magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก มือถือตรวจ’สมองเสื่อม’
formats

มือถือตรวจ’สมองเสื่อม’

ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการจัดกิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่งที่สังคมไทยเราไม่ควรมองข้ามคือ งาน “สร้างสรรค์สังคมไทยห่างไกลอัลไซเมอร์ ครั้งที่ 5″ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดขึ้น ณ สวนสุขภาพ ในกระทรวงสาธารณสุข เพื่อรณรงค์กระตุ้นให้คนไทยรู้จักโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุและรู้จักโรคอัล ไซเมอร์ ซึ่งเป็นโรคสมองเสื่อมที่พบในคนไทยมากถึงร้อยละ 30 หวัง ปลุกจิตสำนึกร่วมกันเพื่อช่วยกันแก้ไข ป้องกันหรือชะลอการป่วยเป็นโรคนี้ เนื่องจากในอนาคตสังคม ไทยจะไม่ต่างจากอีกหลายประเทศทั่วโลกที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้น อย่างไรก็ดี เวลานี้คนไทยมีเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยตรวจคัดกรองโรคนี้ได้อีกทาง ได้แก่ ตรวจผ่านโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ตโฟน  ทั้งนี้ งาน “สร้างสรรค์สังคม ไทยห่างไกลอัลไซเมอร์ ครั้งที่ 5″ มีกิจกรรมหลายอย่าง ทั้งการให้ความ รู้เรื่องโรคอัลไซเมอร์ การบริการตรวจคัดกรองความจำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การเล่นเกมฝึกการใช้สมอง โปรแกรมคำนวณอายุสมอง นิทรรศการเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ มีทีมแพทย์ให้คำปรึกษา ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้น กิจกรรมสอนทำยาหม่อง รวมถึงการสาธิตการเต้นเพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ตลอดจนแบ่งกลุ่มเล่นกีฬาสี และบรรยายพิเศษให้ความรู้เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ผ่านภาพยนตร์          เราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับภาวะสมองเสื่อม เพราะปัจจุบันทั่วโลกพบผู้ป่วยโรคนี้เป็นจำ-นวนมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุนั้นมีภาวะสมองเสื่อมไม่น้อยกว่า 25 ล้านคน และอาจเพิ่มขึ้นกว่า 5 ล้านคนต่อปี ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากเซลล์ประสาทเสื่อม ไม่สามารถ ทำงานได้เหมือนเดิม อายุยิ่งมากยิ่ง พบมาก ทำให้ความจำเสื่อม มีพฤติกรรมและบุคลิกเปลี่ยนไปจากเดิม

จากการสำรวจสุขภาพผู้สูงอายุไทยโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ล่าสุดปี 2551-2552 พบผู้สูงอายุไทยมีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมถึงร้อยละ 12 และข้อมูล จากสถาบันวิจัยสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NIH) ประเมินว่า ในปี 2563 ไทยอาจมีผู้ป่วยโรคสมอง เสื่อมถึง 1.3 ล้านคน โดยโรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบในเขตชนบทมากกว่าในเมือง

สาเหตุใหญ่ในไทยพบว่าประมาณร้อยละ 60 สัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดสมอง เช่น หลอดเลือดแข็ง ตีบ ตัน ทำเลือดไปเลี้ยง สมองไม่เพียงพอ ส่วนที่เหลือมักเป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ และ โรคสมองเสื่อมจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปรกติ เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหาทั้งตัวของผู้สูงอายุและผู้ดูแล เพราะ ทำให้เกิดความเครียด ความกังวล คุณภาพชีวิตที่ลดลง มีผลถึงสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

นอกจากนี้ยังเกิดขึ้นได้จากรูปแบบการใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ที่พึ่งพา เทคโนโลยีสูง มีเครื่องช่วยจำ ช่วยคิดให้ตลอดเวลา จนนำมาสู่ภาวะสมองเสื่อมได้อย่างไม่รู้ตัว เพราะเซลล์ประสาทขาดการกระตุ้น สมองไม่ได้ถูกลับด้วยความคิด เหมือน “มีดดาบที่อยู่แต่ในฝัก” ทำ ให้กลายเป็นสนิมได้ในที่สุดนั่นเอง

อย่างไรก็ดี เวลานี้มูลนิธิอัลไซเมอร์ฯร่วมกับ TCELS ได้พัฒนา “โปรแกรมตรวจคัดกรองโรคอัลไซเมอร์” สำหรับทุกคนใช้ได้ด้วย สมาร์ตโฟนและแทบเล็ตที่มีผลแม่น ยำ โดยสามารถใช้ได้ทั้งระบบไอโอเอสและแอนดรอยด์ เป็นแบบคัดกรองเบื้องต้น พัฒนาโดย ศ.พญ. นันทิกา ทวิชาชาติ แห่งภาควิชาจิตเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการเลขานุการมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์ฯด้วย

โปรแกรมดังกล่าวสามารถใช้ได้ทั้งผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้สูงอายุ เอง เพื่อให้ทราบความเสี่ยงเกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์เบื้องต้น เพื่อไปตรวจยืนยันอีกครั้งโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

เวลานี้ได้เปิดบริการให้ดาวน์ โหลดได้แล้วจากเว็บไซต์ของมูลนิธิที่ www.alz.or.th และเว็บไซต์ของศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ www. tcels.or.th โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ  ถือเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้า ในการผนวกเทคโนโลยีเข้ากับด้านการแพทย์ ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ทีมงานของ นพ.สิทธิ เพชรรัชตะชาติ และนายชนวัฒน์ อนันต์ นักวิทยาศาสตร์แห่งศูนย์รักษาโรคพาร์คินสัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เคยนำเสนอผลงานสำหรับตรวจคัดกรองโรคพาร์คินสัน ซึ่งเป็นภาวะสมองเสื่อมอีกอย่างหนึ่ง มาแล้วเช่นกัน เรียกว่า “เครื่องตรวจ และวิเคราะห์อาการสั่น (Tremor Analysis)” ที่ทำให้ค้นพบความผิดปรกติของผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว

รายการอ้างอิง :

มือถือตรวจ’สมองเสื่อม’. โลกวันนี้. ฉบับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556.– ( 136 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


five + 2 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>