สำหรับผู้ประกอบการเซรามิก ลำปางกำลังกลืนไม่เข้าคายไม่ออกกับค่าแรง 300 บาทที่เพิ่มปรับขึ้นเมื่อมกราคม 2556 นี้ นอกจากนี้ยังมีต้นทุนพลังงาน และตลาดที่ซบเซาจากผลิตภัณฑ์จีนเข้ามาตีตลาดแล้ว ดร.สมคิด ศิริสุนทร ประธานสมาคม เซรามิกส์ไทย แนะผู้ประกอบการเซรามิก ลำปาง แก้ปัญหาใน 3 ด้าน ก็คือ เรื่องต้นทุนค่าแรง ค่าพลังงาน และตลาด
ประการแรก ผลกระทบส่วนใหญ่จะกระทบผู้ประกอบการรายกลางและ รายเล็ก ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูง หากผู้ประกอบการรายกลาง-เล็กจะปรับตัว ก็คือการก้าวไปสู่การเป็นสินค้าแฮนด์เมดซึ่งไทยเปิดตลาดแฮนด์เมดไว้สองระดับ คือแบบที่ตั้งราคาเอง ผู้ประกอบการใน ส่วนนี้ไม่กระทบ เพราะลูกค้าสู้ราคาได้ และอีกรูปแบบหนึ่ง ทำตาม คำสั่งซื้อ กลุ่มนี้จะได้ผล กระทบมาก เพราะใช้แรงงานในการทำเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบางส่วนมีการนำเอาเครื่องจักรมาใช้รูปแบบที่ญี่ปุ่น-เกาหลีใช้ คือการใช้ ความเป็นศิลปินมาช่วยเขาต้องทำ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ที่ลูกค้ารู้ได้ ราคาสามารถกำหนดได้ตัวอย่างที่มีการปรับตัว ก็คือเครื่องปั้น ดินเผาด่านเกวียน ที่ต้องมีคนออกแบบใหม่ตลอดเวลา มีความหลากหลาย เช่น ตุ๊กตาตั้งโชว์ ปรับมาสู่รูปปั้นในแนวเทพเจ้าของศาสนาฮินดู
ขณะที่ลำปางมีแบบออกมาน้อยมากลำปางจะต้องมีการออกแบบใหม่ ๆ แต่ราคาไม่สูงจนเกินไปเรื่องพลังงาน เซรามิกจากลำปางใช้เวลาการเผานาน คือ 12-18 ชั่วโมง ขณะที่โรงงานขนาดใหญ่ย่านสระบุรี จะมีการนำเครื่องจักรมาใช้ และใช้เวลาในการเผาเพียงแค่ 3 ชั่วโมง
แน่นอนว่า หากผู้ประกอบการรายกลาง-เล็ก ต้องมีเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 10-100 ล้าน ในการสั่งซื้อเครื่องจักร เอสเอ็มอีขนาดกลางและขนาดย่อมไม่สามารถที่จะรับได้
ขณะที่เทคโนโลยีในการผลิต ผู้ประกอบการอาจจะต้องมีการลดไซซ์ ปรับตัวให้มีขนาดเล็ก งานฝีมือ และหาเทคโนโลยีขนาดเล็กเข้ามาช่วยผลิต
ในกรณีของการเผา ผู้ประกอบการจะต้องมองหาเตาเผาที่ช่วยประหยัดพลังงาน คืออาจจะไม่จำเป็นต้องเผากระเบื้องถึง 1,000 องศา และเผาได้เร็วขึ้น ซึ่งหน่วยงานของภาครัฐ เช่น สวทช.มีการวิจัยพัฒนาในเรื่องนี้
รายการอ้างอิง :
‘เซรามิกลำปาง’สร้างงาน’ศิลปะ-ประหยัดพลังงาน’. ประชาชาติธุรกิจ. ฉบับวันที่ 14 – 16 มกราคม พ.ศ. 2556.– ( 161 Views)