magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home S&T Stories แนวคิดการเมืองเปลี่ยนสมองของคนได้
formats

แนวคิดการเมืองเปลี่ยนสมองของคนได้

เว็บไซต์วิชาการดอทคอม นำเสนอบทความเกี่ยวกับเรื่องสมองกับการชื่นชอบพรรคการเมืองในสหรัฐอเมริกา  ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ทีมนักวิทยาศาสตร์การเมืองและนักประสาทวิทยา ได้แสดงให้เห็นว่า ความเป็นเสรีนิยมกับอนุรักษ์นิยมใช้สมองคนละส่วนกันในขณะที่ทำการตัดสินใจที่เสี่ยง และหลักการนี้น่าจะนำไปใช้เพื่อทำนายได้ว่า คนๆหนึ่งมีแนวโน้มที่จะชอบพรรคการเมืองแบบใด

การศึกษาครั้้งใหม่นี้เผยว่า แม้ว่ายีนและการถ่ายทอดจากพ่อแม่จะเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดฟังก์ชันการทำงานของสมอง แต่การจะชอบพรรครีพับลีกันหรือจะชอบเดโมแครทนั้นก็สามารถ  ดร.ดาร์เรน ชเรเบอร์ นักวิจัยด้านประสาทการเมืองวิทยา มหาวิทยาลัยเอ็กเซเตอร์ ประเทศอังกฤษ ได้ทำงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก โดยผลงานครั้งนี้ ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ PLOS ONE แล้ว
ในการทดลองเบื้องต้นนั้น นักวิจัยให้อาสาสมัครเล่นเกมพนันง่ายๆเกมหนึ่งแล้ววัดกิจกรรมในสมองไปด้วย โดย ดร.ชเรเบอร์ และทีมงานมีข้อมูลว่าบุคคลๆ นั้นลงทะเบียนว่าชื่นชอบพรรคใดเป็นพิเศษด้วย ในการทดลองครั้งใหม่ มีผู้เข้าร่วมทดลอง 82 คน ให้มาเล่นเกมพนันเกมหนึ่ง และผลจากการทดลองครั้งนี้ นักวิจัยได้ทราบว่า ฝ่ายรีพับลีกันและเดโมแครทมีกิจกรรมทางสมองที่แตกต่างกันเมื่อทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความเสี่ยง

โดยฝ่ายเดโมแครทจะมีกิจกรรมของสมองในส่วนอินซูล่า (ส่วนที่เกี่ยวข้องกับสังคมและการรับรู้ตนเอง) ที่มากกว่า ขณะที่ฝ่ายรีพับลีกันจะมีกิจกรรมในสมองส่วนอไมกดาล่า  (ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์ โดยเฉพาะอารมณ์ในแง่ลบ รวมถึงระบบที่ตัดสินใจว่าจะสู้หรือจะหนี) ที่มากกว่า ทำให้ผลที่ออกมาสรุปได้ว่า การเป็นเสรีนิยมหรืออนุรักษ์นิยม ทำให้เกิดกระบวนการรับรู้ที่แตกต่างกันเมื่อต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยง

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  http://www.vcharkarn.com/vnews/154854– ( 53 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


+ four = 10

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>