magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก เส้นทาง 60 ปี ‘บาร์โค้ด’
formats

เส้นทาง 60 ปี ‘บาร์โค้ด’

หลายครั้งที่เราขึ้นรถไฟฟ้าแล้วเห็นป้ายโฆษณา หรือเปิดหน้านิตยสาร หรือพลิกดูบรรจุภัณฑ์สินค้าต่างๆ เช่น ขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่ม ก็จะพบเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ที่เป็นกรอบสีดำๆ หน้าตาประหลาดๆ ซึ่งเรียกว่า “คิวอาร์โค้ด” หรือบาร์โค้ด 2 มิติ ซึ่งกลายเป็นสื่อใหม่ทางการตลาด ที่เอื้อให้ผู้บริโภคติดต่อสื่อสารกับเจ้าของสินค้าและบริการได้อย่างรวด เร็ว เพียงแค่เอามือถือสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ จ่อไปที่สัญลักษณ์ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าบริการเหล่านั้น ซึ่งรวมถึงกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆ เช่น การเข้าไปร่วมเล่นเกมชิงรางวัล เป็นต้น

  หลายครั้งที่เราขึ้นรถไฟฟ้าแล้วเห็นป้ายโฆษณา หรือเปิดหน้านิตยสาร หรือพลิกดูบรรจุภัณฑ์สินค้าต่างๆ เช่น ขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่ม ก็จะพบเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ที่เป็นกรอบสีดำๆ หน้าตาประหลาดๆ ซึ่งเรียกว่า “คิวอาร์โค้ด” หรือบาร์โค้ด 2 มิติ ซึ่งกลายเป็นสื่อใหม่ทางการตลาด ที่เอื้อให้ผู้บริโภคติดต่อสื่อสารกับเจ้าของสินค้าและบริการได้อย่างรวดเร็ว เพียงแค่เอามือถือสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ จ่อไปที่สัญลักษณ์ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าบริการเหล่านั้น ซึ่งรวมถึงกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆ เช่น การเข้าไปร่วมเล่นเกมชิงรางวัล เป็นต้นหลักการทำงานของคิวอาร์โค้ด ก็คือ การสร้างรูปภาพจากการรวมจุดต่างๆ สำหรับให้ถอดรหัสออกมาในรูปข้อความ, ตัวเลข หรือเป็นสัญลักษณ์เพื่อใช้เป็นทางลัดในการเข้าไปยังเว็บไซต์นั้นๆ ได้โดยไม่ต้องพิมพ์ข้อความใดๆ และล่าสุดก็ขยายมาอยู่บนนามบัตรแล้วด้วย โดยจะใช้บันทึกยูอาร์แอล ของข้อมูลส่วนต่างๆ บนเว็บไซต์ เช่น อีเมล, เฟซบุ๊ก หรือจะเก็บข้อมูลส่วนในรูปแบบตัวอักษร เช่น ชื่อ ตำแหน่ง ที่อยู่ เบอร์โทร ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้ในอนาคตเราอาจไม่จำเป็นต้องแลกนามบัตรกันอีกต่อไป เพียงแค่เอามือถือมาสแกนที่นามบัตร ข้อมูลบนนามบัตรทุกๆ อย่างก็จะถูกจัดเก็บเข้ามือถือทันทีและล่าสุด ยังถูกประยุกต์ใช้ไปติดไว้ที่หลุมศพ เพื่อให้ผู้ที่แวะไปทำความเคารพ สามารถทราบประวัติและคุณงามความดีของผู้ตายผ่านหน้าจอมือถือ

แต่คงมีไม่กี่คนที่ทราบว่า กว่าจะมาเป็นสัญลักษณ์ไฮเทค วิวัฒนาการแรกของ คิวอาร์โค้ด ก็คือ บาร์โค้ด หรือรหัสแท่งซึ่งยังมีการใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้ นึกภาพง่ายๆ ก็คือ ทุกครั้งที่เราเข้าไปซื้อของในร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า แล้วแคชเชียร์ จะพลิกหาเครื่องหมายหรือสติกเกอร์เล็กๆ ที่มีขีดเส้นๆ ปรากฏอยู่ เพื่อไปสแกนกับเครื่องคิดเงิน นั่นแหละคือ การอ่านบาร์โค้ด เพื่อจะได้ทราบข้อมูลสินค้า และราคา รวมถึงยังง่ายต่อการตัดสต็อกสินค้าที่ถูกจำหน่ายออกไปแล้ว

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม ที่ผ่านมา ถือเป็นวันครบรอบ 60 ปี ของการถือครองสิทธิบัตรบาร์โค้ด ที่มีการยื่นขอในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2495 อย่างไรก็ตาม ในการนำมาใช้งานจริงเริ่มขึ้นหลังจากนั้น 22 ปี เพราะรอความพร้อมของเทคโนโลยีการอ่านแถบรหัสบาร์โค้ด โดยการใช้บาร์โค้ดครั้งแรก เริ่มใช้กับการสแกนบาร์โค้ด แถบด้านข้างของหมากฝรั่งที่ซูเปอร์มาร์เก็ตในโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา

และในปีที่เวียนมาครบ 5 รอบของการถือกำเนิดนี้ ก็มีการใช้งานบาร์โค้ดอยู่มากกว่า 5 ล้านบาร์โค้ดทั่วโลกแล้ว และจากเป้าหมายใช้งานที่แตกต่างกัน ทำให้บาร์โค้ด ไม่ได้รับผลกระทบจากความโมเดิร์นของวิวัฒนาการรุ่นหลานอย่าง คิวอาร์โค้ด

รายการอ้างอิง :

คนชอบเล่า. เส้นทาง 60 ปี ‘บาร์โค้ด’. คมชัดลึก (คอลัมน์อินโนเทค). วันที่ 14 ตุลาคม 2555.

– ( 127 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


5 × = ten

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>