magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก เผย 5 นวัตกรรมล้ำยุคเปลี่ยนวิถีชีวิตคน 5 ปีข้างหน้า
formats

เผย 5 นวัตกรรมล้ำยุคเปลี่ยนวิถีชีวิตคน 5 ปีข้างหน้า

ไอบีเอ็มเผย 5 นวัตกรรมที่จะเปลี่ยนอนาคตการทำงาน การใช้ชีวิต และการติดต่อสื่อสารของคนเราในอีก 5 ปีข้างหน้า  คอมพิวเตอร์จะเลียนแบบประสาทสัมผัสของมนุษย์ทั้งรูป รส กลิ่น เสียงและสัมผัส

นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรม การผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ทุกปีนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัยและพัฒนาของไอบีเอ็มทั่วโลกจะร่วมกันศึกษา ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ ๆ และคาดการณ์แนวโน้มทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะมีอิทธิพลต่อสังคมและ ธุรกิจโลก โดยจัดทำเป็นรายงาน “ไอบีเอ็ม ไฟว์ อิน ไฟว์” นำออกเผยแพร่ทั่วโลกติดต่อกันเป็นปีที่ 7 แล้วสำหรับปีนี้ นักวิทยาศาสตร์ของไอบีเอ็มเน้นการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีก้าวล้ำที่จะช่วยให้ คอมพิวเตอร์สามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวและเลียนแบบประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์ ซึ่งเป็นย่างก้าวสำคัญสู่ยุคสมัยใหม่ของคอมพิวติ้งที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิตเรา ในอนาคตอันใกล้นี้

จากรายงานไอบีเอ็ม ไฟว์ อิน ไฟว์ ระบุว่า นวัตกรรม 5 ประการที่จะกำหนดอนาคตของเราใน 5 ปีข้างหน้า คือ การสัมผัส  มนุษย์จะสามารถสัมผัสผ่านโทรศัพท์ เพราะความสามารถในการ “สัมผัส” ผลิตภัณฑ์ผ่านอุปกรณ์พกพา ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ของไอบีเอ็มกำลังใช้เทคโนโลยีการรับรู้โดยใช้แรง ป้อนกลับอินฟราเรด และความไวต่อแรงกด เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับธุรกิจค้าปลีก การแพทย์ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ วัตถุทุกประเภทจะมีชุดรูปแบบของการสั่นไหวเฉพาะที่มอบประสบการณ์การสัมผัสสม จริงเวลาที่ผู้บริโภคลากนิ้วผ่านภาพสินค้าบนหน้าจออุปกรณ์พกพา เช่น การสั่นไหวสั้น ๆ อย่างรวดเร็ว หรือการสั่นไหวที่แรงขึ้นและต่อเนื่องเป็นเวลานาน  รูปแบบการสั่นไหวนี้จะกระตุ้นประสาทสัมผัสทางกายภาพของผู้บริโภคและช่วย จำแนกความแตกต่างระหว่างผ้าไหมกับผ้าฝ้ายหรือผ้าลินิน ทำให้ผู้บริโภครู้สึกราวกับได้สัมผัสกับวัสดุนั้นจริง ๆ

การมองเห็น ใน 5 ปีข้างหน้า นอกจากระบบต่าง ๆ จะสามารถตรวจสอบและรับรู้เนื้อหาของรูปภาพตลอดจนข้อมูลภาพได้แล้ว ยังจะสามารถแปลงพิกเซลให้กลายเป็นความหมาย และเริ่มตีความได้เหมือนที่คนเราทำเวลามองดูรูปภาพ ความสามารถที่ “เหมือนสมอง” นี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์คุณลักษณะต่าง ๆ เช่น สี รูป แบบพื้นผิว หรือข้อมูลบริบท และกลั่นกรองข้อมูลเชิงลึกจากสื่อที่เป็นรูปภาพ ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ วงการแพทย์ ธุรกิจค้าปลีก และเกษตรกรรม

ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการ “มองเห็น” และได้รับการ “ฝึกฝน” นี้ จะช่วยแพทย์วิเคราะห์และกลั่นกรองรายละเอียดที่ลึกซึ้งหรือไม่สามารถมองเห็น ได้ด้วยตาเปล่าในภาพถ่ายทางการแพทย์

