วช.ประกาศรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี ๕๖ จำนวน ๓๔ ผลงาน และรางวัลผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย ๔ ผลงาน
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประกาศรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2556 จำนวน 34 ผลงาน และรางวัลผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย ประจำปี 2555 จำนวน 4 ผลงาน
นางกาญจนา ปานข่อยงาม รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวเปิดการแถลงข่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนการนำองค์ความรู้จากสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมต่างๆ ไปสู่การใช้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคมและชุมชนทั้งนี้ เพื่อให้นักประดิษฐ์ไทยได้แสดงศักยภาพด้านการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศ วช. จึงได้จัดให้มีรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นเพื่อเป็นกำลังใจและเป็นการประกาศเกียรติคุณแก่นักประดิษฐ์ที่มีความสามารถให้ได้แสดงผลงานต่อสาธารณชน โดยรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นได้จัดให้มีตั้งแต่ปี 2518 จนถึง ปี 2555 มีผลงานได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติรวมทั้งสิ้น 659 ผลงาน
ในปี 2556 มีผลงานประดิษฐ์ที่เสนอขอรับรางวัล ฯ จำนวน 215 ผลงาน คณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติได้มีมติให้รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2556 จำนวน 34 ผลงาน แบ่งเป็นรางวัลระดับดีเด่น รางวัลระดับดี และรางวัลประกาศเกียรติคุณ ดังนี้
รางวัลระดับดีเด่น 2 ผลงาน จะได้รับเงินรางวัล รางวัลละ 250,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติคุณ ได้แก่
- ผลงาน เรื่อง “ระบบอิเล็กโตรสปินนิงประสิทธิภาพสูงสำหรับประดิษฐ์วัสดุเส้นใยนาโนและโครงสร้างนาโนระดับห้องปฏิบัติการวิจัย” ของ ศาสตราจารย์ ดร.สันติ แม้นศิริ และคณะ
- ผลงาน เรื่อง “ความสำเร็จในการผลิตละมั่งสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ตัวแรกของโลกจากการ ปฏิสนธิภายนอกร่างกาย” ของ สัตวแพทย์หญิง ดร.อัมพิกา ทองภักดี และคณะ
รางวัลระดับดี จำนวน 13 ผลงาน จะได้รับเงินรางวัล รางวัลละ 150,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติคุณ ไดแก่
- ผลงาน เรื่อง “เครื่องดิจิตอลอิมเมจเบสคัลเลอริมิเตอร์” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา มาสวัสดิ์ และคณะ
- ผลงาน เรื่อง “เครื่องต้นแบบเพื่อเคลือบอนุภาคนาโนสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าเคมี” ของ ดร.กลยุทธ ปัญญาวุธโธ และ นายกรวัฒน์ วุฒิกิจ
- ผลงาน เรื่อง “ลูกหมุนระบายอากาศผลิตกระแสไฟฟ้าและมอเตอร์” ของ ดร.เอกกมล บุญยะผลานันท์ และคณะ
- ผลงาน เรื่อง “เครื่องผลิตผงโลหะโดยการฉีดพ่นด้วยน้ำแรงดันสูง” ของ รองศาสตราจารย์ สุชาติ เย็นวิเศษ และ นายทวิชาติ เย็นวิเศษ
- ผลงาน เรื่อง “เครื่องกำจัดการสะสมตะกอนน้ำมันดิบ ปตท.” ของ ดร.วิชาพันธ์ วีระภาคย์การุณ และคณะ
- ผลงาน เรื่อง “หุ่นยนต์กู้ภัยและเก็บกู้ทำลายวัตถุระเบิด” ของ นายกิตติศักดิ์ แต้มทอง และ นายชัชวาล วัฒนกีบุตร
- ผลงาน เรื่อง “เอนไซม์ฟอกเยื่อกระดาษจากแบคทีเรียในลำไส้ปลวก (เอนบลีช)” ของ ดร.ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ และคณะ
