magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก ยุทธศาสตร์การวิจัยด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
formats

ยุทธศาสตร์การวิจัยด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

ด้วยเครือข่ายด้านคนพิการร่วมกับสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ร่วมกันก่อตั้ง “มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประเทศไทย (สวทพ.) หรือ Thailand Research Institute for Empowerment of Persons with Disabilities Foundation (TRIP)” โดยมีเป้าหมายเพื่อต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการในทุกมิติ รวมถึงการพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมและบุคลากรทางการวิจัยที่มีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Inclusive Society) และ

เตรียมความพร้อมในการที่ประเทศจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ใน พ.ศ.2558 ในทุกมิติ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาสถาบันวิจัยให้มีความก้าวหน้ามีคุณภาพในด้านการบริหารจัดการ การเป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง มีความมั่นคงและยั่งยืน (High Performance and Sustainability Organization) เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่ตั้งไว้จึงจะต้องมีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนใน การนำส่งไปสู่การปฏิบัติ และการติดตามประเมินผล ของแผนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์แวดล้อม (Environmental Scanning) ประเด็นความท้าทาย และเงื่อนไขต่าง ๆ ที่คาดว่าจะส่งผลต่อ ทิศทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ รวมทั้งแนวโน้ม หรือทิศทางการพัฒนาองค์ความรู้ด้านคนพิการ ในอนาคต จากประเด็นข้างต้นหลายฝ่ายได้ดำเนินการ ยกร่างแผนยุทธศาสตร์ของ สวทพ. โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วม (Participation) ขององค์กรด้านคนพิการ คนพิการและผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) ผู้ทรงคุณวุฒิ และบุคลากรที่มีองค์ ความรู้ด้านคนพิการผ่านกลไกการระดมสมองใน รูปแบบต่างๆ เพื่อให้มีแผนยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ตลอดจนสอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ฉบับที่ ๔ (พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๕๙) แผนพัฒนาการ จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙) และนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัย ของชาติ บนพื้นฐานของเสรีภาพทางวิชาการ ความหลากหลายและเอกภาพเชิงระบบ การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคมและสร้างภูมิคุ้มกันจากวิกฤตการณ์

คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา โดยการดำเนินงานของคณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ จึงเห็นควรที่จะมีการเปิดเวทีเสวนาโต๊ะกลมเพื่อเป็นหนึ่งในช่องทางที่จะเปิดกว้างให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันระดมสมองและร่วมกันพิจารณากำหนดยุทธศาสตร์ในการทำงานของมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประเทศไทย (สวทพ.) คณะกรรมาธิการจึงเห็นควรให้มีการจัดเสวนาในเรื่อง “ยุทธศาสตร์การวิจัยด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ” โดยมีข้อคิดเห็นสรุปได้ ดังนี้

1. การบริหารจัดการมูลนิธิ แนวทางการดำเนินงานจะต้องทำให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเป็นอีก Node หนึ่งของสภาวิจัยแห่งชาติ สถาบันวิชาการ และสถาบัน หน่วยงานด้านการวิจัย อาทิ TDRI สกว. สวรส.สวทช. รวมทั้งหน่วยงานของรัฐที่กำหนดแนวนโยบาย เพื่อ การบูรณาการเป้าหมายร่วม กำหนดบทบาทการสนับสนุนเกี่ยวกับการพัฒนานักวิจัย พัฒนาประเด็น เนื้อหา และงบประมาณ โดยการจัดทำแผนร่วมกัน

1.1 เป็นองค์กรยุทธศาสตร์ที่จะขับเคลื่อน งานวิจัย และประสานให้เกิดงานวิจัยให้คนพิการได้ประโยชน์ในกระแสหลัก ที่มีเป้าหมายการลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ มากกว่าการพัฒนาคนพิการ (โจทย์การเพิ่มสถิติจำนวนคนพิการเป็นทิศทาง ประเด็นที่มูลนิธิต้องพิจารณาด้วย)

1.2 การพัฒนาให้เกิดงานวิจัยเชิงกว้างและครอบคลุมทุกมิติของประเทศไทย เป็นการมองระดับมหภาค ในประเด็นเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ที่มีความหมาย เชื่อมโยงวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย

1.3 การขับเคลื่อนงานวิจัย และการสร้างกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาความคิดของคนในสังคม รวมทั้งคนพิการด้วย

