magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

เครื่องจดจำ

เดินตามรอยรุ่นพี่อย่างเครื่อง “เดินดี” ที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีให้กับผู้พิการ และคว้ารางวัลมาแล้วทั้งในและต่างประเทศ

คราวนี้ถึงคิวผลงานการพัฒนาของรุ่นน้องอย่าง “เครื่องจดจำ” ที่จะช่วยให้คนตาบอดไทยสามารถจดบันทึก รวมถึงควบคุมโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ได้          นายภัทรวิทย์ กิจเจตนี นายมนตรี ตั้งประยูรเลิศและ นายสมโภชน์ อรัญพันธ์ 3นักศึกษาจากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล เจ้าของผลงาน บอกว่า เนื่องจากไทยมีผู้พิการทางสายตากว่า 150,000 ราย คนเหล่านี้มีปัญหาเรื่องการจดทีมพัฒนาบันทึก ซึ่งโดยปกติจะจดโดยการใช้อุปกรณ์สเลท (slate) และสไตลัส (stylus) ดันกระดาษให้นูนตามรหัสอักษรเบรลล์ และอ่านโดยใช้นิ้วมือสัมผัส

แต่ปัญหาของการจดวิธีนี้คือ ทำได้ลำบาก เก็บรักษายากทำสำเนาไม่ได้ รวมถึงไม่สามารถส่งให้คนตาดีอ่านได้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการใช้งานอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ เช่น มือถือ หรือ คอมพิวเตอร์

ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขโดยใช้อุปกรณ์เบรลล์ โน้ต แทรคเกอร์ ซึ่งเปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์สำหรับคนตาบอด เพียงแค่ไม่มีจอภาพและแสดงผลผ่านเบรลล์ เซล

แม้อุปกรณ์โน้ต แทรคเกอร์ นี้มีใช้กันทั่วไป ในประเทศทางตะวันตก แต่ผู้พิการทางสายตาไทยแทบไม่เคยมีโอกาสได้ใช้  เนื่องจากราคาแพงตั้งแต่ 60,000 บาท ถึง 180,000 บาท ดังนั้นทีมวิจัยจึงร่วมมือกับวิทยาลัยราชสุดา โดยมี ดร. เซง เลิศมโนรัตน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา พัฒนาอุปกรณ์ โน้ต แทรคเกอร์ ขึ้น โดยตั้งชื่ออุปกรณ์ว่า “จดจำ”

พัฒนาขึ้นโดยใช้หลักการที่ง่ายกว่าแต่ให้ผลใกล้เคียงกับของต่างประเทศ ทำให้ต้นทุนการผลิต ไม่เกิน 2,500 บาท  โดยหลักการทำงานหลัก คือ ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ประมวลผลการกดปุ่มตามรหัสอักษรเบรลล์  บันทึกข้อมูลในอีอีพรอม และแสดงผลด้วยเสียงผ่านเอ็มพี 3 โมดุล ที่เก็บเสียงในรูปอักขระ (ก, ข, ค,. A, B, C)

นอกจากนี้เครื่อง “จดจำ” ยังทำงานได้เหมือนบลูทูธ คีย์บอร์ด ควบคุมและส่งข้อมูลที่บันทึกไว้ไปยังโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ได้ ทำให้สามารถส่งข้อมูลต่อให้คนปกติได้โดยผ่านอีเมลหรือเอสเอ็มเอส

รวมถึงสามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมวาจา ที่พัฒนาโดยเนคเทคหรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ในการสังเคราะห์เสียงให้โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ให้อ่านข้อความเป็น ประโยค

ด้วยตัวเครื่องขนาดกะทัดรัด ทำให้สะดวกต่อการพกพาและใช้งาน

ล่าสุด.ผลงานเครื่องจดจำนี้ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 สาขาโปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการและผู้สูงอายุ ของเนคเทค หลังจากได้รับรางวัลชนะเลิศประเภท IDEA SEED ของทรู อินโนเวชั่น อวอร์ดเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา

ผู้พัฒนา บอกว่า เงินรางวัลที่ได้รับจะใช้ในการพัฒนาต่อยอดผลงาน และจะมอบเครื่องจดจำให้แก่โรงเรียนสอนคนตาบอด 14 แห่งทั่วประเทศรวม 86 เครื่อง เพื่อให้นักเรียนตาบอดไทยได้ทดลองใช้ ภายในวันพ่อปี 2556 นี้

และนี่คืออีกหนึ่งผลงานดี ๆ ฝีมือของเยาวชนไทยที่น่า “จดจำ”.

รายการอ้างอิง :
นาตยา  คชินทร.  เครื่องจดจำ. เดลินิวส์ (กรอบบ่าย). ฉบับวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556.– ( 67 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


eight + 5 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>