magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก เยาวชนไทยศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพและการเกษตรที่นครเซี่ยงไฮ้
formats

เยาวชนไทยศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพและการเกษตรที่นครเซี่ยงไฮ้

กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดโครงการศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพและการเกษตรที่นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นการร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ให้นักศึกษาทุนโครงการวิทยาศาสตร์ระดับต่างๆ ได้ไปศึกษาดูงานด้านวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 26-31 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยมีนักศึกษาผ่านการสอบสัมภาษณ์คัดเลือกจำนวน 5 คน          การดูงานในครั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาทั้ง 5 คน ได้เรียนรู้ระบบการจัดการและการพัฒนาของประเทศมหาอำนาจอย่างประเทศจีน โดยเฉพาะในด้านของเทคโนโลยีชีวภาพและการเกษตร

ทั้งนี้ เซี่ยงไฮ้ถือว่าเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของจีน โดยมีพื้นที่ประมาณ 6,300 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรอยู่ถึง 19 ล้านคน และด้วยเหตุนี้การพัฒนากระบวนการผลิตอาหารเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการจึงเป็นเรื่องสำคัญ รัฐบาลจีนจึงทุ่มเงินจำนวนมหาศาลเพื่อการศึกษาวิจัยทางด้านเกษตรกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ งานวิจัยส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่การวิจัยพืชอาหาร โดยมีการศึกษาในด้านการปรับปรุงพันธุ์ การปลูกพืชไร้ดิน และการปลูกพืชในโรงเรือน รวมถึงมีการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารเพื่อการบริโภคภายในชุมชน

เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างประเทศไทยและประเทศจีนแล้ว ความแตกต่างในด้านการพัฒนาการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดเรื่องหนึ่ง คงหนีไม่พ้นเรื่องของการจัดการและการลงทุน ประเทศจีนให้ความสำคัญกับการศึกษาวิจัยด้านนี้อย่างมาก เฉพาะเมืองเซี่ยงไฮ้เอง มีการลงทุนหลายสิบล้านหยวนเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมภายในท้องถิ่นร่วมกับนโยบายสนับสนุนของภาครัฐและความร่วมมือของบริษัทเอกชน ส่งผลให้เทคนิคทางการเกษตรมีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สิ่งที่ตามมาคือคุณภาพชีวิตและปริมาณอาหารที่เพียงพอต่อการบริโภค ซึ่งที่ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมองค์กรทางวิทยาศาสตร์ที่ทำงานวิจัยทางด้านการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพอยู่หลายแห่ง ล้วนมีความน่าสนใจแตกต่างกัน ดังนี้

1.Shanghai Sunqiao Modern Agricultural Development Zone เป็นบริษัทเอกชนที่ค้นคว้าวิจัยทางด้านการเกษตรและพัฒนาระบบการปลูกพืชแบบทันสมัย โดยเป็นบริษัทแรกที่นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการเพาะปลูกพืชแบบโรงเรือนกระจก บริษัทนี้จะนำเทคนิคการปลูกผักจากต่างประเทศเข้ามาทดสอบและขยายต่อไป โดยปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อคัดเลือกพันธุ์ที่จะนำมาผลิตเมล็ดพันธุ์และต้นกล้าจำหน่าย และยังมีการพัฒนาโรงเรือนกระจกปลูกพืชควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งมีการรับออกแบบระบบการปลูกพืชในโรงเรือนให้กับประเทศแถบแอฟริกา ญี่ปุน อิหร่าน รวมถึงระบบการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน หรือ soilless system อีกด้วย

2.Shanghai Research & Development Center for Industrial Biotechnology Research Center of Industrial Biotechnology (CIBT) Shanghai Institute for Biological Sciences Chinese Academy of Sciences  เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรภายใต้สถาบันวิทยาศาสตร์และกระทรวงวิทยาศาสตร์ของจีน (Chinese Academy of Sciences : CAS) มีภารกิจหลักคือ การบ่มเพาะเทคโนโลยีชีวภาพระดับอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์กับบริษัทคู่ค้าในประเทศจีน การวิจัยขั้นพื้นฐานและประยุกต์รวมถึงงานในระดับอุตสาหกรรมครอบคลุมผลิตภัณฑ์ ที่หลากหลาย เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ ยาปฏิชีวนะ กรดอะมิโนและสารเคมี เป็นต้น

