บทความจาก วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากบรัสเซลล์ สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงบรัสเซลล์ เบลเยี่ยม
วัสดุสังเคราะห์ทดแทนกระดูกร่วมกับการรักษาด้วยยีน สามารถเลียนแบบเนื้อเยื่อกระดูกจริงและมีแนวโน้มสำหรับใช้กับเนื้อเยื่อส่วนอื่นได้ด้วย
นักวิจัยของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไอร์แลนด์ พัฒนาวิธีการใหม่เพื่อซ่อมแซมกระดูกโดยใช้วัสดุสังเคราะห์ทดแทนกระดูกร่วมกับการรักษาด้วยยีน สามารถเลียนแบบเนื้อเยื่อกระดูกจริงและมีแนวโน้มเพื่อจะสร้างกระดูกขึ้นมาใหม่ให้ผู้ป่วยซึ่งสูญเสียกระดูกเป็นบริเวณกว้าง ด้วยสาเหตุมากจากเชื้อโรคหรือได้รับบาดเจ็บ
นักวิจัยได้พัฒนาวัสดุโครงร่างรองรับเซลล์ (scaffold material) ด้วยนวัตกรรมทำจากคอลลาเจนและอนุภาคนาโนของไฮดรอกซีอะพาไทต์ (coll-nHA) ทำหน้าที่เป็นโครงร่างที่แนบติดกับเซลล์กระดูกของร่างกายและซ่อมแซมกระดูกในบริเวณที่เสียหายโดยใช้วิธีการรักษาด้วยยีน เซลล์กระดูกจะสร้างโปรตีนเพื่อสร้างกระดูกที่รู้จักกันคือบีเอ็มพี (Bone Morphogenetic proteins, BMPs) ออกมามากเป็นการสนับสนุนหรือกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อกระดูกที่แข็งแรง ขึ้นใหม่นับเป็นครั้งแรกที่นำเอาอนุภาคนาโนสังเคราะห์ในประเทศมาใช้ในวิธีการลักษณะนี้ และมีแนวโน้มว่าจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างเนื้อเยื่อในส่วนอื่นๆ ของร่างกายขึ้นมาใหม่ได้อีกด้วย
ในแต่ละปีมีการปลูกถ่ายกระดูกโดยใช้วัสดุปลูกถ่ายกระดูกทั่วโลกประมาณ 2.2 ล้านครั้งคิดเป็นมูลค่าประมาณ 2.5 พันล้านต่อปี นับเป็นที่สองรองจากการปลูกถ่ายไขกระดูก ในปัจจุบันขั้นตอนการปลูกถ่ายกระดูกอาจใช้เซลล์กระดูกของผู้ป่วยเอง (autograft) หรือจากผู้บริจาค (allograft) อย่างไรก็ตามวิธีการเหล่านั้นมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อหรือกระดูกอาจไม่เจริญเติบโตในบริเวณที่ทำการปลูกถ่ายอย่างเหมาะสม ดังนั้นจึงมีแนวโน้มในทางตลาดเพื่อหาวัสดุทดแทนกระดูกอย่างมากมาย เช่นโครงร่างรองรับเซลล์ที่พัฒนาโดยทีมวิจัยของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์
แห่งไอร์แลนด์และคณะผู้ร่วมงาน
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ วารสารข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากบรัสเซลล์ ฉบับที่ 7 ประจำเดือนกรกฎาคม 2555
Available at : http://www.thaiscience.eu/2012/Tabs/Newsletter/july2012/– ( 214 Views)