มูลค่าเพิ่มควบคู่กับการ ให้ภาคเอกชนลงทุน นวัตกรรมเพื่อสีเขียวมากขึ้น หากมองย้อนกลับ ไปที่ สวทช. กับทวีศักดิ์ กออนันตกูล ตลาดโลกยอมรับด้วยการเปิดเออีซีนั้น ทวีศักดิ์ ยืนยันว่าได้เตรียมความที่ผ่านมา เอสเอ็มอีที่ไม่ประสบความสำเร็จจากพร้อมอย่างต่อเนื่องเพราะพัฒนางานวิจัยมา ตลอดการนำนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เนื่องจากเพื่อให้เอกชนสามารถนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ตลาดไม่แตกต่างและ โดดเด่น ไม่เพิ่มมูลค่าธุรกิจได้ โดยแต่ละปีจะมีเอกชนร่วมมือกับตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริง ทำสวทช.ผลิตงานวิจัยออกสู่ตลาดได้ประมาณ 100 ให้สินค้าไม่ได้รับความนิยม เพราะบางรายสามารถบริษัท และมีงานวิจัยมากกว่า 1,000 ผลงานเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้แตกต่างจากรายอื่นประมาณสามารถนำไปพัฒนาได้ 20-30% เท่านั้น แต่สินค้าที่จะได้รับความนิยมสูงนอกจากนี้ สวทช.ยังได้วางแผนงานระยะยาวจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ 500% หรือเป็นระหว่างปี 2555-2559 ในการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อสินค้าที่สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ทันที เมื่อผู้เศรษฐกิจ ภาคอุตสาหกรรม และภาคการเกษตรของบริโภคได้เห็นสินค้าและใช้สินค้าแล้วประเทศมากที่สุด โดยต้องเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้สิ่งสำคัญอีกด้าน คือ ควรปลูกฝังค่านิยมให้คนได้ 3 เท่าของวงเงินงบประมาณที่ได้รับจากภาครัฐไทยหันมาใช้สินค้าไทย ผลิตในประเทศ คิดค้นโดยกระตุ้นให้เอกชนไทยลงทุนนวัตกรรมและงานวิจัยคนไทย เพราะอุปสรรคที่สำคัญของสินค้าไทย คือเพิ่มขึ้น 2 เท่า จากปัจจุบันงบประมาณที่ได้รับจากผลิตขายในประเทศไม่ได้ ต้องไปขายในตลาดต่างรัฐอยู่ที่ 3,000 ล้านบาท แต่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มประเทศแทนดังนั้นการเปลี่ยนค่านิยมของคนไทยจะให้ แก่เศรษฐกิจและเอกชนได้ถึง 2.8 หมื่นล้านบาทต้องร่วมมือพร้อมกันทั้งประเทศ รวมทั้งควรใช้ต้นเอสเอ็มอีรายใดที่ยังมองหาโอกาสแจ้งเกิด แต่แบบจากต่างประเทศ คือ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ คนในยังไม่มีตัวช่วย สวทช.น่าจะเป็นทางเลือกที่ไม่ควรชาติให้ความสำคัญกับแบรนด์ในประเทศสูงสุด มองข้ามอย่างยิ่งในชั่วโมงนี้ nผู้ประกอบการให้กลับมาเข้มแข็งและเดินหน้าทำธุรกิจต่อไป โดยจะทำเอ็มโอยูร่วมกับสถาบันการศึกษา จัดอบรมสัมมนา พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร่วมกับสำนักงานเสริมสร้างสุขภาวะแห่งชาติ (สสส.) เรียกจิตวิญญาณของเถ้าแก่ให้กลับคืนมา เพราะคนเหล่านี้จะไม่ยอมเพ็ญทิพย์ พรจะเด็ด แพ้ในการทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จ ขณะที่ภาพรวมธุรกิจเอสเอ็มอีที่มาร่วมกันหามาตรการแก้ไขอย่างถูกต้องแรงในปี นี้ 5 อันดับได้แก่ 1.กลุ่มสุขภาพ”ผู้ประกอบการที่เดือดร้อนจริงมี ไม่และความงาม 2.กลุ่มเทคโนโลยี โดย
