magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก นวัตกรรมผลิตยางสกิมครบวงจร ยืดอายุน้ำยางสด-ลดมลพิษสวล.
formats

นวัตกรรมผลิตยางสกิมครบวงจร ยืดอายุน้ำยางสด-ลดมลพิษสวล.

ปัญหาของน้ำยางสกิมหรือหางน้ำยางธรรมชาติ ซึ่งเป็นน้ำส่วนที่เหลือจากการทำน้ำยางข้น ไม่เพียงมีผลกระทบต่อสุขภาพเกษตรกรชาวสวนยางเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบต่อต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยเฉพาะน้ำทิ้งที่มีสารปนเปื้อนของซัลเฟตสูง จนเกิดก๊าซไข่เน่าส่งกลิ่นเหม็น

แต่หลังจากที่ ดร.สุรพิชญ์ ลอยกุลนันท์ และทีมนักวิจัยประกอบด้วย นันทินา มูลประสิทธิ์ และโชติรส ดอกชัน จากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ประดิษฐ์คิดค้น “นวัตกรรมการผลิตยางสกิมเพื่อสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจร” ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกในแก้ปัญหาดังกล่าว          นันทินา มูลประสิทธิ์ หนึ่งในทีมนักวิจัยย้อนที่มาให้ฟังว่า ผลที่ได้รับจากกระบวนการผลิตน้ำยางข้น โดยใช้เทคนิคการปั่นเหวี่ยง นอกจากได้น้ำยางข้นแล้วยังได้น้ำยางสกิมในปริมาณมาก มีเนื้อยางร้อยละ 3-8 โดยน้ำหนัก ซึ่งโดยทั่วไปโรงงานอุตสาหกรรมมักนิยมใช้กรดซัลฟิวริกเข้มข้นในการแยกเนื้อ ยางออกจากน้ำยางสกิม ซึ่งส่งผลเสียต่างๆ เช่น ยางสกิมมีคุณภาพต่ำ การกัดกร่อนโลหะสูง อีกทั้งน้ำทิ้งมีความเป็นกรด มีการปนเปื้อนของซัลเฟตสูง และเกิดก๊าซไข่เน่า หรือก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่มีกลิ่นเหม็น เป็นต้น

นันทินาเผยต่อว่า สำหรับสารรวบรวมเนื้อยางจากน้ำยางสกิม(GRASS 1) เป็นสารที่ทำให้การเก็บรวบรวมเนื้อยางมีประสิทธิภาพ   โดยน้ำยางสกิมสามารถแยกชั้นได้อย่างสมบูรณ์ภายใน 5 ชั่วโมง ทั้งมีความเข้มข้นของเนื้อยางในชั้นครีมมากกว่าร้อยละ 30 โดยน้ำหนัก เมื่อเก็บรวบรวมเนื้อยางสกิมได้มากกว่าร้อยละ 90 โดยน้ำหนัก ทำให้ประสิทธิภาพของสาร GRASS 1 ใช้ได้ทั้งน้ำยางสกิมใหม่และน้ำยางสกิมที่ได้จากน้ำยางสดเก่าเก็บที่มาจาก ทุกขั้นตอนการผลิตก็จะได้ยางสกิมที่มีคุณภาพ

นอกจากนี้ยังสามารถนำสาร GRASS 1 กลับมาใช้ใหม่ได้มากกว่าร้อยละ 95 โดยน้ำหนัก โดยประสิทธิภาพไม่ด้อยลงอีกทั้งยังสามารถเก็บรวบรวมเนื้อยางออกจากน้ำยาง สกิมได้ในอัตราคงที่ประมาณร้อยละ 100 โดยน้ำหนัก

“น้ำทิ้งจากการใช้สาร GRASS 1 ไม่เป็นกรด ไม่มีซัลเฟตปนเปื้อน จึงเหมาะกับการผลิตก๊าซชีวภาพได้ก๊าซมากกว่าน้ำทิ้งที่ไม่ใช้สาร GRASS 1 เกือบ 3 เท่า ในขณะที่ก๊าซชีวภาพมีปริมาณมีเทน ร้อยละ 56 ก็จะสามารถแก้ปัญหาในกระบวนการผลิตยางสกิมได้อย่างครบวงจรและเป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมอีกด้วย”

นักวิจัยคนเดิมระบุอีกว่า จากผลการทดสอบการรวบรวมเนื้อยางจากน้ำยางสกิม โดยใช้สาร GRASS 1 ร่วมกับโรงงานน้ำยางข้น 6 แห่ง พบว่าต้นทุนการผลิตยางสกิมแห้ง เท่ากับ 4.75 บาทต่อกิโลกรัมยางแห้ง ใช้ได้ดีทั้งน้ำยางสกิมใหม่และน้ำยางสกิมที่ได้จากน้ำยางสดเก่าเก็บ ไม่ต้องใช้กรดซัลฟิวริก น้ำทิ้งไม่มีซัลเฟตและไม่เป็นกรด นำไปผลิตก๊าซชีวภาพ เพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าหรือเป็นเชื้อเพลิงผลิตความร้อนได้

ด้าน ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวเสริมว่า สำหรับผลงาน “นวัตกรรมการผลิตยางสกิมเพื่อสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจร” ของ ดร.สุรพิชญ์ ลอยกุลนันท์และคณะนั้น ถือเป็นผลงานเด่นด้านเกษตรศาสตร์และอุตสาหกรรมการเกษตรที่ได้รับรางวัลระดับ ดีจากสภาวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปี 2556 ซึ่งจะส่งผลดีแก่ประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติรายใหญ่ของโลก

“ผู้ประดิษฐ์ใช้พอลิเมอร์ที่เตรียมได้จากธรรมชาติและอนุพันธ์ของไคโตซานมา เป็นตัวจับน้ำยางแทนการใช้กรดกำมะถัน ซึ่งพอลิเมอร์ที่นำมาใช้นี้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและ สามารถนำน้ำทิ้งที่เหลือจากระบบ ซึ่งมีปริมาณของซัลเฟตต่ำไปผลิตเป็นก๊าซชีวภาพใช้เป็นพลังงานทดแทนได้อีก ด้วย” เลขาธิการวช.กล่าวในที่สุด

สนใจสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวสามารถเยี่ยมชมได้ในงานวันนักประดิษฐ์ประจำปี 2556 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ณ อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 2-5 กุมภาพันธ์นี้

รายการอ้างอิง :

สุรัตน์ อัตตะ. วัตกรรมผลิตยางสกิมครบวงจร ยืดอายุน้ำยางสด-ลดมลพิษสวล. คม ชัด ลึก. ฉบับวันที่ 05 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556.– ( 101 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


6 × = thirty six

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>