magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก Green Products กู้โลก…กู้ธุรกิจ…ได้จริงหรือ?
formats

Green Products กู้โลก…กู้ธุรกิจ…ได้จริงหรือ?

คราวที่แล้ว ผมได้เล่าให้ฟังถึงความสำคัญของธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการอยู่รอดและเติบโตของธุรกิจ ในตอนนี้ จะยกตัวอย่างที่เฉพาะเจาะจงลงไปถึงการใช้การออกแบบกับธุรกิจ  ที่ผ่านมาภาคธุรกิจมักตกเป็นจำเลยในเรื่องการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม แต่ในขณะนี้ภาคธุรกิจต่างเร่งปรับตัวและได้ให้ ความสำคัญกับประเด็นนี้กันอย่างจริงจัง ปัจจุบันนักออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งในและต่างประเทศหันมาใส่ใจกับประเด็นสิ่งแวด ล้อมมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ด้านสิ่งแวดล้อม และสนองความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบกระบวนการผลิต การคัดเลือกวัตถุดิบ การใช้งานผลิตภัณฑ์ และวงจรของผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน อาทิ การเลือกใช้วัสดุรักษ์โลก ซึ่งกระบวนการได้มาซึ่งวัสดุประเภทนี้จะต้องสิ้นเปลืองพลังงานน้อยที่สุด และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากวัสดุเหล่านี้จะต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามหลัก 3Rs คือ Reduce, Reuse, Recycle          เพื่อตอบสนองต่อแนวโน้มดังกล่าว ขณะนี้มีหลายหน่วยงานทั่วโลกพยายามพัฒนาวัสดุรักษ์โลกขึ้นมาเป็นระยะ ในบ้านเราก็มีศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ที่มีห้องปฏิบัติการวิจัยเพื่อผลิตวัสดุอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกัน OKMD ก็มี MaterialConneXion@Bangkok หรือห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบแห่งแรกของเอเชียและเป็นเพียงหนึ่งใน 5 ของโลก (นิวยอร์ค มิลาน โคโลญ  แดกู และกรุงเทพ) ซึ่งอยู่ในความดูแลของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เพื่อสร้างโอกาสให้คนไทยได้สัมผัสและเลือกใช้วัสดุที่ นักออกแบบระดับโลกใช้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์

ในแต่ละเดือน จะมีผู้เชี่ยวชาญจากต่างสาขามาร่วมกันพิจารณาคัดเลือกวัสดุใหม่ๆ โดยพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ เช่น นวัตกรรมแปลกใหม่ ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายในการนำไปประยุกต์ใช้งาน ซึ่งวัสดุที่ได้รับการคัดเลือกจะถูกนำไปแสดงที่ห้องสมุดทั้ง 5 แห่งเพื่อให้ผู้ผลิตหรือนักออกแบบเข้าไปใช้บริการและนำไปใช้ในธุรกิจของตน เองต่อไป

เมื่อมาดูตัวผลิตภัณฑ์ที่นักออกแบบได้สร้างสรรค์ขึ้นมา หลายคนคงคุ้นเคยกับ Eco Product ระดับโลกหลายตัว เช่น Catherine Conway ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Unpackaged ร้านขายอาหารแห้ง เช่น ข้าว น้ำตาลกรวด ข้าวโอ๊ต เมล็ดธัญพืช ฯลฯ ที่สินค้าถูกวางอยู่ในกระบะ ลูกค้าจะต้องเตรียมภาชนะสำหรับใส่มาเอง โดยจะต้องชั่งน้ำหนักของภาชนะก่อน แล้วไปตักสินค้าที่อยู่ในกระบะแล้วมาชั่งอีกครั้งหนึ่ง ก่อนไปชำระเงิน Catherine สร้างความแตกต่างของธุรกิจด้วยการขายสินค้าโดยไม่มีบรรจุภัณฑ์ เพราะมีความคิดว่า บรรจุภัณฑ์ นอกจากทำให้สินค้าราคาแพงขึ้นแล้วยังเป็นการเพิ่มปริมาณขยะแก่โลกและเพิ่ม ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้ เธอยังมีความเห็นด้วยว่า คนเราจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคด้วยการช่วยลดการสร้างขยะ โดยบริโภคเท่าที่จำเป็น

ในบ้านเราก็ไม่น้อยหน้ายังมีบริษัท Out of the GREEN Box จำกัด ที่ผลิตภาชนะจากโต๊ะอาหารโดยใช้แกลบ เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ซึ่งผลิตภัณฑ์มีจุดเด่นที่ความคงทน สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ เพราะสารประกอบภายในแกลบมีความคงทน และผลิตภัณฑ์ของบริษัทก็ได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์เป็นของคนไทย ตัวอย่างของผู้ประกอบการไทยที่ผมยกมาข้างต้นเป็นเพียงเสี้ยวเดียวของการใช้ ความคิดสร้างสรรค์ การศึกษาวิจัยและนวัตกรรมมาสร้างความแตกต่างให้กับสินค้า สามารถตอบโจทย์ Trend ของโลก ในขณะเดียวกันยังสามารถตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคชาวต่างชาติที่เป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ของผลิตภัณฑ์ ทั้งสองชนิดข้างต้น

ประเด็นที่น่าสนใจคือผลิตภัณฑ์ Green ของผู้ประกอบการไทยจำนวนมากมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภคชาว ต่างชาติมากกว่าชาวไทย สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยต้องปรับ mindset ในการบริโภคอย่างพอเพียงพอดี บริโภคสินค้าที่ใช้ทรัพยากรที่ชาญฉลาด ไม่ยึดติดกับแบรนด์ หรือพฤติกรรมที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มีวงจรการใช้งานสั้นลง ซึ่งไม่เพียงจะเป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยแล้ว ยังเป็นจุดเล็กๆ ที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมของโลกอีกทางหนึ่ง

รายการอ้างอิง :

ณรงค์ชัย อัครเศรณี. Green Products กู้โลก…กู้ธุรกิจ…ได้จริงหรือ?. กรุงเทพธุรกิจ (Creative economy). ฉบับวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556.– ( 183 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


× six = 42

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>