- ผลงาน เรื่อง “KU-AF2: คอลัมน์สำหรับขจัดสิ่งรบกวนสำหรับการวิเคราะห์อะฟลาทอกซิน” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภา มหากาญจนกุล และคณะ
- ผลงาน เรื่อง “ชุดตรวจวินิจฉัยโรคผลเน่าแบคทีเรียในพืชตระกูลแตงที่เกิดจากเชื้อ Acidovorax avenae subsp. Citrulli” ของ ดร.อรประไพ คชนันทน์ และคณะ
- ผลงาน เรื่อง “นวัตกรรมการผลิตยางสกิมเพื่อสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจร” ของ ดร.สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ และคณะ
- ผลงาน เรื่อง “การผลิตนมจากเนื้อไก่ และนมข้าวอะมิโนเพื่อใช้รักษาทารกที่แพ้โปรตีนในนมวัว” ของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์พิภพ จิรภิญโญ
- ผลงาน เรื่อง “รถเข็นคนพิการไฟฟ้าควบคุมด้วยศีรษะ” ของ ดร.เดชฤทธิ์ มณีธรรม และคณะ
- ผลงาน เรื่อง “เกษตร+อาศรม: บ้านแห่งอนาคต (ทำเกษตรแผนใหม่พร้อมอยู่บ้านไทยอย่างพอเพียง)” ของ ดร.เขียนศักดิ์ แสงเกลี้ยง
รางวัลประกาศเกียรติคุณ จำนวน ๑๙ ผลงาน จะได้รับเงินรางวัล รางวัลละ 100,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติคุณ ได้แก่
- ผลงาน เรื่อง “เครื่องบำบัดอากาศภายในอาคารสำหรับห้องปลอดความเป็นพิษโดยใช้เทคนิคเชิงไฟฟ้าสถิต” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พานิช อินต๊ะ และคณะ
- ผลงาน เรื่อง “เครื่องกำจัดกลิ่นเหม็นด้วยสนามไฟฟ้าโคโรนา” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิศีโรตม์ เกตุแก้ว และ ดร.มัลลิกา เกตุแก้ว
- ผลงาน เรื่อง “เครื่องวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศชนิดแสดงผลทันที” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุชาติ เกียรติวัฒนเจริญ และคณะ
- ผลงาน เรื่อง “สถานีโทรทัศน์ Thai Deaf TV (สถานีโทรทัศน์และรายการโทรทัศน์ภาษามือเพื่อคนหูหนวกไทย)” ของ นายศิวนารถ หงษ์ประยูร และ หม่อมหลวงณิชอิสรีย์ จักรพันธุ์
- ผลงาน เรื่อง “เครื่องลงคะแนนเลือกตั้งรุ่นที่ 4” ของ นายยุทธนา ทาตายุ และคณะ
- ผลงาน เรื่อง “เครื่องปลูกมันสำปะหลังชุมชน” ของ นายโมเสส ขุริลัง
- ผลงาน เรื่อง “เซลล์เชื้อเพลิงจุลชีพ: ระบบบำบัดน้ำเสียพิษสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา” ของ ดร.ชลทิศา สุขเกษม (ติดภารกิจไม่สามารถเข้าร่วมงานได้)
- ผลงาน เรื่อง “ชุดตรวจแบบแถบสีสำหรับตรวจเชื้ออหิวาตกโรค Vibrio cholera 3 ชุด VCO1 VCO139 และ VCG” ของ ศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล สิทธิกรกุล และคณะ
- ผลงาน เรื่อง “วิธีการตรวจหาโปรตีน NS1 ของไวรัสเด็งกี่ที่แยกซีโรทัยป์ได้ทันที” ของ ดร.ชัญญา พุทธิขันธ์ และคณะ
- ผลงาน เรื่อง “อุปกรณ์ผลิตไอโซโทปรังสีระบบสตรอนเชียม – 90 อิตเตรียม – 90 เจเนอเรเตอร์โมดุล” ของ นายจตุพล แสงสุริยัน และคณะ
- ผลงาน เรื่อง “ชุดตรวจสอบฟอร์มัลดีไฮด์ในอาหารโดยใช้การเปลี่ยนสีและการเรืองแสง” ของ รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี และคณะ
- ผลงาน เรื่อง “ตัวเก็บประจุไฟฟ้าเคมียิ่งยวดของวัสดุมหัศจรรย์ “กราฟีน”” ของ ดร.มนตรี สว่างพฤกษ์ และคณะ
- ผลงาน เรื่อง “วัสดุคอมโพสิทของท่อนาโนคาร์บอนและครัยโอเจล: ตัวดูดซับราคาประหยัดชนิดใหม่สำหรับการวิเคราะห์สารพิษ” ของ รองศาสตราจารย์ ดร.เพริศพิชญ์ คณาธารณา และคณะ (ติดภารกิจไม่สามารถเข้าร่วมงานได้)
