magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home S&T Stories ไจก้าร่างแผนป้องกันน้ำท่วมลุ่มเจ้าพระยา
formats

ไจก้าร่างแผนป้องกันน้ำท่วมลุ่มเจ้าพระยา

สำนักข่าวไทย  อสมท. นำเสนอข่าวด้านเกษตร

เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2556 – มีการแถลงข่าวจาก กรมชลประทาน เรื่อง องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น  (JICA) เสนอข้อศึกษาแผนป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา โดยไทยจะต้องเพิ่มเส้นทางบายพาสน้ำที่ จ.พระนครศรีอยุธยา และวงแหวนรอบนอก ซึ่งจะช่วยผันน้ำออกสู่ทะเลได้อย่างรวดเร็ว

องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) เสนอโครงการศึกษาทบทวนแผนแม่บทการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยมีนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ   อธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธาน นายยูซุเกะ อะมะโนะ นักวิชาการจากไจก้า กล่าวว่า ไจก้าได้สำรวจพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมในปีที่ผ่านมา โดยใช้การสำรวจทางอากาศ เทคโนโลยี จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะได้อัตราส่วนและการคำนวณที่ถูกต้องแม่นยำ โดยจะนำมาวิเคราะห์ให้ได้แผนสำหรับเสนอเป็นแนวป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
สำหรับพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา ต้องใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะเขื่อนที่มีอยู่ทั้งหมด ซึ่งจะต้องมีการควบคุมที่เป็นระบบ และประเมินการใช้งานให้ได้ประโยชน์สูงสุด  ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ด้วยภาพถ่าย หากมีการสร้างบายพาส หรือทางผันน้ำที่ถูกต้องเหมาะสม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำออกจากพื้นที่ประสบภัยได้ดีขึ้น โดยการวิเคราะห์เห็นว่า การผันน้ำออกทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ไม่ได้ช่วยให้พื้นที่ภาคกลางและลุ่มเจ้าพระยาลดผลกระทบมากนัก แต่หากมีการเพิ่มเส้นทางบายพาสน้ำใน จ.พระนครศรีอยุธยา  ระยะทาง 20 กิโลเมตร แทนที่การขยายแม่น้ำ และเส้นทางบายพาสน้ำวงแหวนรอบนอก จะช่วยลดอัตราน้ำเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยาไม่เกินขีดความสามารถ ทำให้ผลกระทบต่อพื้นที่ภาคกลาง ตอนบนเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็วขึ้น ซึ่งจะป้องกันปริมาณน้ำมหาศาลลงสู่พื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจในภาคกลางตอนล่างและกรุงเทพมหานครได้อีกด้วย

นอกจากนี้ การรักษาพื้นที่รับน้ำและแก้มลิง ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่พื้นที่ดังกล่าวจะต้องไม่ลดจำนวนลง โดยต้องรักษาพื้นที่และควบคุมอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น

อ้างอิง สำนักข่าวไทย อสมท. ข่าวเกษตร

http://www.mcot.net/site/content?id=51020f42150ba0613f0000f0#.URCYCmdhsa8– ( 105 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


9 × = twenty seven

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>