ปัจจุบันจอแสดงผลแบบ CRT และ LCD ซึ่งเป็นจอแสดงผลที่กำลังจะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า Organic Light – Emitting Diodes (OLEDs) / Polymer Light-Emitting diodes (PLEDs) ซึ่งประหยัดพลังงานมากกว่า LCD ถึงร้อยละ 40 ดร.พิเชษฐ อนุรักษ์อุดม เลขานุการหลักสูตรนิติวิทยาศาสตร์ อาจารย์สังกัดภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) สามารถสังเคราะห์โพลิเมอร์นำไฟฟ้า ซึ่งเป็นวัสดุเปล่งแสงสีน้ำเงิน สีเขียว สีแดงได้เองในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ Poly(Fluorene vinylenes), (PFVs), Poly(p-phenylene vinylenes), (PPVs), Poly{(9,9-di-n-octylfluorenediyl vinylene)-alt-[1,5-(2,6-dioctyloxy)naphthalene vinylene]} (PFV-alt-PNV), MEH-PPV และอนุพันธ์ต่างๆ กลุ่มของโอลิโกแอนทราซีน และอนุพันธ์ต่างๆ
โดยร่วมมือกับ University of Houston รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ดร.สมบุญ สหสิทธิวัฒน์ และดร.ธนศาสตร์ สุขศรีเมือง นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค/สวทช.) วิจัยและพัฒนาต้นแบบจอแสดงผล OLEDs/PLEDs จากสารอินทรีย์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ และโพลิเมอร์เรืองแสงที่ได้พัฒนาขึ้นเอง
ด้วยเทคโนโลยีจุดเด่นที่การให้ภาพที่เห็นได้ชัดในทุกมุมมอง ความบาง เทียบเท่าแผ่นกระดาษหรือบางเท่ากับ 0.76 มิลลิเมตร ด้วยความคมชัด สีสันที่สวยสมจริงเป็นธรรมชาติ อีกทั้งการตอบสนองที่รวดเร็ว และประหยัดพลังงานมากที่สุด พับงอได้ หรือจอภาพที่แสดงผลได้แม้ไม่ต้องจ่ายไฟ
โพลิเมอร์แบบสังยุคแบบ PLEDs ยังทำให้เป็นฟิล์มง่ายกว่า ราคาถูกกว่า พับงอได้เมื่อเปรียบเทียบกับ OLEDs ซึ่งพยายามสังเคราะห์และพัฒนาปรับปรุงโพลิเมอร์และหรือโคโพลิเมอร์ชนิดใหม่ ที่เปล่งแสงได้สำหรับประยุกต์ใช้ในจอแสดงผลชนิดแบนในขณะนี้
รายการอ้างอิง :
จอโพลิเมอร์เรืองแสง มก.พัฒนาโมเดลใหม่. ข่าวสด (กรอบบ่าย-เคาะประตูแคมปัส). ฉบับวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556.– ( 511 Views)