magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก ไทย-มาเลย์แชร์ข้อมูลไบโอเทคโนโลยี
formats

ไทย-มาเลย์แชร์ข้อมูลไบโอเทคโนโลยี

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วย ท่าน YB ดาโต๊ะฮายีเจ๊ะ อับดุลเลาะห์ เบนมะนาวี รัฐมนตรีว่าการเกษตรรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ร่วมหารือและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการพัฒนาการเกษตรของทั้งสองประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปีอีก 2 ปีข้างหน้า

นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.วท. กล่าวว่า ในอนาคตหากเปิดระบบเศรษฐกิจ AEC จะส่งผลให้เกิดการแข่งขันในตลาดมากขึ้น เกษตรกรจะมีทางเลือกเพิ่มขึ้น ในการเลือกซื้อปัจจัยการผลิตที่มีมาตรฐานคุณภาพและราคาที่ถูกกว่า
นั้นหมายถึงเกษตรกรไทยจะมุ่งผลิตสินค้าเกษตรที่เน้นคุณภาพมากกว่าเน้นปริมาณ ดังนั้นการที่จะแข่งขันในภาคการเกษตรของไทยได้นั้นจำเป็นต้องอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นสำคัญ ที่จะมีส่วนช่วยพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ทางภาคการเกษตร เพื่อที่จะสามารถแข่งขันในเวทีโลกได้ ดังนั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันระหว่างไทยและมาเลเซีย จะเป็นในด้านของงานวิจัยที่ไทยมีความเชี่ยวชาญและมีการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้าไปมีส่วนช่วยบูรณาการแก้ปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำให้แก่ภาคการเกษตรอย่างเป็นรูปธรรม

ที่ผ่านมาศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค/สวทช.) ได้ดำเนินงานนำงานวิจัยไปช่วยภาคการเกษตรมากมาย อาทิ งานวิจัยจีโนม การหาลำดับเบสของ ดีเอ็นเอที่มีลักษณะสำคัญ เพื่อปรับปรุงสายพันธุ์ในพืชและสัตว์เศรษฐกิจ เช่น กุ้ง ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น

นอกจากนี้ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาดังกล่าวจะนำไปสู่ธุรกิจทางด้าน ชุดตรวจวินิจฉัย ยา วัคซีน เทคโนโลยีจีโนมมีส่วนสำคัญในการประยุกต์ใช้กับการปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจ เช่น การค้นหาลำดับเบสจีโนมและทราบสคริปโคมเพื่อค้นหายีน ศึกษาการควบคุมการแสดงออกขอยีน พัฒนาเครื่องหมายโมเลกุล การทำจีโนไทป์เพื่อสร้างแผนที่พันธุกรรม ศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต เพื่อช่วยในการปรับปรุงพันธุ์พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และยูคาลิปตัส เป็นต้น

ส่วนงานวิจัยด้านยางพาราซึ่งถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศและเป็นผู้นำด้านการส่งออก ทาง ไบโอเทค/สวทช. ได้ร่วมพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลเพื่อปรับปรุงยางพาราทนแล้ง ภายใต้ทุนสนับสนุนงานวิจัยจากไบโอเทค และสถาบันยางอีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีในส่วนของการศึกษาวิจัยจุลินทรีย์ โดยมีการจัดตั้งเป็นคลังเก็บรักษาจุลินทรีย์เพื่อเป็นแหล่งเก็บรักษาและให้บริการจุลินทรีย์กับนักวิจัยทั้งภายในและภายนอก ปัจจุบันมีจุลินทรีย์ที่เก็บรวบรวมไว้กว่า 50,000 สายพันธุ์ โดยเป็นจุลินทรีย์ ที่มีความจำเพาะสูง เช่น ราแมลง ราน้ำ รวมทั้ง Rare Actinomycetes โดยราแมลงถือว่าเป็น Collection ที่มีความหลากหลายมากที่สุดของโลก ซึ่งนักวิจัยไทยได้นำความรู้ดังกล่าวมาพัฒนาสารออกฤทธิ์จากราแมลงหลายชนิด รวมทั้งยังมีการนำไปใช้ประโยชน์โดยภาคเอกชน ตัวอย่างเช่น อาหารสัตว์ สารชีวบำบัดภัณฑ์(ใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำมันที่เกิดจากการปนเปื้อน) สารควบคมศัตรูพืช เป็นต้น

รายการอ้างอิง :

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. ไทย-มาเลย์แชร์ข้อมูลไบโอเทคโนโลยี. กรุงเทพธุรกิจ (ไอที-นวัตกรรม : วิทยาศาสตร์). วันที่ 17 มกราคม 2556.

 

 – ( 132 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


one × = 5

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>