magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก แขนกลเกี่ยวอะไรกับการหุบใบของต้นกาบหอยแครง
formats

แขนกลเกี่ยวอะไรกับการหุบใบของต้นกาบหอยแครง

เรียกความสนใจจากการนำเสนอผลงานภายในงานมหกรรมประกวดเทคโนโลยีและการสื่อสารแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 12 ที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จัดขึ้น เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

และเป็น 1 ใน 3 โครงการที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ โครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ หรือ YSC.CS  ปีนี้ ซึ่งจะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับโลกในงานอินเทล ไอเซฟ ( Intel ISEF) ครั้งที่ 64 ที่เมืองฟินิกส์ มลรัฐแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกากับ “โครงการการศึกษาผลของความชื้นสัมพัทธ์ ขนาดของแรง และจำนวนเส้นขนสัมผัส ต่อการหุบใบของต้นกาบหอยแครง ชนิด Dionaea muscipula เพื่อใช้ประยุกต์สร้างและพัฒนานวัตกรรมมือกล”

ของ นายสหกฤษณ์  ธนิกวงศ์  นายพรภวิษย์ เจนจิรวงศ์ และนายณัฐนนท์ พงษ์ดี  น้อง ๆ ชั้นม.4  จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

น้องพรภวิษย์ ตัวแทนทีมอธิบายถึงที่มาของโครงการนี้ว่า เป็นผลมาจากตอนมัธยมศึกษาตอนต้นเรียนเรื่องการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช จึงสนใจที่จะศึกษาต่อไปว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลต่อการหุบใบของต้นกาบหอยแครงซึ่งเป็นพืชกินแมลง  ที่มีการพัฒนารูปร่างของใบไปทำหน้าที่จับแมลง

โดยกลไกการจับแมลงของต้นกาบหอยแครงนั้นอาศัยการทำงานของเส้นขนรับสัมผัสที่อยู่บริเวณผิวใบ เมื่อแมลงมาสัมผัสจะส่งสัญญาณไปที่เซลล์พัลไวนัส ทำให้เกิดการหุบใบ

การศึกษาครั้งนี้ สนใจที่จะศึกษาใน 3 เรื่องคือ ความสัมพันธ์ของปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่อขนาดของมุมใบกาบหอยแครง  ผลของจำนวนเส้นขนรับสัมผัส ต่อความเร็วและความแรงในการหุบใบ และขนาดของแรงกระทำ มีผลต่อความเร็วและความแรงในการหุบใบหรือไม่

จากผลการทดลองพบว่า ขนาดของมุมใบกาบหอยแครงมีความสัมพันธ์แบบทิศทางเดียวกันต่อปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ คือหากชื้นมากจะอ้ามากขึ้น

และใบกาบหอยแครงจะตอบสนองการหุบได้เร็วและแรงที่สุด เมื่อแมลงสัมผัสกับเส้นขนรับสัมผัส 6 เส้น รองลงมาคือ 4 และ 2 เส้นตามลำดับ

นอกจากนี้ขนาดของแรงที่ทำให้ใบกาบหอยแครงมีการหุบด้วยอัตราเร็วเชิงมุมและขนาดของแรงที่มากสุดคือแรงขนาด 0.0009 นิวตัน

น้อง ๆ บอกอีกว่า จากผลการทดลองต่าง ๆ สามารถนำข้อมูลที่ได้มาทำการคาดการณ์การเกิดฝนในธรรมชาติและจำลองเครื่องวัดความชื้นสัมพัทธ์อย่างง่ายได้

รวมถึงต่อยอดไปพัฒนาเป็นมือกล ที่เลียนแบบการหุบใบของต้นกาบหอยแครง ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากถูกคัดเลือกแล้วจากกลไกทางธรรมชาติ

รายการอ้างอิง :

นาตยา  คชินทร. แขนกลเกี่ยวอะไรกับการหุบใบของต้นกาบหอยแครง.  เดลินิวส์ (กรอบบ่าย). ฉบับวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556.– ( 197 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


8 − two =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>