2. การกำหนดเป้าหมายการวิจัย 2.1 เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ให้เกิดผลกระทบเชิง Impact  ด้วยการจัดทำแผนบูรณาการ เชิงระบบ และแผนการพัฒนาความร่วมมือกับ ภาคเทศโนโลยี ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ เข้ามามีส่วนร่วม ในการนำผลวิจัย นำไปใช้ประโยชน์

2.2 เพื่อการสร้างและพัฒนานักวิจัยด้านคนพิการ

2.3 เพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ ที่นำไปใช้ในการสนับสนุน การดำเนินนโยบาย และการขับเคลื่อนของภาคประชาสังคม การพัฒนาระบบการเรียน การสอนของนักเรียน นักศึกษาพิการ (สกอ.) โอกาสการจ้างงาน อาชีพ รายได้ การมีงานทำของคนพิการ (กระทรวงแรงงาน) นโยบายการ จัดระบบขนส่งสาธารณะ ที่คนพิการเข้าถึงใช้ประโยชน์ได้ (กระทรวงคมนาคม) การกำหนดนโยบาย การพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสม (สปสช.)

3. บทบาทมูลนิธิ

3.1 ส่งเสริมทั้งงานวิจัยด้านคนพิการ และส่งเสริมให้คนพิการมีส่วนร่วมในการทำวิจัย

3.2 การประสาน ยุทธศาสตร์การ ขับเคลื่อนงานวิจัย

3.3 รวบรวมงานวิจัยของคนพิการ จัดทำพัฒนาระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้านคนพิการ ความพิการทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการเผยแพร่ด้านงานวิจัย การสืบค้น

3.4 กำหนดทิศทาง ขอบข่ายงานวิจัย โดยพิจารณาความสอดคล้องการแก้ปัญหา ความต้องการคนพิการ

3.5 พัฒนากระบวนการติดตามที่มีคุณภาพ การเผยแพร่ และสร้างกระบวนการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

3.6 การส่งเสริมงานวิจัยให้คนพิการเข้าสู่กระแสหลัก ทำงานสนับสนุน รวบรวมข้อมูลกลุ่มต่างๆ ไปไว้ในแผนชาติด้วย

4. เครื่องมือ กระบวนการพัฒนานักวิจัย / การพัฒนาประเด็นวิจัย

4.1. ควรใช้กระบวนการ Disability Studies เพื่อเปิดมุมมองนักวิจัย และการขับเคลื่อนให้เกิดงานวิจัยด้านคนพิการ เพราะเป็นการศึกษาเชิงลึกโดยอาศัยวิถีชีวิต วัฒนธรรมกลุ่ม และกระบวนการต่อสู้ทางประวัติศาสตร์ของคนพิการ รวมทั้งนำการเสนอมุมมองทั้งทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มาเป็นกงจักรสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดงานวิชาการด้านคนพิการ

4.2. สร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนานักวิจัย การพัฒนาประเด็นการวิจัย ให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นการกระตุ้น การคิด การพัฒนา ผู้ที่มีส่วนได้ ส่วนเสีย โดยตรง เป็นการพัฒนาคนใน การใช้มุมมองทางวิชาการมาสนับสนุนการขับเคลื่อน การนำเสนอประเด็นนโยบาย

4.3 การกำกับคุณภาพงานวิจัย การกำหนดกรอบมาตรฐานงานวิจัยสากล รวมทั้งกระบวนการ peer review ที่มีคุณภาพ

4.4 การสร้างเครือข่ายนักวิจัย / สร้างเครือข่ายทางวิชาการ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนใน เรื่องแนวคิดและระเบียบวิธีวิจัยต่อไปเพื่อนำไปสู่การ ขับเคลื่อน เวทีที่มีกิจกรรมในเชิง Movement รวมทั้ง การนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินงาน การเผยแพร่ โดยการแลกเปลี่ยนกลุ่มเล็ก จัดเวทีย่อยเฉพาะ ประเด็นในหมู่นักวิจัย หรือระหว่างนักวิจัยกับนักข่าว เพื่อนำไปสู่การเผยแพร่ หรือ การสร้างพื้นที่

