magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก ชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว คนรุ่นใหม่ไม่ทำนา
formats

ชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว คนรุ่นใหม่ไม่ทำนา

การที่ลูกหลานชาวนาทิ้งไร่ทิ้งนาไม่สืบทอดประเพณีการทำนา ต้องยอมรับความจริงว่าการทำนามีความเหนื่อยยากมาก ตรากตรำ เด็กรุ่นใหม่ไม่สู้ ด้วยเหตุนี้ กรมการข้าวจึงเร่งผลักดันเรื่องสำคัญ 2 เรื่อง เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและทำให้อาชีพชาวนาดำรงอยู่ได้อย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี

ชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวถึงวิถีชีวิตชาวนาในปัจจุบันที่เปลี่ยนไปว่า การที่ลูกหลานชาวนาทิ้งไร่นา ไม่สืบทอดประเพณีการทำนา เป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องยอมรับความจริงว่าเด็กรุ่นใหม่ไม่สู้ความเหนื่อยยากตรากตรำจากการทำนา ด้วยเหตุนี้กรมการข้าวจึงเร่งผลักดันเรื่องสำคัญ 2 เรื่อง เพื่อให้อาชีพชาวนาดำรงอยู่อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี เรื่องแรก คือ การใช้เครื่องจักรกลเทคโนโลยีในการทำนา ซึ่งทันสมัยมากขึ้น แตกต่างจากการทำนาแบบเดิม ๆ ที่ใช้หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน แต่ชาวนารุ่นใหม่จะใช้เครื่องจักรกล เครื่องมือทันสมัย ทำให้ลูกหลานชาวนาได้มองว่าการทำนาปัจจุบันมีความสะดวกสบาย มีกำไร เพราะการทำนาหากใช้เครื่องจักรกลให้ถูกวิธีสามารถลดต้นทุนการผลิตได้          อีกเรื่องที่จะช่วยเหลือชาวนาก็คือกรมการข้าวผลักดันให้ออกพระราชบัญญัติกองทุนสวัสดิการชาวนา เพื่อต้องการค้ำประกันให้ชาวนามีหลักประกันในชีวิตที่มั่นคง มีบำเหน็จบำนาญแก่พี่น้องชาวนาจุดนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ หากรัฐบาลสามารถประการให้มีกองทุนสวัสดิการเข้ามาดูแลพี่น้องชาวนาได้ ให้พี่น้องมีหลักประกันในยามเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และแก่ชราเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

“ขณะนี้ทราบข่าวว่า ประธานสภาผู้แทนราษฎร นำเรื่องนี้ไปทำงานต่อจากกรมการข้าว ยินดีสนับสนุนเพื่อให้กองทุนสวัสดิการชาวนาเกิดขึ้นมาให้ได้ เพื่อประโยชน์แก่พี่น้องชาวนา เมื่อคราวที่ทำกองทุนสวัสดิการชาวนาเข้าถึง ครม.แล้วปรากฎว่าเดินต่อไปไม่ได้ ใช้เวลาทำงาน 3-4 ปี เปลี่ยนรัฐบาลพอดีรัฐบาลก็ส่งกฤษฎีกา ทางกฤษฎีกาให้ไปชี้แจง พอชี้แจงเสร็จ ก็แจ้งกลับไปที่ครม.ว่าชี้แจงกฤษฎีกาแล้วปรากฎว่าเรื่องย้อนกลับมาให้ไปชี้แจงกฤษฎีกาอีกครั้งทำให้ดูยาก ชาวนาเป็นผู้สร้าง ผลผลิตในแต่ละปีมีมูลค่าส่งออกข้าว 2 แสนล้านบาท ผลผลิตเพื่อบริโภคในประเทศอีก 2 แสนล้าน แต่ละปีรวม 4 แสนล้านบาท ทำไมแต่ละปีเราจะให้เงินสมทบชาวนาก้อนหนึ่งไม่ได้”