3.Institute for Agri-food Standard and Testing Technology  หน่วยงานที่ให้บริการด้านการตรวจสอบหาปริมาณโลหะหนัก (เช่น สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว) และสารพิษตกค้างในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น พืชผัก ผลไม้ อาหารสัตว์ อาหารแปรรูป มีบริการตรวจหาการปนเปอนของจุลินทรีย์ก่อโรค โดยให้บริการแก่องค์กรเอกชนและหน่วยงานรัฐบาลของจีน ทั้งยังออกใบรับรองผลการตรวจวิเคราะห์ ซึ่งผ่านมาตรฐานของ Good Agricultural Practices (GAP)

4.Zhuanghang Agricultural Science and Technology Experimental Station เป็นสถานที่สำหรับทดลองปลูกพืชภาคสนาม ประกอบไปด้วยเรือนกระจกขนาดใหญ่ที่มีการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และการให้น้ำ พืชที่มีการปลูกทดลอง ได้แก่ ผักผลไม้ต่างๆ เช่น แมงลัก ฟกทอง พริกหวาน กีวี องุ่น เป็นต้น

5.Agricultural Biological Gene Center  เป็น
องค์กรที่เน้นการศึกษาเพื่อพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐานในด้านการสำรวจรวบรวม อนุรักษ์และปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยอาศัยเทคนิคทางด้านอณูพันธุศาสตร์รวมถึงการศึกษาวิธีการเก็บรักษาพันธุ์พืชด้วยเทคนิคต่างๆ มีห้องปฏิบัติการอณูพันธุศาสตร์ เพื่อศึกษาการทำงานของยีนที่เกี่ยวข้องและมีงานวิจัยเกี่ยวกับการทนแล้งในข้าว การศึกษาการแสดงออกของยีนต่างๆ ด้วยเทคนิค Microarray และการวิจัยเพื่อปรับปรุงพืชให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม

6.Shanghai Chenshan Plant Research Center Shanghai Chenshan Botanical Garden เป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่มีพันธกิจหลักคือ การรักษาพันธุ์พืชพร้อมกับการเผยแพร่ความรู้ทางด้านพฤกษศาสตร์แก่ประชาชนและผู้สนใจ เปหมายหลักของสวนพฤกษศาสตร์คือ การอนุรักษ์พันธุ์พืช การทำงานวิจัยทางด้านพฤกษศาสตร์ สรีรวิทยาของพืชและการจัดทำหอเก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้ (herbarium) โดยมีการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและหน่วยงานวิจัยจากต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุนและประเทศไทย เป็นต้น

7.Institute of Plant Physiology and Ecology (IPPE) Shanghai Institutes of Biological Sciences(CAS) เป็นองค์กรที่ดำเนินงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ ซึ่งภารกิจขององค์กร คือ การตอบสนองความต้องการของชาติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านการเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ โดยเน้นการศึกษาด้าน จีโนมิคของพืช แมลง และจุลินทรีย์โดยพวกเราได้มีโอกาสเข้าชมห้องปฏิบัติการ Plant-fungal interaction and plant reproductive biology โดยมี ศ.ดร.Wei-Hua Tang มาให้ความรู้และแนะนำห้องปฏิบัติการ ซึ่งงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นการวิจัยเชิงลึก เช่น การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเข้าบุกรุกของรา Fusarium sp. กับการก่อโรคในข้าว ข้าวโพด โดยใช้เทคนิคที่น่าสนใจ เช่น Microarray และเครื่องมือที่ทันสมัย เช่น Laser capture, Laser microdissection และ Confocal laser scanning microscopy (CLSM) ซึ่งทำการศึกษาในพืชเศรษฐกิจหลายชนิด

นอกจากเรื่องการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพที่ทันสมัยแล้ว เซี่ยงไฮ้ยังถือได้ว่าเป็นสวรรค์ของนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อย รวมถึงประชาชนทั่วไปที่สนใจในด้านวิทยาศาสตร์ เพราะยังมี พิพิธภัณฑ์แมลง พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเซี่ยงไฮ้ และสวนพฤกษศาสตร์เซี่ยงไฮ้ เป็นต้น

รายการอ้างอิง :

เยาวชนไทยศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพและการเกษตรที่นครเซี่ยงไฮ้. เนชั่นสุดสัปดาห์. ฉบับวันที่ 11 – 17 มกราคม พ.ศ. 2556.– ( 143 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


1 + = eight

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>