magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก เด็กและเยาวชนกับทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัล – 1001
formats

เด็กและเยาวชนกับทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัล – 1001

ข้อมูลข่าวสาร ความรู้มีอยู่ในรูปดิจิทัลมากมายมหาศาล ล่องลอยอยู่ทั่วไปในอินเทอร์เน็ต จนเหมือนเป็นกลุ่มก้อนเมฆความรู้ (Cloud Knowledge) ทำให้รูปแบบการศึกษาในวันนี้ต้องกลับมาทบทวนคิดใหม่

การเข้าถึงความรู้แตกต่างจากเดิมมาก เมื่อก่อนถ้าอยากจะค้นหาอะไร ต้องแสวงหา อาจถามผู้รู้ หรือหาจากห้องสมุด ปัจจุบันหากอยากรู้อะไร ก็สอยจากก้อนเมฆความรู้ ค้นทุกสิ่งทุกอย่างได้ทันใจ เหมือนความรู้อยู่ที่ปลายนิ้ว จนเกือบเรียกได้ว่า มีตาทิพย์ (Visibility) ที่มองเห็น จนทำให้สมองไม่ต้องจดจำอีกต่อไปแต่การศึกษาไทยในยุคนี้ยังเน้นให้ความสำคัญที่เนื้อหา มีการสร้างหลักสูตร กำหนดเนื้อหาที่ต้องเรียน ทั้ง ๆ ที่เนื้อหามีมากมายจนไม่สามารถนำมาใส่ในหลักสูตรได้ และมากมายเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมด การศึกษาของเราก็ยังวนเวียนกับการนำเนื้อหาในหลักสูตรมาสอบ มาแข่งขัน จนเด็กนักเรียนต้องกวดวิชาเพื่อสอบแข่งขัน

กำลังคนในศตวรรษที่ 21 ต้องการผู้ที่มีทักษะในการคิด สร้างสรรค์ แสวงหาเรียนรู้ได้เอง และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมสมัยใหม่อย่างมีความสุข การเรียนการสอนในยุคใหม่ต้องเปลี่ยนแปลง ที่ผ่านมาเราให้ความสำคัญของการสอน หาวิธีการสอนที่ดี ๆ ให้ครู แต่สิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก เปลี่ยนจุดศูนย์กลางจากครูมาอยู่ที่นักเรียน เปลี่ยนการสอนมาสู่การเรียน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ แสวงหาได้เองมากขึ้นและเร็วขึ้น องค์ความรู้มีมากมาย จนไม่สามารถสอนได้หมด คนรุ่นใหม่เขียนด้วยแป้นพิมพ์ อ่านที่หน้าจอ หรือเรียกว่าการเขียนอ่านดิจิทัล

จนมีผู้กล่าวว่า ปัจจุบันมีครูที่สำคัญสามคนที่ช่วยนักเรียนในการเรียนรูปแบบใหม่ครูคนแรกที่ ช่วยคนรุ่นใหม่ คือครูกูเกิล อยากรู้อะไรให้ถามครูกูเกิล ครูกูเกิลสามารถตอบได้เสมอ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้หาด้วยกูเกิลได้ แม้แต่การหาตัวบุคคล เพียงป้อนชื่อถามครูกูเกิล ครูกูเกิลตอบได้อย่างรวดเร็วว่าเป็นใคร จนขุมความรู้ในโลกนี้ถ้าอยู่บนอินเทอร์เน็ต ครูกูเกิลค้นหามาให้ได้ ครูคนที่สองคือครูวิกิพีเดีย เป็นแหล่งความรู้ที่คนทั้งโลกช่วยกันสร้าง ความรู้นี้ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีทุกภาษา จนในปัจจุบันมีกว่ายี่สิบล้านเรื่อง

ครูคนที่สามเป็นครูที่ทันสมัย ให้ข้อมูลในรูปคลิปวิดีโอ ครูคนนี้ชื่อ ยูทูบ เพียงป้อนคำค้นหา ก็จะมีเรื่องราวให้เรียนรู้ด้วยการดูมากมาย มีเนื้อหาหลากหลายในทุกสาขาที่ต้องการ เห็นไหมครับ คนรุ่นใหม่เปลี่ยนวิธีเรียนรู้ และมีครูสามคนเป็นผู้ช่วย รูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นเนื้อหาจึงแตกต่างไปจากเดิม การทำการบ้าน หรือรายงานส่งครูที่โรงเรียน นักเรียนยุคนี้จึงชำนาญในเรื่องการก๊อบปี้

