magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home การแพทย์/สาธารณสุข นักวิจัยจุฬาฯพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อฟัน ช่วยผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่
formats

นักวิจัยจุฬาฯพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อฟัน ช่วยผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่

นักวิจัยจุฬาฯ พัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อฟันและชีววัสดุ ตั้งเป้ารักษา    ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ เบื้องต้นทดสอบระดับแผลเล็กได้ผลน่าพอใจ แต่ยังต้องพัฒนาต่อไป หากเป็นไปตามเป้าน่าจะนำไปใช้จริงได้อนาคต

ศ.ทพ.ดร.ประสิทธิ์ ภวสันต์ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยถึงวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อฟันเพื่องานวิศวกรรมเนื้อเยื่อ กระดูกและเนื้อเยื่อปริทันต์ว่า คณะวิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อฟันมา ประมาณ 10 ปีแล้ว และเมื่อ 5 ปีก่อนสามารถพัฒนางานวิจัยได้อย่างก้าวกระโดด โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาวิชาการภายใต้โครงการจุฬาฯ 100 ปี และทุนสนับสนุนวิจัยเรื่องนี้ต่ออีก ๕ ปี จากทุนนักวิจัยแกนนำประจำปี 2555 ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)          ศ.ทพ.ดร.ประสิทธิ์ เปิดเผยถึงแนวคิดของงานวิจัยดังกล่าวว่า เริ่มต้นมาจากความตั้งใจที่จะพัฒนาชีววัสดุเพื่อใช้ในการรักษาความพิการของ ขากรรไกรในผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ร่วมกับการใช้เซลล์ต้นกำเนิดที่จะเข้าไป ช่วยเสริมในส่วนของเซลล์ที่จะสร้างเนื้อกระดูกขึ้นมาทดแทน เนื่องจากเทคนิคการรักษาที่ใช้ในปัจจุบันคือการตัดกระดูกจากส่วนอื่นของร่าง กาย เช่น กระดูกสะโพก เพื่อเข้าไปเสริมในกระดูกช่องปาก ทำให้ผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวดทรมานจากการผ่าตัดและมีโอกาสติดเชื้อมาก โดยเฉพาะในเด็ก

“งานวิจัยนี้ต้องใช้องค์ความรู้ทั้งด้านวัสดุศาสตร์ ซึ่งต้องพัฒนาชีววัสดุซึ่งเป็นตัวโครงร่างกระดูกเทียมให้มีความปลอดภัย และเหมาะสม สามารถตอบรับการสร้างกระดูกใหม่ในร่างกายได้ดีและองค์ความรู้ด้านการเพิ่ม จำนวนเซลล์ต้นกำเนิดและการควบคุมให้เซลล์ต้นกำเนิดเหล่านั้นแปรสภาพไปเป็น เซลล์ตามที่ต้องการการพัฒนาโครงร่างกระดูกเทียมในปัจจุบันมีความก้าวหน้า ค่อนข้างน้อย ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ มีราคาค่อนข้างแพง และการใช้งานก็ค่อนข้างยาก เช่น กระดูกผง ชีววัสดุที่คณะวิจัยกำลังพัฒนาอยู่นี้มีลักษณะเป็นโครงร่างสามมิติ ซึ่งสามารถควบคุมรูปร่างได้และยังไม่มีที่ใดสามารถพัฒนาได้สำเร็จ” นักวิจัยระบุ

สำหรับงานวิจัยของทีมจากจุฬาฯ นี้ประสบความสำเร็จดีมากในระดับสัตว์เล็กคือหนู และอยู่ระหว่างทดสอบในสุนัข โดยคณะวิจัยได้พัฒนาตัวแม่แบบชีววัสดุไว้ 3-4 แบบ แต่ละแบบจะมีความสามารถในการรองรับพัฒนาการของกระดูกได้แตกต่างกัน จากการทดสอบเบื้องต้นในผู้ป่วยอาสาสมัคร 2-3 ราย พบว่ากรณีแผลเล็กจะได้ผลค่อนข้างดี แต่กรณีแผลใหญ่ผลยังไม่ดีนัก จึงต้องมีการวิจัยพัฒนาต่อไป

ส่วนด้านการวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อสร้างเนื้อกระดูก จะใช้เซลล์ต้นกำเนิดที่ได้จากเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน โดยเฉพาะในฟันน้ำนมที่หลุดตามธรรมชาติ ซึ่งมีเนื้อเยื่อที่มีเซลล์ต้นกำเนิดอยู่เป็นจำนวนมาก โดยมีแนวคิดที่จะรวบรวมฟันน้ำนมเพื่อนำเนื้อเยื่อมาเพาะเลี้ยงและเก็บเป็น คลังเซลล์ต้นกำเนิด หรือแม้แต่ฟันคุดในผู้ใหญ่ก็สามารถนำเซลล์ในเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันและรอบๆ รากฟันมาเพาะเลี้ยงได้

“เซลล์เหล่านี้มีศักยภาพและมีคุณสมบัติของความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่ดีมาก แต่เนื้อเยื่อดังกล่าวจะมีปริมาณน้อยมาก จึงจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณเซลล์ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งต้องศึกษาเพิ่มเติมในด้านการเพิ่มปริมาณเซลล์โดยยังคงความเป็นเซลล์ต้น กำเนิดอยู่ ขณะนี้สามารถพัฒนาได้ในระดับหนึ่งแล้ว แต่ผลยังไม่ค่อยน่าพอใจ จึงต้องพัฒนาวิธีการต่อไป หากงานวิจัยนี้ประสบความสำเร็จจะเป็นประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากการใช้ฟันบดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ผู้ป่วยได้ รับสารอาหารที่ถูกต้อง นำไปสู่การมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างด้านบุคลิกภาพ” นักวิจัยอธิบาย

นอกจากนี้อาจนำองค์ความรู้ไปพัฒนาใช้ในกระดูกส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ในอนาคต ทั้งในผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยจากอุบัติเหตุ ผู้ป่วยสูงอายุที่มีปัญหาในการใส่ฟันเทียม แต่การนำไปใช้จริงในผู้ป่วยนั้นต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก จึงต้องเร่งศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตอบสนองภูมิคุ้มกันของร่างกาย และผลข้างเคียง ที่อาจจะเกิดขึ้น และหากงานวิจัย

ประสบความสำเร็จในปีที่ 5 ตามที่คาดไว้ ทีมวิจัยคาดว่า น่าจะได้ผลการทดสอบในผู้ป่วยในระดับหนึ่ง ซึ่งพร้อมที่จะนำไปใช้งานได้จริงในอนาคต

รายการอ้างอิง :

นักวิจัยจุฬาฯพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อฟัน ช่วยผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่. ASTVผู้จัดการรายวัน. ฉบับวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556.– ( 110 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


− 3 = five

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>