- ผลงาน เรื่อง “ระบบข้อมูลภาษี หัก ณ ที่จ่าย เพื่อการบริหารจัดการ” ของ นายสมพงษ์ สงวนวนชาติ และคณะ
- ผลงาน เรื่อง “จักรยานหรรษาและแผ่นกระดานเล่นกีฬาแนวใหม่” ของ นายวัลลภ มากมี และคณะ
- ผลงาน เรื่อง “สื่อการเรียนการสอน: หนังสือกิจกรรมการทดลองนาโนเทคโนโลยี” ของ ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา และคณะ
- ผลงาน เรื่อง “ชุดการสื่อสารแบบข้อมูลหลายชุดผ่านเส้นใยแก้วนำแสงอย่างง่าย” ของ ดร.สุชัย นพรัตน์แจ่มจำรัส และคณะ
- ผลงาน เรื่อง “หนังสือ ๒ ภาษาเพื่อส่งเสริมการอ่านสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินโดยใช้เรื่องราวประกอบภาพภาษามือ” ของ รองศาสตราจารย์ ดร.สุรชัย สุขสกุลชัย และ นางสาวกัญญาณัฐ เปลวเฟื่อง
- ผลงาน เรื่อง “เครื่องมือวัดมุมคมมีดตัดเฉือนโลหะ” ของ นายเชาวลิต ถนอมสวย และ นายสราวุธ ทัพวงษ์
สำหรับรางวัลผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย ประจำปี 2555 วช. ได้ประกาศเชิญชวนให้ผู้สนใจเสนอผลงานเพื่อขอรับรางวัลผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย ประจำปี 2555 โดยคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย (คพท.) ได้มีมติให้รางวัลผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย ประจำปี ๒๕๕๕ จำนวน ๔ ผลงาน ดังนี้
ประเภทรายงานการวิจัย รางวัลระดับชมเชย จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่
- ผลงาน เรื่อง “อิทธิพลของการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำกับสมาชิกผ่านตัวแปรทัศนคติในการทำงานที่มีต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของประเทศไทย” ของนางสาวพิมพ์ประภา อมรกิจภิญโญ
- ผลงาน เรื่อง “การพัฒนาโมเดลสมการเชิงโครงสร้างการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพของเยาวชนไทย” ของ นายนธกฤต วันต๊ะเมล์
ประเภทวิทยานิพนธ์
รางวัลระดับดี จำนวน 1 ผลงาน ได้แก่
- ผลงาน เรื่อง “ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมป้องกันโรคเอดส์ในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย” ของ นายศรัณย์ พิมพ์ทอง
รางวัลระดับชมเชย จำนวน ๑ ผลงานได้แก่
- ผลงาน เรื่อง “ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านสถานการณ์ทางสังคม และการมีภูมิคุ้มกันทางจิตที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยของนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์ และปลอดภัย” ของนางสาววันวิสา สรีระศาสตร์
พิธีมอบรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2556 และรางวัลผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย ประจำปี 2555 กำหนดจะมีขึ้นในวันเปิดงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2556 วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09.30 น. ณ ห้อง Grand Diamond Ballroom ศูนย์ประชุมอิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี โดย นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานสภาวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงานและมอบรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ
รายการอ้างอิง :
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. วช.ยกย่อง 34 สิ่งประดิษฐ์แห่งปี. กรุงเทพธุรกิจ (ไอที-นวัตกรรม : นวัตกรรม). วันที่ 27 มกราคม 2556.– ( 479 Views)