เราจะพัฒนาเด็กไทยให้ก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร

ที่แน่ ๆ ว่า ความคิดของการศึกษาต้องเปลี่ยนไปจากเดิม เรามีเครื่องมือทางด้านไอซีทีช่วยได้มาก มีกูเกิลช่วยค้นหาข้อมูลข่าวสาร มีซอฟต์แวร์ช่วยจัดการองค์ความรู้ โจทย์คณิตศาสตร์ทุกข้อ ถ้าผูกเป็นสมการได้ หรือเขียนในรูปฟังก์ชันทางพีชคณิต คอมพิวเตอร์ก็สามารถแก้ปัญหาและหาคำตอบได้ ไม่จำเป็นต้องเสียเวลามานั่งคิดทำ เหมือนที่อยู่ในโรงเรียน
การศึกษาในยุคใหม่น่าจะต้องหันมาปรับที่กระบวนการเรียนรู้ของเด็กมากกว่าการ ป้อนเรื่องเนื้อหา เน้นการสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้น่าจะให้ผลดีกว่า เด็กควรจะแสวงหาและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และต้องเรียนรู้อย่างสนุก เพราะความสนุกทำให้เกิดความสุข ความประทับใจ ความประทับใจทำให้เกิดการจดจำ และเรียนรู้อย่างไม่รู้ลืม

ตัวอย่างการเรียนรู้ทางด้านทักษะที่ดีอย่างหนึ่งคือกิจกรรมที่ได้ลงมือทำ เรียนรู้อย่างสนุก รูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจคือค่ายเยาวชน โดยทุกปีกลุ่มเยาวชนเพื่อสังคม คิวบิกครีเอทีฟ จะจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนที่เน้นเรื่องทักษะและกระบวนการเรียนรู้ หนึ่งในค่ายที่ทำมาหลายปีต่อ

เนื่องคือ คิวบิก ครีเอทีฟ แคมป์ ที่เน้นความสนุก ความท้าทาย เสริมการเรียนรู้จากโรงเรียน ในทักษะที่จำเป็น ทักษะแรกคือชีวิต คือการอยู่ร่วมกัน การทำงานเป็นทีม ทักษะที่สองคือการแก้ปัญหา คือการแสวงหาความรู้ นำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ สามารถคิดวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และนำไปสู่การคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและเหมาะสม ทักษะที่สาม คือความคิดสร้างสรรค์ คือความสามารถในการคิดหรือออกแบบสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพ มีประโยชน์ หรือคุ้มค่ากว่าของเดิมที่มีอยู่ รวมไปถึงการต่อยอดแนวคิดเดิม ๆ สู่สิ่งใหม่ และทักษะที่สี่คือการใช้เทคโนโลยี เห็นคุณค่าของเทคโนโลยี เห็นความสำคัญของการใช้เทคโนโลยี เรียนรู้และเข้าใจเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ และรู้ทันเทคโนโลยี ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม

สำหรับในปีนี้ กลุ่มเยาวชนคิวบิกครีเอทีฟ ร่วมกับบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  (สวทช.) ที่คลองหลวง จัดค่าย CCC รุ่นที่ 8 ที่เน้นทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยเน้นในเรื่องกระบวนการคิด การแก้ปัญหา การแสวงหา เรียนรู้ด้วยตนเอง และการทำงานเป็นทีมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน โดยเน้นความสนุกสนานเป็นตัวนำ เป็นค่ายพักแรม จะจัดให้มีขึ้นในวันที่ 5-10 เมษายน 2556 รวม หกวันห้าคืนที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สวทช.

ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานสนใจที่จะส่งบุตรหลานเข้าค่ายเยาวชนที่เน้นทักษะ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://cubiccreative.org/ หรือ โทร.08-3159-0777
อยากให้การศึกษาไทยหันมาเน้นที่กระบวนการเรียนรู้และทักษะที่จำเป็นมากกว่าเน้นที่ตัวเนื้อหา.

รายการอ้างอิง :

รศ.ยืน ภู่วรวรรณ. เด็กและเยาวชนกับทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัล – 1001. วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556.– ( 89 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


6 + six =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>