยังมีคนส่วนใหญ่ที่ยังนิยมเดินทางด้วย รถโดยสารสาธารณะเพิ่มขึ้น ยิ่งเป็นช่วงเทศกาลสำคัญต่างๆ จะเห็นได้ว่า มีประชาชนมานอนรอซื้อตั๋วสถานีขนส่งทั้งหมอชิต เอกมัย และสายใต้ กันเนืองแน่นเหมือนทุกๆ ปีที่ผ่านมา

ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน กรมการขน ส่งทางบกจึงได้นำระบบจีพีเอสติดตั้งในรถโดยสารสาธารณะ โดยคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ได้กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่ง ผู้โดย สารต้องติดตั้งระบบจีพีเอส ในรถที่ใช้ประกอบการขนส่ง

พร้อม ทั้งรายงานข้อมูลตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด และต้องดำเนินการจัดให้มีการอบรมผู้ขับรถ หรือส่งผู้ขับรถเข้ารับการอบรมกับกรมการขนส่งทางบก หรือหน่วยงานที่กรมการขนส่งทางบก มอบหมาย ตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด โดยได้เริ่มมาตรการบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ “1 มกราคม 2556” เป็นต้นไป

อย่าง ไรก็ดี ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธิสาธารณสุข แห่งชาติ ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย มูลนิธิไทยโรดส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) จัดประชุมเครือข่ายเพื่อติดตามข้อมูล สถานการณ์อุบัติเหตุ และความคืบหน้าการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับรถโดยสาร สาธารณะปลอดภัยของประเทศไทยโดย นายแพทย์ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทาง ถนน (ศวปถ.) บอกว่า ภายหลังจากที่กรมการ ขนส่งทางบก ออกประกาศมาตรการและข้อบังคับ สำหรับควบคุมดูแลผู้ประกอบการ รถโดยสารสาธารณะ ทั้งรถเมล์ รถตู้ และรถบัส ที่อยู่ในความดูแลของ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บ.ข.ส.) และองค์การขนส่งมวลชน กรุงเทพ (ขสมก.) โดยกำชับให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การออกกฎให้รถตู้ทุกคันต้องมีเข็มขัดนิรภัยสำหรับผู้โดยสารทุกที่นั่ง และคอยควบคุมพฤติกรรมคนขับรถไม่ให้ขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ถึงขั้นออกประกาศบังคับให้รถโดยสารสาธารณะติดแถบตรวจบันทึกความเร็ว (RFID) ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2555 แต่ภาย หลังประกาศใช้เพียง 3 เดือน ก็เงียบหายไป

สำหรับ การจัดประชุมในครั้งนี้ ทางศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนนยังต้องการติดตามความคืบหน้าแผน ดำเนิน งานติดตั้งระบบจีพีเอส (GPS) ที่กรมการขนส่งทางบกได้ออกมาประกาศ ว่าจะมีการ บังคับให้รถ บ.ข.ส.กว่า 800 คัน ติดตั้งไว้ในรถก่อนที่จะขยายไปยังรถ บ.ข.ส.ร่วมบริการเอกชน และรถตู้ทั่วทั้งประเทศ เพื่อให้ทางศูนย์ควบคุมสามารถตรวจวัดอัตราความเร็วที่ใช้วิ่งบนถนนได้อย่าง รวดเร็ว เพราะ จะสามารถควบคุมพนักงานขับรถให้ขับรถ ตามอัตราความเร็วที่กฎหมายกำหนด

“ขณะนี้หลายภาคส่วนที่ทำงาน ด้าน ความปลอดภัยทางถนน มีความกังวลตรงกันในประเด็นความพร้อมของทางภาครัฐ เกี่ยวกับการติดตั้งจีพีเอสนำร่องในรถ บ.ข.ส. กว่า 800 คัน ก่อนวันที่ 1 ม.ค.56 เพราะว่าทางเราได้สอบถามความคืบหน้าไปยังกรมการขนส่งทางบกหลายครั้งแล้ว แต่ทางเจ้าหน้าที่ก็ยังเงียบ ขณะเดียวกันการติดตั้งจีพีเอส จะต้องควบคู่ไปกับการสร้าง ศูนย์ควบคุมส่วนกลาง ซึ่งจะต้องมีเจ้าหน้าที่ ประจำการอยู่ตลอดเวลา มาตรการติดตั้ง จีพีเอสเพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุจึงจะได้ผล เพราะหากติดตั้งจีพีเอสเพียงอย่าง เดียว แต่ไม่มีศูนย์ควบคุมสั่งการที่มีประสิทธิภาพก็ไร้ความหมาย จึงกลัวว่ามาตรการ นี้อาจจะล้มไม่เป็นท่าเหมือนมาตรการติดตั้งติดแถบตรวจบันทึกความเร็ว (RFID)”

ด้าน นางสาวกัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์ ศูนย์ วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย มูลนิธิไทยโรดส์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) บอกว่า ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุฯ ได้เปิดผลสำรวจพฤติกรรมการใช้ความเร็วรถโดยสาร สาธารณะ บนเส้นทางหลวงสายหลักรอบกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีการเก็บข้อมูลรายไตรมาสทั้ง 4 ไตรมาส ของปี 2555 การสำรวจพฤติกรรมการใช้ความเร็ว ของทาง ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย ได้ใช้อุปกรณ์ Laser Speed Detector ตรวจจับความเร็วรถโดยสารสาธารณะ 5 ถนนทางหลวงสายหลัก คือ ถนนพหลโยธิน ถนนมอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-ชลบุรี ถนนบางนา-ตราด ถนนพระรามที่ 2 และถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี พบว่า รถตู้ประจำทาง 4,421 คัน ร้อยละ 55 รถตู้ทั่วไป 6,798 คัน ร้อยละ 53 รถบัสประจำทาง 1514 คัน ร้อยละ 67 และรถบัสทั่วไป 400 คัน ร้อยละ 81 ขับรถเร็วกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้

“ใน ปี 2555 ที่ผ่านมา สรุปได้ว่ารถตู้มากกว่าร้อยละ 50 และรถบัสมากกว่า ร้อยละ 65 มีพฤติกรรมขับรถเร็วกว่าอัตรา ที่กฎหมายกำหนด ซึ่งผลการสำรวจสามารถ ยืนยันได้ว่าในปีนี้ ประเภทรถทั้ง 4 กลุ่มตัวอย่าง ไม่มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แม้ช่วงหลังทางตำรวจจราจรและตำรวจ ทางหลวง จะใช้เทคโนโลยีตรวจจับความ เร็วเข้ามาช่วยตรวจวัดจับกุมก็ตาม โดยยกตัวอย่างถนนสายหลักซึ่งรถตู้สามารถใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 80 กม./ชม. ส่วนรถบัส 60 กม./ชม.”

รายการอ้างอิง :

ติด GPS ไม่เปลี่ยนพฤติกรรมคนขับ ผลสำรวจรถบัสขับเร็วกว่ารถตู้ 81%. สยามธุรกิจ. ฉบับวันที่ 09 – 11 มกราคม พ.ศ. 2556.– ( 154 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


− one = 7

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>