ชุมชนวิจัยไทย คงจะรู้จักรายการรายชื่อสำนักพิมพ์ และ รายชื่อวารสารของ Beall เป็นอย่างดี (Beall’s List) ซึ่งใน
ขณะนี้ประชาคมวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั่วโลกกำลังตื่นตัวในเรื่องข้างต้นเป็นอย่างมาก จากข้อมูลชุด Beall’s List of scholarly open-access publisherss ที่เป็นรายการรายชื่อสำนักพิมพ์ รายชื่อวารสาร ที่เข้าข่ายน่าสงสัย มีพิรุธ เป็นลักษณะจอมปลอม หลอกลวง บรรณารักษ์ชื่อ Jeffrey Beall (Metadata Librarian) แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด เดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา ได้เริ่มศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ predatory publishers ในปี 2008 ซึ่งจากเดิมที่สนใจ ติดตาม เรียนรู้เกี่ยวกับการตีพิมพ์งานวิจัยแบบเปิด (scholarly open-access publishing) มาก่อนหน้านี้ จากนั้นได้เริ่มเขียนบล็อก เพื่อแบ่งปันชุมชนวิจัยให้รับทราบและระมัดระวัง บล็อกของเขาได้รับความสนใจอย่างยิ่งมีเสียงเชียร์ดังก้องจากประชาคมวิจัยทั่วโลก โดยมีการเผยแพร่รายการชื่อ สำนักพิมพ์ที่น่าสงสัยมีพิรุธ (ประมาณ 200 ชื่อสำนักพิมพ์และ 38 ชื่อวารสาร) ที่ http://scholarlyoa.com/publishers/ โดยชุดล่าสุดเป็นของปี 2013 (เผยแพร่เมื่อ 14 มกราคม 2013)
อ่านรายละเอียดได้ที่ http://stks.or.th/th/bibliometrics/10-science-and-technology-stories/3294-predatory-publishers.html– ( 156 Views)