magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home การแพทย์/สาธารณสุข โบกมือลาอาการไอเรื้อรัง
formats

โบกมือลาอาการไอเรื้อรัง

ปีใหม่เป็นช่วงเวลาที่หลายๆ คนยึดเป็นวันเริ่มต้นเมื่อปรับเปลี่ยนชีวิตใหม่ด้วยการเปลี่ยนแปลงดูแลตัวเองในทางที่ดีขึ้น แต่สุดท้ายแล้วมักพบว่ามีส่วนน้อยทำได้ตลอดรอดฝั่ง หากพิจารณาดีๆ จะพบว่ามีปัญหาบางอย่างที่ดูเหมือนจะเล็กน้อย เช่นอาการไอที่เป็นๆหายๆ หรือเรื้อรัง เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อพิชิตจุดหมายที่วางไว้
บริษัท ดีคอลเจน จำกัด จึงได้จับมือกับ ผศ. นพ. มานพชัย ธรรมคันโธ คณะแพทยศาสาตร์ ศิริราชพยาบาลจัดเสวนาให้ความรู้ภายใต้หัวข้อ“กำจัดอาการไอ เริ่มชีวิตใหม่ที่สดใสซาบซ่าตั้งแต่ต้นปี”

ผศ. นพ. มานพชัย กล่าวว่า ทุกวันนี้คนไทยเรามีปัญหาสุขภาพเรื่องอาการไอกันมากเพราะอากาศที่แปรปรวน และมลภาวะทางอากาศที่เลวร้ายลงทุกทีๆ รวมถึงการใช้ชีวิตที่สมบุกสมบันของด้านหน้าที่การงาน

อาการไอนี้นอกจากจะบั่นทอนสุขภาพอนามัยที่ดีแล้ว หากปล่อยให้เป็นๆ หายๆหรือเรื้อรังอยู่ ก็จะเสียบุคลิกภาพ ความมั่นใจ อีกทั้งเสียงไอและการมีเสมะหะเป็นสิ่งรบกวนและเป็นที่รังเกียจของคนรอบข้าง

สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคท้าทายอย่างมากต่อหนุ่มสาววัยทำงานที่มุ่งมั่นที่จะทยานสู่ความเจริญก้าวหน้าตั้งแต่ต้นปีดังนั้นเราควรจะเริ่มต้นกันที่การเรียนรู้เข้าใจสาเหตุและกลไกการไอ และทำการรักษาดูแลตนเองอย่างถูกวิธีกันโดยด่วน เพื่อต้อนรับการเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ซาบซ่าสดใสกว่า

อาการไออาจเกิดได้จากหลายสาเหตุและมีลักษณะที่หลากหลาย จึงมีความจำเป็นต้องฉลาดเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับอาการ
มิฉะนั้นก็จะไม่หายเสียที หรือกลายเป็นอาการเรื้อรัง ลักษณะของการไอบางครั้งก็ช่วยบอกสาเหตุได้เช่นแบบไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ มักเกิดจากสารระคายเคืองมลภาวะต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ฝุ่นละออง แบบที่สองคือไอและแน่นหน้าอก หายใจเร็ว หอบเหนื่อย มักพบในผู้ป่วยในโรคหอบหืดมักต้องใช้ยาขยายหลอดลมโดยช่วยให้กล้ามเนื้อหลอดลมคลายตัว

แบบที่พบบ่อยมากคือ ไอมีเสมหะ ลักษณะเสมหะจะช่วยในการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้เช่นถ้าเสมหะสีเหลืองเขียวข้น มักเกิดจากการติดเชื้อ ถ้าเป็นสีขาวใสมักเป็นอาการไอจากภูมิแพ้หรือหอบหืด

ผศ.นพ.มานพชัย กล่าวเสริมความรู้เรื่องการใช้ยาแก้ไอว่า สำหรับคนที่ไอและมีเสมหะร่วมด้วยควรได้รับยากลุ่มละลายเสมหะ
เช่น กลุ่มคาโบซิสเตอีน 500 มิลลิกรัมหรือ กลุ่มบรอมเฮกซีน 8 มิลลิกรัม เพื่อลดความเหนียวข้นของเสมหะ ทำให้เสมหะถูกละลายและขับออกมา และจะบรรเทารักษาอาการไอดีขึ้น

ผู้ป่วยซึ่งมีอาการไอแบบมีเสมหะ ไม่ควรเลือกรับระทานยากลุ่มที่ระงับหรือกดอาการไอ อย่างที่คนมีอาการไอแบบแห้งๆใช้ เพราะยาเหล่านี้แม้จะทำให้ไอรู้สึกว่าน้อยลง แต่ไม่ได้ช่วยให้เสมหะลดลงในทางตรงข้ามจะยิ่งสะสมมากขึ้นในหลอดลม อาจทำให้เกิดหลอดลมอุดตันและเกิดการติดเชื้อจนกลายเป็นโรคปอดอักเสบรุนแรงได้

ตามปกติแล้วหากรับประทานยาที่ถูกกับโรคและอาการรวมทั้งหลีกเลี่ยงปัจจัยแวดล้อมที่กระตุ้นการไอ และดูแลสุขภาพ นอนหลับพักผ่อน ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ เสมหะจะลดลงภายใน 3-5 วัน อาการไอจะหายไปภายใน 5-7 วัน ทำให้คุณพร้อมที่จะเริ่มต้นชีวิตใหม่อย่างสดใสส่องประกายเป็นดาวเด่น และประสบความสำเร็จอย่างมั่นใจไร้ปัญหาสุขภาพได้ไม่ยาก”

รายการอ้างอิง :

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. โบกมือลาอาการไอเรื้อรัง. กรุงเทพธุรกิจ (Life Style : สุขภาพ). วันที่ 19 มกราคม 2556.– ( 125 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


9 × two =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>