การได้ยิน ระบบเซ็นเซอร์อัจฉริยะจะตรวจจับองค์ประกอบของเสียงต่าง ๆ เช่น ความดันของเสียง ความสั่นสะเทือน ความอัดแน่นในเนื้อวัตถุ และคลื่นเสียงที่มีความถี่หลายระดับ ในแนวทางที่คล้ายกันกับสมองของมนุษย์  และนำ “แบบแผนข้อเท็จจริง” อื่น ๆ ดังเช่นข้อมูลภาพหรือสัมผัส เข้ามาพิจารณาประกอบกันเพื่อจำแนกและแปลความหมายของเสียง

เทคโนโลยีในการตรวจจับองค์ประกอบเสียงนี้ จะทำให้เราสามารถคาดการณ์เหตุอันตรายจากดินถล่มหรือต้น
ไม้ล้มในป่าเพื่อเตือนภัยได้ทันที ความสามารถในการวิเคราะห์น้ำเสียงและระดับเสียงสูง-ต่ำของคอมพิวเตอร์ จะช่วยให้เราเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึก ช่วยให้การติดต่อสื่อสารกับคนต่างชาติต่างภาษา และต่างวัฒนธรรมเป็นไปอย่างราบรื่นขึ้น

การลิ้มรส ในอนาคตคอมพิว เตอร์จะสามารถใช้อัลกอริธึมเพื่อระบุโครงสร้างทางเคมีที่แม่นยำของอาหาร ปฏิกิริยาที่สารเคมีต่าง ๆ มีต่อกัน ความซับซ้อนทางโมเลกุลของสารประกอบที่ก่อให้เกิดรสชาติ โครงสร้างที่เชื่อมโยงโมเลกุลเหล่านั้นเข้าด้วยกัน และสาเหตุที่ทำให้ผู้คนชื่นชอบรสใดรสหนึ่งเป็นพิเศษ

การดมกลิ่น  เซ็นเซอร์ขนาดจิ๋วในคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือจะสามารถ “ดม” และจำแนกกลิ่นที่ปกติหรือผิดปกติ และวิเคราะห์ร่วมกับตัวบ่งชี้ทางชีวภาพและโมเลกุลนับพันในลมหายใจของเรา เพื่อบอกได้ว่าเรากำลังป่วยเป็นไข้หวัดหรือโรคอื่น ๆ หรือไม่

เซ็นเซอร์นี้ยังจะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจสอบและวินิจฉัยอาการของโรคต่าง ๆ เบื้องต้นได้ อาทิ ความผิดปกติของตับและไต โรคหอบหืด โรคเบาหวาน และโรคลมบ้าหมู รวมทั้งทำให้เกษตรกรสามารถวิเคราะห์สภาพดินที่ใช้ในการเพาะปลูก ความสามารถของเทคโนโลยีในการตรวจวัดข้อมูลในพื้นที่ที่เราไม่เคยคาดคิดมา ก่อน

นักวิทยาศาสตร์ของไอบีเอ็มได้เริ่มนำนวัตกรรมนี้ไปใช้ในการรับรู้สภาวะแวด ล้อมและก๊าซเพื่ออนุรักษ์ผลงานศิลปะ และประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาสุขอนามัยในสถานพยาบาล ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาที่ท้าทายที่สุดของแวดวงการแพทย์  ในอีก 5 ปีข้างหน้า เทคโนโลยีของไอบีเอ็มจะสามารถเข้ามาช่วย “ดม” พื้นผิวที่ผ่านการทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และระบุว่าห้องนั้น ๆ สะอาดพอแล้วหรือยัง โดยที่บุคลากรและผู้ป่วยไม่ต้องเสี่ยงต่อการติดเชื้อ.

รายการอ้างอิง :

เผย 5 นวัตกรรมล้ำยุคเปลี่ยนวิถีชีวิตคน 5 ปีข้างหน้า. เดลินิวส์ (ไอที). วันพุธที่ 23 มกราคม 2556.– ( 190 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


× 2 = eighteen

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>