magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก นอร์ทเทิร์น ฟูดวัลเลย์มากกว่าคลัสเตอร์แต่ไม่เจอ ‘หุบเขา’
formats

นอร์ทเทิร์น ฟูดวัลเลย์มากกว่าคลัสเตอร์แต่ไม่เจอ ‘หุบเขา’

เทรนด์ที่หลายคนบอกว่ากำลังมาถูกทางคือ “การจับกลุ่ม” โดยหลายภาคส่วน เพื่อให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยสรุปให้ฟังดูเข้าใจง่ายก็คือ การรวมกลุ่มของกลุ่มผู้ประกอบการ นักวิชาการ เทคโนโลยี เงินทุน ภาครัฐมารุมกัน ช่วยกันให้เกิดการพัฒนาในทุกส่วน เกิดการสร้างเน็ตเวิร์ก ช่วยเหลือกันในกลุ่ม และอาจจะต่อเนื่องเชื่อมโยงจากกลุ่มหนึ่งไปอีกกลุ่มหนึ่งด้วย

รูปแบบของ ไทยแลนด์ ฟูดวัลเลย์ “หุบเขาอาหาร” ก็เป็นหลักการเดียวกัน แต่จะออกมาหน้าตาเป็นแบบไหน อย่างไร ตอนนี้ บอกเลยว่าสองปีที่มีการพูดถึง ใครขับเคลื่อน ใครเจ้าภาพ จะเริ่มเมื่อไหร่ จนถึงจุดนี้ยังไม่เห็นภาพชัดเจน มีแต่การพูดว่าจะกระจายไปในสี่ภาค แต่สำหรับภาคเหนือเป็นภาคแรกที่มีความพร้อมมากที่สุดและกำลังเกิดการขยับ ในกลุ่มแบบไม่รอใคร          แต่จะว่าเป็นฟูดวัลเลย์หรือเปล่านั้น วันนี้ยังไม่ถึง
เกิดแล้ว เน็ตเวิร์ก
น.ส.ปิยะฉัตร ใคร้วานิช รักษาการ ผู้อำนวยการ สวทช.ภาคเหนือ กล่าวว่า ตอนนี้นอร์ทเทิร์น ฟูดวัลเลย์ ยังไม่ชัด เพราะอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ในบทบาทของ สวทช.ภาคเหนือ ได้เข้าไปสนับสนุนให้เกิดการสร้างเน็ตเวิร์กในกลุ่ม เช่น หน่วยงาน itap (โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย) เข้าไปพัฒนากลุ่มเกษตรแปรรูป เช่น น้ำตาลลำไย ซึ่งจะโยงกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ตอนบน หรือกับมหาวิทยาลัยในแถบภาคเหนือในการกำหนดทิศทางการให้ทุนกับงานวิจัยด้าน อาหาร เช่นเรื่องอาหารปลอดภัย การพัฒนาร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรมภาคเอกชน เช่น โครงการน้ำมะม่วงน้ำดอกไม้เข้มข้น โครงการผลิตภัณฑ์เยลลี่ลำไยเสาวรส ฯลฯ

และที่มีการทำบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU กับ PUM Netherlands Senior Experts ในการนำที่ปรึกษาเข้ามาให้คำปรึกษากับภาคเอกชน รวมทั้งเตรียมที่จะจัดตั้งคอมมานด์เซ็นเตอร์  (Command Center) มีการบริหารจัดการรูปแบบ

ของคณะกรรมการจากกลุ่ม
ผู้ประกอบการในสภาอุตสาหกรรมราว 10 ราย และกลุ่มอาจารย์ที่จะเข้ามาขับเคลื่อน จะเห็นเป็นรูปธรรม
ในเดือนกันยายน 2556 นี้
ปัญหาเอกชน-นักวิจัย
ไม่มีใครอยากสูญเสีย
นายชัดชาญ เอกชัย พัฒนกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดเชียงใหม่ มองว่า การเกิดนอร์ทเทิร์น ฟูดวัลเลย์ ความจริงการสร้างเน็ตเวิร์กมีมานานแล้ว แต่ช่องว่างระหว่างนักวิชาการและภาคเอกชน ค่อนข้างสูงในหลายกรณี

“นักวิจัยมีความรู้มาก แต่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ งานวิจัยจำนวนมากที่อยู่บนหิ้ง อยากให้ภาครัฐมองเสียใหม่ว่าการที่ภาคเอกชน ซึ่งในภาคเหนือเป็นรายย่อยนำงานวิจัยมาใช้ ต้องมาพัฒนาต่อ ซึ่งงานวิจัยไม่ใช่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เปิดแล้วเทน้ำร้อนกินได้เลย ผู้ประกอบการรายย่อย ทุนต่ำเองมีความสูญเสีย รัฐต้องสนับสนุนให้เขานำงานวิจัยไปใช้ ซึ่งหากเขาขาดทุน การจะหาเงินมาเริ่มต้นใหม่นั้นยาก

นอกจากนี้ ในเรื่องของการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยมาใช้นั้น เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ภาคเอกชนหันมาพัฒนามากขึ้น