4.5 ประเด็นการสร้างนักจัดการงานวิจัย ที่จะมองงานวิจัยเป็นชุดและมองความเชื่อมโยง

4.6 Monitor Social Impact ของชุดงานวิจัย ได้สร้าง Social Impact

4.7 กลุ่มเป้าหมาย คนที่ทำการวิจัยในประเด็นคนพิการ มี 4 กลุ่ม

o คนพิการ โดยต้องมีระบบในการส่งเสริม เพื่อให้คนพิการเป็นนักวิจัยหรือผู้ช่วยวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
o กลุ่มที่มีส่วนได้เสีย อาจเป็นผู้ดูแล คนพิการหรือคนที่ทำงานเรื่องคนพิการอยู่แล้ว
o นักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญบางเรื่องแต่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นคนพิการมาก่อน เช่น นักออกแบบ นักเทคนิค ผู้ชำนาญการด้านอุปกรณ์สำหรับคนพิการ
o นักวิจัยที่เป็นแนวร่วมในการทำงานเรื่องคนพิการแต่ยังไม่ได้เข้ามาขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ หรือมีความสามารถด้านการพัฒนานักวิจัย และสร้างกระบวนการวิจัย โดยต้องมีการสร้างเครือข่าย เพื่อให้นักวิจัยจากกลุ่มต่างๆ ได้มาทำงานร่วมกัน

4.8 การสร้างงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้, มีประเด็นที่จำเป็น เช่น สิทธิและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนพิการ การต่อยอดประเด็นการพัฒนาระบบสุขภาพที่จำเป็นสำหรับคนพิการ สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ สังคมและวัฒนธรรม เน้นเรื่องการสร้างทัศนคติเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ การศึกษาและการประกอบอาชีพของ คนพิการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างองค์ความรู้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนายุทธศาสตร์

1. แผนยุทธศาสตร์มีเนื้อหากว้างและ มีรายละเอียดมาก อาจเป็นภาระของคนทำงาน ที่มีคนทำงานจำนวนน้อยอยู่แล้ว มีความจำเป็นที่ต้องมีกระบวนการเพื่อจัดลำดับความสำคัญ
2. จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดทำ ยุทธศาสตร์ ก่อนการนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ บริหารมูลนิธิ

นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภาเครือข่ายคนพิการ นำโดยสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทยและมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ร่วมกับสำนักงาน ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ยังได้ร่วมแถลงข่าวการก่อตั้ง”มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนพิการ ประเทศไทย” โดยนายมณเฑียร บุญตัน รองคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมฯ ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านคนพิการ และรองประธาน กรรมการมูลนิธิสถาบันวิจัยฯ ได้เป็นประธานแถลงข่าว ร่วมกับศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ว่า “การเสวนา เรื่อง ยุทธศาสตร์การวิจัยด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มีผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันพิจารณากำหนดแผนยุทธศาสตร์มูลนิธิสถาบัน วิจัย ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๕๖๐) และแนวทาง นำผลวิจัยไปสู่การปฏิบัติ ตลอดจนร่วมกันกำหนด กรอบแนวทางการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ในการ ขับเคลื่อนแผนฯ ทั้งนี้ ผู้ร่วมเสวนาได้กำหนดให้แผนฯ มี ร่าง ๗ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ๑) การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนา” สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ๒) การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของคนพิการและครอบครัว ๓) การเสริมสร้างและพัฒนาทุนเพื่อ การเข้าถึงและใช้ประโยชน์ ได้จากทุน ๔) การเสริมสร้าง ศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาให้คนพิการเป็นนักวิจัย และส่งเสริมให้นักวิจัยทั่วไปดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับคนพิการและความพิการ เพื่อปฏิวัติความรู้ และนำไปสู่การใช้ประโยชน์ด้วยยุทธวิธีที่เหมาะสมและเข้าถึงคนพิการ ๕) การเสริมสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาบุคลากรและนวัตกรรมด้านคนพิการ ๖) การปฏิรูประบบการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและครอบครัว และ ๗) การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการและครอบครัว” นอกจากนี้ขอให้สื่อมวลชนช่วยเผยแพร่ยุทธศาสตร์ดังกล่าวเพื่อเชิญชวนคนมาร่วมวิจัยรวมทั้งขอให้เผยแพร่ผลการศึกษาวิจัย ที่จะมีในอนาคตอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมคนทั่วไป ในสังคม รวมทั้งคนพิการและครอบครัวให้มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อคนพิการ ตลอดจนร่วมสนับสนุนการขยายผลการวิจัยไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาศักยภาพคนพิการให้สามารถพึ่งพาตนเอง ประกอบอาชีพ มีรายได้ ดำรงชีวิตอิสระ และมีส่วนร่วม “สร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน”

ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่คณะกรรมาธิการ การพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา โทร.02-8319225-6 โทรสาร 02-8319226

รายการอ้างอิง :

ยุทธศาสตร์การวิจัยด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. แนวหน้า (สถานีพัฒนาสังคม). ฉบับวันที่ 02 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556.– ( 341 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


7 − = four

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>