magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก นอร์ธเทิร์น ฟูด วัลเลย์ โอกาสอุตสาหกรรมอาหารภาคเหนือ
formats

นอร์ธเทิร์น ฟูด วัลเลย์ โอกาสอุตสาหกรรมอาหารภาคเหนือ

หลังจากกระทรวงอุตสาหกรรมกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)  ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินงาน ไทยแลนด์ ฟูด วัลเลย์ (Thailand Food Valley) เพื่อสร้างนวัตกรรมด้านอาหารขึ้นมา และได้เลือกภาคเหนือที่ถือว่ามีศักยภาพด้านอาหารเป็นพื้นที่นำร่องในการ ดำเนินโครงการ โดยได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่องการดำเนินงานพื้นที่เศรษฐกิจนวัตกรรมอาหารภาคเหนือ หรือ นอร์ธเทิร์น ฟูด วัลเลย์ (Northern Food Valley) ขึ้นเมื่อ ปลายปี 2555 ที่ผ่านมา          ในเวทีเสวนา “ร่วมสร้างนวัตกรรมอาหาร ถอดบทเรียนหุบเขาอาหารจากต่างแดนสู่ เมืองเหนือ” ซึ่งจัดขึ้นเพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ด้านฟูด วัลเลย์จากประเทศเนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ ตลอดจนนโยบายการส่งเสริมให้เชียงใหม่ก้าวสู่ การเป็นฟูด วัลเลย์ของจ.เชียงใหม่ ที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดขึ้นในเวที “ประชุมประจำปี 2556 สวทช.ภาคเหนือ” ยกระดับการให้บริการ  สร้างสังคมวิทยาศาสตร์ในท้องถิ่น ที่โรงแรม ดิเอ็มเพรส จ.เชียงใหม่ โดยเชิญหน่วยงานและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความ คิดเห็นถึงโอกาส และความเป็นไปได้ของโครงการ

นายยุทธพงศ์ จีรประภาพงศ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภาคเหนือ กล่าวว่า สภาอุตสาหกรรมจ.เชียงใหม่ รับโจทย์ในการผลักดันโครงการนอร์ธเทิร์น ฟูด วัลเลย์ ภายใต้ระยะเวลา 5 ปี ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล เพื่อรวมกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและสร้างเครือข่ายขึ้นมา รวมทั้งหาวิธีการหรือแนวทางว่าควรทำอย่างไรให้กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารที่เข้า มาอยู่ใน เครือข่ายใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบหรือสาธารณูปโภคที่มีอยู่ในพื้นที่ร่วมกัน ได้  โดยเฉพาะด้านวิชาการ งานวิจัย ซึ่งจ.เชียงใหม่ มีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ถึง 8 แห่ง

ทั้งนี้ ในสภาอุตสาหกรรมก็มีสมาชิกที่เป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารจำนวนมาก และเมื่อเร็วๆนี้ภาคเอกชนมีโอกาสเข้าร่วมประชุมกับนายกรัฐมนตรี ซึ่งก็มองว่าจ.เชียงใหม่มีศักยภาพสูงเพราะเป็นแหล่งวัตถุดิบ แต่จะหาวิธีการใช้ประโยชน์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้อย่างไร สภาอุตฯได้ตั้งคณะทำงานมีโครงสร้างการบริหารที่ชัดเจน ทั้งในส่วนของประธาน และคณะทำงาน และได้ตั้งเป้ามาย กำหนด ตัวชี้วัดเพราะคาดหวังให้โครงการนี้เกิดขึ้น และเป็นไปได้ เนื่องจากจ.เชียงใหม่และภาคเหนือ มีศักยภาพ และความพร้อมทุกด้าน แต่ยังขาดการรวมกลุ่มกัน

“หลังไปดูงานที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ พบว่าสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของท้องถิ่น ขณะนี้จ.เชียงใหม่เริ่มนำร่องโครงการนอร์ธเทิร์น ฟูด วัลเลย์ เพราะเป็นแหล่งวัตถุดิบ และโครงสร้างพื้นฐาน หลายด้านที่มีความพร้อม แต่จะทำอย่างไรก็เราสามารถนำวัตถุดิบ และโครงสร้างพื้นฐานที่มีมาแชร์และใช้ประโยชน์ร่วมกันได้” นายยุทธพงศ์ กล่าว

ด้านายสมิต ทวีเลิศนิธิ ประธานยังก์ ฟิต (Young Fit) จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า สิ่งที่ต้องคิดคือ เรื่องที่ว่าจะใช้ประโยชน์และโอกาสจากโครงการ นอร์ธเทิร์น ฟูด วัลเลย์ ได้อย่างไร  แต่หากโครงการนี้เกิดขึ้นก็ต้องตอบโจทย์สำหรับผู้ประกอบการในพื้นที่ได้ ระดับหนึ่งเช่นกัน

อุปสรรคสำคัญของพื้นที่ภาคเหนือ คือ ไกลแหล่งขนส่ง เช่นท่าเรือ และศูนย์กลางเมืองหลวงของประเทศ จึงต้องนำเข้าพลังงานทำให้เสียเปรียบผู้ประกอบการส่วนกลาง แต่มีข้อได้เปรียบ คือใกล้แหล่งวัตถุดิบ ฉะนั้นหากโครงการ นอร์ธเทิร์น ฟูด วัลเลย์ เกิดขึ้นต้องตอบโจทย์ให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ได้ว่าจะลดข้อเสียเปรียบ ด้านพื้นที่ที่อยู่ไกลแหล่งขนส่งได้อย่างไร

นอกจากนี้ต้องพัฒนาการผลิตโดยเน้นผลิต และแปรรูปอาหารที่สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยในการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้สูงขึ้น การตั้ง NORTHE RN FOOD VALLEY จึงต้องมีเป้าประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อให้ผู้ประกอบการหันเข็มทิศตาม

ขณะที่ นายณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รอง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช.อยู่ในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เน้นงานวิจัยพัฒนาและต่อยอดสู่ชุมชน ใน 4 สาขาหลัก คือ วัตถุดิบ ไบโอเทค นาโนเทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ตลอด 20 ปี สวทช.ได้สร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะด้านอาหาร เพราะรัฐบาลมีนโยบายชัดเจนในการสร้างประเทศให้เป็นครัวของโลก

“นอร์ธเทิร์น ฟูด วัลเลย์ จะเกิดขึ้นได้ต้องสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการ และพื้นที่ และหากเราต้องการวางวิจัยก็ต้องลงทุนร่วมกัน หรือสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ใช้ร่วมกันได้ก็ต้องลงทุนเพื่อประโยชน์ร่วมกัน ขณะที่แต่ละองค์กรมีแผนงานบริหารที่แตกต่างชัดเจน  การแข่งขันจึงควรเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ แลกเปลี่ยนในสิ่งที่ควรแลกเปลี่ยน คอนเซ็ปนี้จะทำให้โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ และ  นอร์ธเทิร์น ฟูด วัลเลย์ เกิดขึ้นได้ เพราะโครงสร้างพื้นฐานของประเทศมีมากพอแล้ว ทั้ง ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สังคม สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ ฯลฯ”

รายการอ้างอิง:

นอร์ธเทิร์น ฟูด วัลเลย์ โอกาสอุตสาหกรรมอาหารภาคเหนือ. จันจิรา จารุศุภวัฒน์. กรุงเทพธุรกิจ. ฉบับวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556.– ( 239 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


+ 8 = thirteen

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>