เชื่อว่าทุกคนต่างก็มีความทุกข์ ทั้งด้าน กายและใจ หากอยู่ท่ามกลางการจราจรที่ติดขัด จะทุกข์มาก หรือทุกข์น้อย แล้วแต่ช่วงเวลา และสถานการณ์ แต่ก็ถือเป็นความทุกข์ทั้งสิ้น
รัฐบาลชุดไหน หรือใครก็ตาม ที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ ถือว่าได้สร้างอานิสงส์ให้สังคมเมืองอย่างมหาศาล วันนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) โดย นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรี วท.ประกาศว่า จะเอาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่ วท.ทำเอาไว้ กับที่หน่วยงานอื่นๆ ซึ่งมีภารกิจที่ต้องเข้าไปแก้ปัญหาจราจรทำเอาไว้เช่นกัน มาบูรณาการร่วมกัน ภายใต้โครงการสมาร์ทไทยแลนด์ ด้วยระบบจราจรขนส่งอัจฉริยะ Intelligence Transport System เรียกสั้นๆ ว่า ITSไอทีเอส ซึ่งเป็นระบบจราจรขนส่งที่มีการ นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาช่วยคน รถ ถนนและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการจราจรและขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สะดวกสบายและปลอดภัย ตลอดจนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
“ปัญหาจราจรในประเทศไทยเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงขึ้นทุกปี ทำให้เกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ นอกเหนือจากปัญหาพลังงาน น้ำมันแล้ว ปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นอีกปัญหาที่สำคัญ มลพิษทั้งในอากาศ น้ำ เสียงรบกวน และ
มลพิษอื่นๆ ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพการดำรงชีวิต การแก้ไขปัญหา หรือบรรเทาปัญหาจราจร
ได้ จะทำให้ประชาชนมีความสุขขึ้นมาก ผมมั่นใจอย่างนั้น” รัฐมนตรี วท.กล่าว ระบบการสัญจรไปมามีประสิทธิภาพนั้นต้องประกอบด้วยระบบต่างๆ 6 ประการ คือ
- การให้ข้อมูลกับผู้เดินทาง
- การควบคุมและสั่งการจราจร
- ระบบการขนส่งสินค้า
- ความปลอดภัยในการเดินทาง
- ความสะดวกในรถโดยสารและรถประจำทาง
- ระบบการจ่ายเงิน เช่นการใช้ตั๋วร่วมกัน
วันนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาจราจร ไม่ว่ากรุงเทพมหานคร (กทม.) กรมการขนส่งทางบก ตำรวจจราจร ต่างหน่วยต่างก็มีเครื่องมือของตัวเองในการ แก้ปัญหาและอำนวยความสะดวกเฉพาะ งานของตัวเองอยู่แล้ว เช่น ระบบสัญญาณ ไฟจราจรอัจฉริยะ ป้ายบอกทาง ระบบแจ้งเตือนภัยบนท้องถนนของ กทม. ระบบเซ็นเซอร์นับปริมาณรถ กล้องตรวจจับความเร็ว และการกระทำผิดกฎจราจร และล่าสุด การติดกล้องตรวจจับผู้กระทำผิดไว้ในตัวจ่าเฉยของกองบังคับการตำรวจ จราจร
นอกจากนี้ก็ยังมีภาคเอกชนอีกหลายหน่วยงานที่สร้างเครื่องมือมาสนับสนุนให้ เกิดความสะดวกในการใช้รถใช้ถนนเช่นเดียวกัน หรือแม้แต่ วท.โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เอง นักวิจัยก็สร้างตัวแอพพลิเคชั่นออกมาหลายชิ้น เช่น ระบบรายงานข้อมูลในสถานการณ์ภัยพิบัติแบบอ้างอิง พิกัดทางภูมิศาสตร์ การแจ้งเตือนความปลอดภัยในการใช้รถประจำทางและไม่ ประจำทางผ่านโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
แต่ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กร ต่างคนก็ต่างใช้เครื่องมือของตัวเอง ใช้แยกส่วนกัน
“สิ่งที่เราต้องทำ และกำลังทำอยู่คือ เอาเครื่องมือทุกอย่างมาบูรณาการเข้าด้วยกัน แล้วมาประมวลผล เพื่อนำไปใช้ด้วยกันให้ได้ โดยทำออกมาในรูปแบบ ของแอพพลิเคชั่นสำเร็จรูป แอพพลิเคชั่นตัวนี้จะมีข้อมูลทุกอย่างของทุกหน่วยงาน ที่ประมวลสถานการณ์ทุกสถานการณ์ เอาไว้แล้ว มันจะประเมินผลออกมาให้ ผู้ใช้ได้ทันทีว่าจะต้องจัดการอะไร อย่างไร ระบบนี้ใช้งบประมาณน้อย ทั่วโลกยอมรับและมีการพิสูจน์ชัดเจนว่าแก้ปัญหาจราจรได้จริง”รัฐมนตรี วท.กล่าว และว่า คาดว่าใน 6 เดือน นับจากนี้ระบบทุกอย่างจะเสร็จ จะนำออกมาใช้ได้ทันที
หากไอทีเอสสามารถแก้ หรือกระทั่งบรรเทาปัญหาจราจรได้ลงสักครึ่งของ สภาพที่เป็นอยู่ ถือว่าสร้างอานิสงส์อย่าง ใหญ่หลวงแก่ชาวเมืองเราจะรอวันนั้น..
รายการอ้างอิง :
ชุติมา นุ่นมัน. สมาร์ทไทยแลนด์จราจรอัจฉริยะความหวังครั้งใหม่ของคนเมือง. มติชน (กรอบบ่าย). ฉบับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556.– ( 64 Views)