magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home การแพทย์/สาธารณสุข ประธานสภาวิจัยเตือนอันตรายพายุสุริยะ
formats

ประธานสภาวิจัยเตือนอันตรายพายุสุริยะ

รศ.ดร.สุธี อักษรกิตติ์ ประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย  กรรมผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวถึงการเกิดพายุสุริยะ มีข้อควรระวังอันตรายที่จะเกิดกับมนุษย์  โดยทุกครั้งที่เกิดระเบิด จะมีปรากฎการณ์ 2 อย่าง คือ 1 การแผ่รังสีเข้มข้น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมถึงรังสียูวี รังสี คอสมิก  ที่จะมาถึงโลกใน 8 นาที ซึ่งเป็นความเร็วเท่าแสง โดยรังสียูวีที่ปล่อยออกมาจะเข้มข้นสูงกว่าปกติ หลายร้อยเท่า 2.ดวงอาทิตย์จะพ่นอนุภาคความเร็วสูง หรือประจุไฟฟ้าขั้วบวก ขั้วลบ  ที่เดินทางถึงโลกช้ากว่ารังสีต่างๆ ใช้เวลาอย่างน้อย 16 นาที อนุภาคดังกล่าวมีอันตรายกับร่างกายมนุษย์ เห็นได้จากมนุษย์อวกาศที่ออกไปนอกโลกต้องสวมชุดป้องกัน แต่อนุภาคเหล่านี้ไม่สามารถผ่านมาถึงพื้นโลกได้ เพราะถูกสนามแม่เหล็กโลกป้องกันไว้ และจะเบี่ยงเบนไปตามโค้งของโลก พร้อมกับหมุนเป็นเกลียวจากขั้วโลกเหนือไปทางขั้วโลกใต้  เบาบางลงเมื่อผ่านเส้นศูนย์สูตร  อย่างไรก็ตาม แม้อนุภาคความเร็วสูงทำอันตรายกับโลกไม่ได้ แต่ขณะที่วิ่งผ่านชั้น ไอโอโนสเฟียร์ หรือชั้นบรรยากาศที่มีประจุไฟฟ้า เปรียบได้กับเพดานไฟฟ้า จะทำให้ชั่นบรรยากาศนี้ที่สูงเหนือประเทศไทย 350 กม. เกิดแรงกระเพื่อม ส่งผลให้ระบบการสื่อสารล่ม เกิดสัญญานรบกวน ในช่วงเวลานั้น  เช่นเดียวกับดาวเทียมที่อยู่สูงกว่าโลกถึง 36,000 กม.ได้รับผลโดยตรง

ประธานสภาวิจัยแห่งชาติสาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย กล่าวว่า รังสียูวี ทีสามารถทะลุผ่านชั้นสนามแม่เหล็กโลกมาได้นั้น เมื่อถูกร่างกายมนุษย์ ก็จะสะสมทำให้มีโอกาสเกิดโรคมะเร๋งที่ผิวหนัง โดยเฉพาะชาวนา ชาวไร่ หรือนักกอล์ฟที่สวมเสื้อแขนสั้น จึงแนะนำให้ผู้ที่จำเป็นต้องอยู่กลางแจ้ง สวมเสื้อแขนยาว สีน้ำเงินเข้มที่กรองยูวีได้อย่างมีคุณภาพเหนือกว่าโลชั่น  นอกจากนี้รังสียูวี ยังมีผลต่อดวงตา อาจทำให้เกิดโรคต้อกระจกได้ ถ้าป้องกันไม่ดี  โดย รศ.ดร.สุธีกล่าวว่า ไม่ได้พูดให้เกิดความหวาดกลัว แต่ต้องรับทราบและระวังป้องกันไว้ ทั้งนี้ยังเสนอแนะว่า ประเทศไทยควรติดตั้งเครืองตรวจวัดรังสียูวี ซึ่งมีหลายประเทศทำไว้แล้ว.

รายการอ้างอิง :

ประธานสภาวิจัยเตือนอันตรายพายุสุริยะ. เดลินิวส์ (ไอที). วันจันทร์ที่ 28 มกราคม 2556.

– ( 80 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


2 + = seven

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>