ขณะที่ผู้นำเชิงนโยบายของอาเซียนกำลังเน้นภาพการเป็นตลาดเดียวของอาเซียน เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากนอกภูมิภาคเข้ามาลงทุนเพื่อใช้ประโยชน์จากการเป็น ตลาดเดียว แต่ SMEs ส่วนใหญ่ของประเทศไทยมิได้ผลิตสินค้าเพื่อครองตลาดMass แบบบริษัทข้ามชาติรายใหญ่ ตรงกันข้าม SMEs ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง และ SMEs เหล่านี้กำลังพบว่า ตลาดในอาเซียนมีความหลากหลายแตกต่างกันออกไป มิใช่แค่เป็นตลาด 10 ประเทศ ในแต่ละประเทศอาเซียนพฤติกรรมผู้บริโภคยังสามารถแบ่งออกได้เป็นผู้บริโภคที่ มีเชื้อสายจีน ผู้บริโภคที่เป็นมุสลิม และผู้บริโภคที่มีรสนิยมสู่ความเป็นสากลแล้ว
ในขณะที่บริษัทข้ามชาติต่างมีงบประมาณมหาศาลทำการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ก่อนที่จะออกตัวสินค้าใหม่ๆ ในอาเซียน แต่ผู้ประกอบการ SMEs ไทย มิได้มีกำลังหรือเงินทุนที่จะทำการวิจัยศึกษา ดังนั้นในปีงบประมาณ 2555 สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จึงได้ดำเนินงานกิจกรรมศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศอาเซียน +6 ขึ้น โดยทำการศึกษาและเลือกสินค้า SMEs ที่มีศักยภาพของไทยใน 3 สาขาอุตสาหกรรม ได้แก่อาหาร เครื่องนุ่งห่มและเครื่องประดับเพื่อทำการศึกษาต่อยอดเกี่ยวกับแนวโน้มผู้ บริโภคกับศักยภาพในการทำตลาดในประเทศอาเซียน +6 โดยได้เลือกกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียเมืองเซี่ยงไฮ้และเมืองเทียนสิน ประเทศจีน เป็นพื้นที่ทำการศึกษา
จากการได้เข้าไปศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในพื้นที่ดังกล่าว พบความคล้ายคลึงและแตกต่างที่น่าสนใจของปัจจัยทางด้านค่านิยมของสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อท้องถิ่น รวมถึงความศรัทธาในการเลือกอุปโภคบริโภคในหลายแง่มุม อาทิประชากรมุสลิมในมาเลเซียและอินโดนีเซีย ทั้งที่เป็นมุสลิมเหมือนกัน แต่กลับมีรสนิยมในการบริโภคแตกต่างกันออกไป มุสลิมในมาเลเซียมีลักษณะอนุรักษนิยมและยึดมั่นในจารีตประเพณีแบบมุสลิม มากกว่าในอินโดนีเซีย ซึ่งชาวมุสลิมเลียนแบบพฤติกรรมผู้บริโภคที่เป็นกระแสหลักของโลกมากกว่า
