magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก เครื่องตรวจอาการสั่นจากพาร์กินสัน
formats

เครื่องตรวจอาการสั่นจากพาร์กินสัน

อาการสั่นเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดในกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โดยเฉพาะโรคพาร์กินสัน ซึ่งปัจจุบันไทยพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกปี

แต่เนื่องจากแพทย์เฉพาะทางมีจำนวนน้อย ประกอบกับเครื่องมือทางการแพทย์มีราคาแพงและต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้การวินิจฉัยโรคดังกล่าวอาจไม่แม่นยำและส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษา ที่ไม่ถูกต้องได้

ทีมวิจัยจากสภากาชาดไทย นำโดย รศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ นพ.สิทธิ เพชรรัชตะชาติ และนายชนวัฒน์ อนันต์ จากศูนย์รักษาโรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค พัฒนา “เครื่องตรวจวัดและวิเคราะห์อาการสั่น” ขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการวินิจฉัยโรคพาร์กินสันได้อย่างแม่นยำมาก ขึ้น

ทีมวิจัยจากสภากาชาดไทย นำโดย รศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ นพ.สิทธิ เพชรรัชตะชาติ และนายชนวัฒน์ อนันต์ จากศูนย์รักษาโรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค พัฒนา “เครื่องตรวจวัดและวิเคราะห์อาการสั่น” ขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการวินิจฉัยโรคพาร์กินสันได้อย่างแม่นยำมาก ขึ้น

นพ.สิทธิ เพชรรัชตะชาติ บอกว่า โรคพาร์กินสันเป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาทที่พบได้บ่อยรองจากโรคความจำเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์

ผู้ป่วยโรคนี้สมองไม่ได้เสื่อม แต่มีอาการเคลื่อนไหวช้าและสั่น โดยเริ่มเห็นที่มือข้างใดข้างหนึ่งก่อน ขณะเดียวกันยังต้องใช้เวลานานในการเริ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย พบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง

ที่ผ่านมาแพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยได้มากขึ้น แต่ก็ยังประสบปัญหาในการแยกผู้ป่วยที่มีอาการสั่นจากโรคที่มีความคล้ายคลึงกัน

ทีมวิจัยจึงพัฒนาอุปกรณ์และโปรแกรมที่สามารถใช้ตรวจวัดและวิเคราะห์อาการสั่น ที่มีความสามารถทัดเทียมของนำเข้าได้

โดยเครื่องมือดังกล่าวประกอบด้วยชุดรับสัญญาณ ที่ทำเป็น กล่องขนาดเล็กสำหรับสวมที่มือและนิ้วผู้ป่วย ใช้สำหรับตรวจจับการเคลื่อนที่เชิงเส้น และเชิงมุม ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลการเคลื่อนไหวได้ทั้งสามแนวแกน

และจะส่งข้อมูลแบบไร้สาย แบบเรียลไทม์ ไปยังคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งโปรแกรมวิเคราะห์อาการสั่น เพื่อบันทึกข้อมูลอัตโนมัติ

นพ.สิทธิ บอกว่า เนื่องจากอาการสั่นของโรคพาร์กินสันจะมีความจำเพาะทั้งด้านความแรงและทิศทาง ข้อมูลที่ตรวจวัดได้จากผู้ป่วยจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ทันที มีความถูกต้อง และแม่นยำมากขึ้น

ประสิทธิภาพของเครื่องไม่แตกต่างจากการใช้เครื่องมือจากต่างประเทศที่มีราคา ประมาณ 4 ล้านบาท ขณะที่ต้นทุนการผลิตเครื่องนี้ประมาณ 1 หมื่นบาทต่อเครื่อง ไม่รวมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์

ผู้วิจัย บอกว่า เครื่องมือนี้ผ่านการทดสอบใช้งานในศูนย์รักษาโรคพาร์กินสัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยใช้ในการศึกษาอาการสั่นของมือในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันและโรคสั่นที่เกิด ขึ้นเอง ซึ่งพบการแตกต่างที่ชัดเจน

อนาคต …จะมีการนำเครื่องมือนี้ไปใช้ในการติดตามผลในการรักษา รวมถึงใช้วินิจฉัยอาการสั่นในโรคความเคลื่อนไหวที่ปกติอื่น ๆ ต่อไป.

รายการอ้างอิง :
นาตยา  คชินทร. เครื่องตรวจอาการสั่นจากพาร์กินสัน. เดลินิวส์ (ไอที). วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556.– ( 192 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


4 × six =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>