ต้นตองตึง เป็นไม้ป่ายืนต้นใบลักษณะคล้ายต้นสักหรือต้นชาดในภาคอีสาน แต่ใบตองตึงไม่มีขน ใบที่ยังไม่แก่ชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอน นิยมเก็บมาห่อของเช่น ห่อข้าวห่อ ห่อของจิปาถะคล้าย ๆ ใบตอง หรือใบบัวในภาคกลาง ใบตองตึงเมื่อแก่และหล่นจากต้นนำมาทำเป็นตับมุงหลังคากระท่อมคล้ายจากหรือ แฝก มีความทนทานได้ 4-5 ปี คุณสมบัติกระท่อมที่มุงด้วยใบตองตึง อยู่สบายไม่ร้อน ที่บ้านรักไทยชาวไทยเชื้อสายจีนยูนาน ทำบ้านด้วยดินเหนียวมุงหลังคาด้วยใบตองตึงอยู่สบายกลมกลืนกับธรรมชาติเมื่อ ผุพังก็ย่อยสลายไม่มีปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม
ใบตองตึงที่ร่วงหล่นตามธรรมชาติ จะเก็บกันในช่วงหน้าหนาวตอนเช้า ๆ เพราะยังไม่กรอบ จากนั้นนำมาตัดก้านใบแช่น้ำแล้วเรียงทับเก็บไว้ นำไม้ไผ่จักเป็นตอกหนาประมาณ 3-4 มม. ยาวประมาณ 2-3 ม. ใช้เป็นก้าน จัดตอกเป็นแผ่น หนาประมาณ 1.5-2 มม. ยาว 35 ซม. เพื่อใช้ในการเย็บเข้ากับก้านที่เตรียมไว้เรียกว่า “ตับพลวง” จากนั้นนำมามุงหลังคาและกั้นเป็นฝาบ้านเพื่ออยู่อาศัย.
รายการอ้างอิง :
บ้านใบตองตึง. เดลินิวส์ (เกษตร-เรื่องน่ารู้). วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม 2556..
– ( 193 Views)