magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก Check ! อาการ “นอยด์” ของคุณอยู่กลุ่มไหน?
formats

Check ! อาการ “นอยด์” ของคุณอยู่กลุ่มไหน?

เดี๋ยวนี้มีศัพท์ใหม่ที่วัยรุ่นชอบพูดกันติดปากว่า “นอยด์” ซึ่งหมายถึงอาการเบื่อหน่าย หงุดหงิด กังวล ฯลฯ แต่ในทางจิตวิทยาแล้ว ความหมายที่แท้จริงของคำว่า “นอยด์” เกี่ยวโยงไปถึงเรื่องความผิดปกติทางจิตเลยละค่ะ

“นอยด์” ย่อมาจาก “พารานอยด์” (Paranoid) ซึ่งเป็นอาการหวาดระแวงอย่างหนึ่งที่พบได้ทั้งในกลุ่มผู้มีความผิดปกติทางจิตและในคนทั่ว ๆ ไป ดร.แดเนียล ฟรีแมน นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยออฟซฟอร์ด และผู้เขียนหนังสือ Paranoia : The 21st Century Fear กล่าวว่า อาการพารานอยด์นั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่

Non-Clinical คือ ความหวาดระแวงที่พบได้ในชีวิตประจำวัน หรือความระมัดระวังตัว ซึ่งไม่มีอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต เช่น มีความวิตกกังวลสูง ไม่ไว้ใจใคร เชื่อว่าไม่มีใครเป็นมิตรกับเรา หวาดกลัวภัยอันตรายที่อยู่ใกล้ตัว รู้สึกว่าตัวเองถูกจับผิดมากกว่าเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ

Clinical คือ ความหวาดระแวงที่แสดงถึงโรคทางจิตเวช ซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น คิดไปเองว่าจะมีคนมาทำร้าย หูแว่ว มักแยกตัวจากผู้อื่น ไม่สามารถแยกแยะความจริงกับจินตนาการได้ การใช้เหตุผลและความจำเสื่อมถอย หวาดระแวงในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง (ตัวอย่าง : มุดไปนอนใต้โต๊ะเพราะกลัวแผ่นดินไหว ทั้งที่ไม่มีการเตือนภัยว่าแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้น)

อาการพารานอยด์ในกลุ่มแรกเป็นการปรับตัวต่อสถานการณ์ที่เรารับรู้ว่าอาจเป็นอันตรายต่อตัวเอง แต่หาก “นอยด์” มากไปจนชีวิตไร้พลัง เห็นทีต้องรีบปรึกษาจิตแพทย์โดยด่วน ก่อนที่อาการจะเข้าข่ายในกลุ่ม 2 ค่ะ

รายการอ้างอิง :

Check ! อาการ “นอยด์” ของคุณอยู่กลุ่มไหน?. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. วันที่ 10 ตุลาคม 2555.– ( 2485 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


one × = 3

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>