magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก เทคโนโลยีรู้ทันภัยพิบัติ
formats

เทคโนโลยีรู้ทันภัยพิบัติ

จีพีเอสตรวจจับการ เคลื่อนตัวแผ่นเปลือกโลก เป็นผลงานหนึ่งของศ.ดร.เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ ที่จะช่วยให้อนาคตกรุงเทพฯจะมีทางออกเรื่องปัญหาน้ำท่วม

ความสนใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลกตั้งแต่สมัยเรียนดอกเตอร์ ทำให้ เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ มีข้อมูลพร้อมใช้อ้างอิงการวางแผนจัดการน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จนติดอันดับ 1 ใน 10 ผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ 2555 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
:วิทยาศาสตร์ตอบปรากฏการณ์
ศ.ดร.เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สนใจและศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลกมาร่วม 15 ปี ตั้งแต่ปี 2541 ช่วงที่ศึกษาปริญญาเอก และทำต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน ด้วยทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป และพาร์ทเนอร์ที่เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ อาทิ ฝรั่งเศส เยอรมนี และเนเธอแลนด์

เฟสแรกของการวิจัยเริ่มขึ้นในปี 2547 กับโครงการที่โฟกัสในเรื่องการศึกษาการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพัฒนาระบบดาวเทียมจีพีเอสให้ทำหน้าที่สำรวจรังวัดตรวจจับการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก เพื่อดูพฤติกรรมว่ามีลักษณะการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

การศึกษาในเฟสแรกประจวบเหมาะกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในทะเลเหนือเกาะสุมาตราขนาด 8.9 ริกเตอร์ ซึ่งเกิดแรงสั่นสะเทือนจนเกิดคลื่นยักษ์สึนามิถล่ม 6 จังหวัดชายฝั่งอันดามันของไทยพอดี จึงทำให้มีโจทย์และข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการวิจัยของจริง ซึ่งได้ร่วมกับประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และทีมวิจัยที่เชี่ยวชาญจากฝรั่งเศส เยอรมนี และเนเธอแลนด์ เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจกับกลไกที่เกิดขึ้น ว่าการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกมีความสัมพันกับเหตุการณ์อย่างไร

เฟสต่อมา ทีมวิจัยเริ่มศึกษารายละเอียดที่ลงลึกขึ้นในด้านการดูพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลกหลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ว่ามีผลต่อเนื่องอย่างไร และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว โดยนำข้อมูลพื้นที่โดยรอบมาใช้ประกอบในการวิจัยร่วมด้วย

อาทิ ข้อมูลจากประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ และของไทยเอง โดยเก็บข้อมูลให้มากเท่าที่จะหาได้ จากนั้นนำมาประมวลผลใหม่ด้วยเทคนิคจำเพาะของทีมวิจัย เพื่อดูว่านอกจากการเคลื่อนที่ของแผ่นดินในทางราบ

“การเก็บข้อมูลจากหลายที่มาประกอบการวิเคราะห์ ทำให้พบปัญหาเรื่องการขยับตัวของแผ่นเปลือกโลกหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวปี 2547 โดยเฉพาะในประเทศไทยซึ่งแผ่นดินในจ.ภูเก็ตมีการเคลื่อนตัวแล้วประมาณ 75 ซม.แต่ก็เป็นการเก็บและรายงานผลเฉพาะการเคลื่อนตัวในแนวราบเท่านั้น แต่ยังไม่มีการวิเคราะห์ถึงความเปลี่ยนแปลงของแผ่นเปลือกโลกในแนวดิ่งมาก่อน”นักวิจัย กล่าว

การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ใหม่ พบว่าแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ในแนวดิ่งด้วย ไม่ใช่แนวราบอย่างเดียว ทำให้เกิดโจทย์วิจัยต่อเนื่องในเฟสสาม ด้านการหาผลลัพท์ว่าแผ่นเปลือกโลกที่เป็นชั้นหิน และชั้นผิวดินจะมีการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งในรูปแบบไหน เร็วแค่ไหน แล้วจะยาวแค่ไหน ต่อเนื่องไปกี่ปี โดยใช้ข้อมูลดาวเทียมวัดระดับน้ำทะเล และดาวเทียมตรวจวัดการทรุดตัวของผิวดิน มาวิเคราะห์ร่วมกับจีพีเอสตรวจวัดการเคลื่อนไหวของเปลือกโลก

:กันไว้ดีกว่าแก้
ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์เบื้องต้น โดยวิเคราะห์ออกมาเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยตรง พบว่าการใช้ดาวเทียมตรวจวัดการทรุดของผิวดิน จะเกิดการทรุดตัวอยู่ทุกปี 1.5-2.5 มิลลิเมตรต่อปี ขณะที่ผลจากดาวเทียมตรวจวัดระดับน้ำทะเลก็พบค่าระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 4-5 มิลลิเมตรทุกปี ตลอดช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา

“แนวโน้มในอนาคตพื้นที่กรุงเทพมหานครมีความเสี่ยงที่จะอยู่ในแนวเดียวกับระดับน้ำทะเลหรืออาจต่ำกว่าแน่นอน”นักวิจัย กล่าวและว่า อีกทั้งยังมีปัญหาที่จะตามมาอีกมากมาย อาทิ เรื่องการระบายน้ำได้ยาก เกิดเหตุน้ำท่วมบ่อยขึ้น ทั้งผลจากน้ำฝนระบายลงท่อระบายน้ำไม่ได้ และน้ำท่วมจากน้ำทะเลหนุน

เขา กล่าวอีกว่า อยากให้โครงการวิจัยครั้งนี้ เป็นข้อมูลสถิติหนึ่งที่พร้อมจะนำไปใช้ได้ตลอดเวลา เพื่อประโยชน์ในการวางแผนบริหารจัดการพื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในระยะยาว และเป็นข้อมูลสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์ที่รัฐบาลจะนำมาใช้ในการจัดการกับปัญหาเรื่องน้ำในอนาคต ซึ่งที่ผ่านมาเวลามีข้อมูลอะไรใหม่ๆทีมวิจัยจะมีการจัดกิจกรรมเผยแพร่ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสำนักงานกรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีการวางแผนรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีก 10-20 ปีข้างหน้าได้ทัน

“การวิจัยเรื่องดังกล่าว กว่าจะสำเร็จมีอุปสรรคเยอะมากทั้งด้านทุนวิจัยเพราะเครื่องมือบางชิ้นมีราคาหลักล้านบาท และในด้านข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์เพราะต้องขอความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน อาทิ กรมแผนที่ทหาร กรมอุทกศาสตร์ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ รวมถึงการนำข้อมูลต่างประเทศเข้ามาใช้ แต่เชื่อว่าถ้าโครงการแล้วเสร็จ จะมีประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างมหาศาล”เจ้าของรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ 2555

รายการอ้างอิง :

กานต์ดา บุญเถื่อน. เทคโนโลยีรู้ทันภัยพิบัติ. กรุงเทพธุรกิจ (ไอที-นวัตกรรม : นวัตกรรม). วันที่ 21 มกราคม 2556.

 

 – ( 194 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


2 × five =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>