“ที่ผ่านมารายย่อยเห็นเครื่องมือรัฐ แต่นำมาใช้ไม่ได้ เพราะมีผลกลไกมากมาย ที่ทำให้ชาวบ้านเข้าไม่ถึง ยกตัวอย่าง มหาวิทยาลัยมีเครื่องมือสเปรย์ดราย เครื่องอบแห้งชนิดพ่นฝอย ใช้ในการแปรรูปอาหาร เช่น การเปลี่ยนเมล็ดกาแฟเป็นกาแฟผง หรือกลุ่มโอท็อปทำน้ำขิงผง น้ำเก๊กฮวย ซึ่งต้องใช้น้ำตาลเป็นตัวช่วยให้เกิดเป็นผงขึ้นมา คนที่เป็นเบาหวานทานไม่ได้ ถ้าชาวบ้านได้มา ทดลองใช้อุปกรณ์ทำออกมาจำหน่ายก่อน พอทำได้มีตลาด ขยายกำลังการผลิตได้ ก็สามารถที่จะเอามาเป็นโปรไฟล์ยื่นขอกู้เงินจากสถาบันการเงินต่อไป แต่การที่จะให้ลงทุนไปก่อน ชาวบ้านไม่มีทุนพอ”

ปัญหาก็คือ การร่วมกับมหาวิทยาลัยในการเซ็น “เอ็มโอยู” ทางมหาวิทยาลัยเพื่อนำเอาเครื่องมือในมหาวิทยาลัยมาใช้ระบุด้วยว่า หากเกิดความผิดพลาด สภาอุตสาหกรรมต้องรับผิดชอบ ตรงนี้ทำให้หน่วยงานภาครัฐ มหาวิทยาลัย ภาคเอกชน เดินต่อไปไม่ได้ “เราคว่ำกระดาษทันที” กรณีของการทำงานร่วมกับชาวบ้าน นักศึกษาที่เรียนเรื่องฟู้ดไซน์ การตลาด ก็จะได้ใช้โจทย์จริง และพัฒนาไปด้วยกัน

กสอ.เตรียมคลอดเว็บฟูดวัลเลย์
ความคืบหน้าภายใต้โครงสร้างใหญ่ไทยแลนด์ ฟูดวัลเลย์ โดยสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กำลังจัดทำเว็บไซต์ไทยแลนด์ ฟูดวัลเลย์ ซึ่งจะรวบรวมทั้งงานวิจัย รวมเน็ตเวิร์กของมหาวิทยาลัย จากทั้ง 4 ภาค เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันอาหาร  iTAP และ หน่วยงานที่เกี่ยวเนื่องกับการวิจัยพัฒนา โดยมีสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป เป็นผู้ดูแล

ซึ่งรูปแบบจะเป็นการเปิดให้เอกชน เข้าไปใช้ข้อมูลจากงานวิจัยแบบทูเวย์ ที่สามารถโต้ตอบข้อมูลกลับไปหาผู้ที่เข้ามาติดต่อได้ด้วย โดยคาดว่าจะเสร็จภายในกลางปีนี้

นอร์ทเทิร์น ฟูดวัลเลย์ เป็นโมเดลแรก ที่ตัดสินใจทำเลย โดยไม่รอความพร้อม ของภาครัฐ และการรวมกลุ่มครั้งนี้ เป็นความเคลื่อนไหวที่น่าจับตามองว่าจะมีการขยายผลเป็นฟูดวัลเลย์แรกของไทย ได้หรือไม่

โครงการพื้นที่เศรษฐกิจนวัตกรรมอาหารภาคเหนือ
โครงการพื้นที่เศรษฐกิจนวัตกรรมอาหารภาคเหนือ หรือ Northern Thailand Food Valley คือพื้นที่สำหรับพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมอาหารที่เป็นรูปธรรม มีการผลิตอาหารที่ดี มีคุณภาพ ปลอดภัย และมีคุณค่า รูปลักษณ์ที่สอดคล้องกับความต้องการ ของผู้บริโภค โดยจัดให้มีความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจ สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย ซึ่งมุ่งให้มีการนำเอาองค์ความรู้ที่เกิดจากการพัฒนาและการค้นคว้าวิจัยไป สู่การผลิต ต่อยอด และสร้างมูลค่าใหม่ทางเศรษฐกิจ

จุดเด่นหลักของ Northern Thailand Food Valley คือ มีการจัดการอย่าง
เป็นระบบ และมีเครือข่ายความร่วมมือ ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ดังนี้
1.1 Northern Thailand Food Valley มีกลไกในการบริหารจัดการที่เป็นอิสระอยู่ในรูปแบบของนิติบุคคลตามกฎหมายของ ไทย เพื่อให้เกิดความคล่องตัว สามารถรับงบประมาณสนับสนุนจากหลายฝ่ายทั้งบริษัทไทย บริษัทข้ามชาติ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เทศบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัด และรัฐบาล

1.2 Northern Thailand Food Valley มีเครื่องมือสนับสนุนการจัดตั้งบริษัทเกิดใหม่ (Start-Up) และการจัดตั้งธุรกิจโดยนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงการสนับสนุนการตั้งถิ่นที่อยู่ของนักลงทุนและผู้เชี่ยวชาญใน อุตสาหกรรมอาหารด้วย

1.3 Northern Thailand Food Valley  สร้างเครือข่ายพัฒนานวัตกรรมกับ 3 มหาวิทยาลัยหลัก (Chiang Mai innovation corridor) คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา และเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัย ชั้นนำของประเทศและของโลก ครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนาและสร้างบุคลากร การวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม เพื่อให้เป็นเครือข่ายที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร มีการนำไปสู่การปฏิบัติ และสามารถสร้างความเชื่อมโยงไปสู่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมได้จริง

รายการอ้างอิง :

นอร์ทเทิร์น ฟูดวัลเลย์มากกว่าคลัสเตอร์แต่ไม่เจอ ‘หุบเขา’. ประชาชาติธุรกิจ. ฉบับวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556.– ( 155 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


6 + eight =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>