ตัวอย่างเช่น ชาวมุสลิมในประเทศมาเลเซียมีความเคร่งครัดต่อการแต่งกายตามข้อห้ามของศาสนา ที่เรียกกันว่า “ออรัต (Aurat)” ซึ่งมีข้อห้ามนำสัตว์เข้ามาในพิธีกรรมทางศาสนา ห้ามนำรูปสัตว์ใหญ่มาตกแต่งร่างกาย และขณะทำพิธีทางศาสนา ชายมาเลย์ชาวมุสลิมจะไม่นิยมใส่ผ้าไหม เพราะทำจากสัตว์ในขณะที่ผู้ประกอบการไทยเข้าใจว่าตลาดเสื้อผ้าไหมน่าจะไปได้ ดีในมาเลเซียและยังพบว่าชาวมุสลิมในมาเลเซียถือปฏิบัติต่อการบริโภคอาหาร “ฮาลาล”อย่างชัดเจน พูดตรงตามความหมาย คือ ถ้าผู้ประกอบการสาขาอาหารของไทยต้องการจะส่งออกสินค้าไปค้าขายทำตลาดกับชาว มุสลิมที่ประเทศมาเลเซีย จะต้องมีตรา “ฮาลาล” ไม่งั้นขายมุสลิมในประเทศมาเลเซียไม่ได้แน่ ซึ่งกลับแตกต่างจากชาวมุสลิมในอินโดนีเซีย ประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในอาเซียน แต่จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างมุสลิมพบว่า ไม่เคร่งครัดในหลักปฏิบัติเท่ากับในมาเลเซีย นั่นคือ ชาวมุสลิมที่อินโดนีเซียสามารถเลือกรับประทานอาหารตามความพอใจ โดยอาจจะมีหรือไม่มีสัญลักษณ์ฮาลาลอยู่เลยก็ได้
ตามข้อสังเกตนี้ หากเรามองเปรียบเทียบขนาดของตลาดสินค้าอาหารและเสื้อสำหรับชาวมุสลิมแล้ว การเข้าทำตลาดในประเทศอินโดนีเซียก็ดูจะง่ายกว่าการเข้าสู่ตลาดในประเทศ มาเลเซียอยู่ไม่น้อย
งานศึกษาของ สสว. ยังพบว่าประชากรอาเซียนเชื้อสายจีน ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศมาเลเซีย หรืออินโดนีเซีย รวมทั้งในประเทศจีน ล้วนมีรสนิยมในการแต่งกายคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ นิยมเสื้อผ้าคุณภาพดี สีสันออกโทนสว่าง นิยมสินค้า Brand Name รวมไปถึงความคล้ายคลึงของอุปนิสัยในการรับประทานอาหาร ที่แม้จะนิยมรับประทานอาหารจีนเป็นหลัก แต่ก็ไม่ทิ้งรสนิยมในสรรหาอาหารต่างชาติมาลิ้มลอง ซึ่งอาหารไทยเองก็ครองใจคนจีนในกลุ่มประเทศเหล่านี้ได้พอสมควร เรียกได้ว่ามีรสนิยมเหมือนชาวจีนในบ้านเราเลย
ประเด็นนี้น่าสนใจอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบการสาขา อาหารของไทย เพราะหากพิจารณาถึงจำนวนประชากรคนจีนเปรียบเทียบกันแล้ว การทำตลาดกับผู้บริโภคชาวจีนในประเทศแผ่นดินแม่ดูอาจจะมีภาษีมากกว่าอย่าง เห็นได้ชัด เนื่องด้วยขนาดตลาดผู้บริโภคที่มีถึงกว่า1,200 ล้านคน เรียกว่ามากมายมหาศาลกว่าตลาดคนจีนในอาเซียนรวมกัน
ประเด็นนี้ที่ได้จากการศึกษาเหล่านี้ คงเป็นข้อให้ผู้ประกอบการไทยต้องกลับมาตั้งโจทย์ถามตัวเองก่อนว่า หากต้องการทำการตลาดนั้น การเลือกระหว่างตลาดอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ หรือตลาดขนาดใหญ่แห่งอื่นอาทิ ตลาดของประเทศจีน ตลาดของชาวมุสลิมที่ตุรกี หรือทางตะวันออกกลาง ตลาดไหนที่จะเหมาะสมกับสินค้าของตน และมีลู่ทางในการเข้าทำตลาดมากกว่ากัน
แหล่งที่มา : ดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ, หนึ่งตลาด ร้อยพฤติกรรม (1). สสว. Tips. โพสต์ทูเดย์. ฉบับวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556.– ( 160 Views)