อธิบดีกรมการข้าวกล่าวอีกว่า ตามตัวเลขชาวนา 37 ล้านครัวเรือน ชาวนาออก 1  ส่วน รัฐบาลออก 2 ส่วน ใช้เงินปีละประมาณ 2 หมื่นล้านบาท เงินนี้จะเป็นเงินสนับสนุนชาวนา เป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญเมื่อชาวนาเกษียณอายุ 65 ปี หากเป็นสมาชิก 15 ปี มีหลักประกันว่า หากทุพพลภาพหรือเสียชีวิตจะได้รับเงินก้อน เป็นแรงจูงใจให้เด็กกลับมาทำนา ในช่วงที่ทำประชาพิจารณ์ประมาณ 2,000 คนทั่วประเทศ ปรากฎว่า เห็นชอบที่ให้มีกองทุนชาวนา แต่ที่เป็น 0% คือ ไม่มีใครให้ลูกทำนาเลย

“คนไทยอย่าหลงละเลิงว่า เราผลิตข้าวบริโภคมากที่สุดในโลก ไทยผลิตข้าวเพียงพอสำหรับบริโภคในประเทศ และเหลือประมาณ 10 ล้านตัน แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ ขณะที่หลายประเทศกระเสือกกระสนผลิตข้าวให้พอกิน ดังนั้นไทยต้องรักษามาตรฐานนี้ให้ได้ ต้องทำกันเป็นระบบซึ่งมีความเป็นไปได้หากมีกองทุนจะยึดเหนี่ยวดึงคนให้กลับมาได้ และอุตสาหกรรมข้าว เครื่องจักรกล จะทำให้การทำนาไม่ใช่เรื่องยาก ทุกอย่างง่ายไปหมด”

กรมการข้าวยังพยายามพัฒนาพันธุ์ข้าวให้ได้ผลผลิตสูง จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอแทค) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ (สกว.) และร่วมมือกับมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวต่อไป

เปรม ณ สงขลา หนึ่งในผู้รับพันธุ์ข้าวใหม่ เจ้าของสวนเคหะการเกษตร ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี เล่าว่า การที่เยาวชนรุ่นหลังไม่นิยมทำนา เรื่องใหญ่ที่สุดคือ การที่ชาวนาทั่วไปมีที่ทำนาน้อยมาก ในเขตลาดหลุมแก้ว มีผู้ที่เป็นเจ้าของนาเองประมาณ 10% นอกนั้นเช่าเป็นส่วนใหญ่การที่มีชาวนามีพื้นที่ทำนาน้อยลง วิธีการที่จะทำให้ชาวนาอยู่ได้อย่างยั่งยืนคือ การรวมกลุ่ม

“การที่ประเทศไทยเปิดเสรีมากขึ้นเป็นเออีซี การที่ต้องสู้คือการรวมกลุ่มชาวนาที่เป็นรายใหญ่มีรายได้ดีมากปัจจุบันมีคนที่มีที่นา 100 ไร่ มีรายได้เป็นล้านทุกราย หากผลิตเมล็ดพันธุ์ด้วยจะเป็นการใช้ที่ดินอย่างคุ้มค่า เด็กรุ่นหลังมีเรื่องเดียวคือเงิน หากรายได้ดีจะไม่ทิ้งนา”

ยุทธศาสตร์ประเทศไทยที่จะให้เกษตรกรเข้มแข็งต่อไปนี้ คือ การรวมกลุ่ม ต้องเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ ไม่เช่นนั้นสู้พม่าไม่ได้ เพราะสำหรับพม่าการลงทุนเป็นเรื่องของนักลงทุน ไม่ใช่เกษตรรายย่อย การลงทุนเป็นเพราะสิงคโปร์ เกาหลี หรือแม้แต่ประเทศไทย เข้าไปลงทุนคนละแสนไร่ สองแสนไร่ ต่อไปนี้การเกษตรจะเป็นเรื่องของเกษตรกรรายใหญ่ ส่วนรายย่อยต้องรวมกลุ่มเท่านั้นจึงจะรอด

“”คนไทยอย่าหลงละเลิงว่า เราผลิตข้าวบริโภคมากที่สุดในโลก ไทยผลิตข้าวเพียงพอสำหรับบริโภคในประเทศ และเหลือประมาณ 10 ล้านตัน แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ ขณะที่หลายประเทศกระเสือกกระสนผลิตข้าวให้พอกิน ดังนั้นไทยต้องรักษามาตรฐานนี้ให้ได้ ต้องทำกันเป็นระบบ”

รายการอ้างอิง :

ชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว คนรุ่นใหม่ไม่ทำนา. คม ชัด ลึก (กรอบบ่าย-สัมภาษณ์พิเศษ). ฉบับวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556.– ( 176 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


three × = 12

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>