ระบบการวิจัยของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 5 อันดับ คือ
- องค์กรหรือสถาบัน ที่กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่สามารถนำมาใช้เป็นกรอบและแนวทางของการกำหนดนโยบายการวิจัยของประเทศ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ดังกล่าว และนำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา
- องค์กรหรือสถาบัน ที่กำหนดนโยบายและแผนงานวิจัยของประเทศ ซึ่งสภาวิจัยแห่งชาติ โดยการประสานงานร่วมมือกับกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งภาคเอกชน ในขณะที่แต่ละกระทรวงมีแผนวิจัยและพัฒนาที่สอดคล้องกับพันธกิจของกระทรวงภายใต้กรอบนโยบายและแผนวิจัยของชาติ
- องค์กรหรือสถาบัน ที่ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณการวิจัย สำนักงบประมาณเป็นผู้พิจารณางบประมาณการวิจัยและพัฒนา ในภาพรวมของการจัดทำงบประมาณของประเทศ ในขณะที่การสนับสนุนแผนงานวิจัยหรือโครงการวิจัยนั้น มีสำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเป็นองค์กรหลักที่ให้การสนับสนุนแก่องค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการดำเนินการวิจัย
- องค์กรหรือสถาบันที่ดำเนินการวิจัย ซึ่งประกอบด้วยภาครัฐ ภาคอุดมศึกษา ภาคเอกชน และภาคเอกชนไม่ค้ากำไร
- องค์กรหรือสถาบัน ที่ช่วยส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือการส่งเสริม สนับสนุนการนำผลวิจัยไปสู่การพาณิชย์และอุตสาหกรรม ระบบการวิจัยที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น จะขึ้นอยู่กับการดำเนินงานขององค์กรหรือสถาบันในแต่ละส่วนของระบบและความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรเหล่านี้
บรรณานุกรม
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2544). งบประมาณด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย ปี 2539-2544.– ( 94 Views)