magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home S&T Stories ระบบเตือนภัยอุกกาบาตถล่มโลก
formats

ระบบเตือนภัยอุกกาบาตถล่มโลก

เกิดกระแสตื่นตัวไปทั่ว ทั้งสำนักงานบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (นาซา)  มหาวิทยาลัยและองค์กรเอกชนในอเมริกากำลังทำงานเพื่อระบบเตือนภัยอุกกาบาตที่ สามารถตรวจจับวัตถุต่าง ๆ จากอวกาศ เหมือนอย่างอุกกาบาตที่ตกในแถบเทือกเขายูราลของรัสเซีย เมื่อวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมา จนทำให้มีคนบาดเจ็บกว่า 1,000 ราย และกระจกหน้าต่างแตกกระจาย เพราะคลื่นเสียงที่ดังสนั่นหวั่นไหวเหมือนโซนิค บูม (ความเร็วเหนือเสียง) ของอุกกาบาตที่วิ่งผ่านชั้นบรรยากาศโลก
แต่นาซากล่าวย้ำว่า เหตุการณ์ในเทือกเขายูราลไม่เกิดขึ้นบ่อย  พอล โชดาส  เจ้าหน้าที่สำนักงานโครงการวัตถุใกล้โลกของนาซาที่ห้องปฏิบัติการทดลองใน เมืองพาซาดีนา รัฐแคลิฟอร์เนีย กล่าวคาดหมายว่า เหตุการณ์ที่อุกกาบาตถล่มรัสเซียจะเกิดขึ้นทุก ๆ 100 ปีโดยเฉลี่ยนาซา ประมาณการณ์ว่า ก่อนที่อุกกาบาตจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกที่บริเวณเหนือประเทศรัส เซีย อุกกา บาตลูกนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 17 เมตร และมีน้ำหนัก 10 ตัน สะเก็ดที่แตกกระจายของอุกกาบาตก็มาจากการระเบิดอย่างรุนแรง มีอานุภาพเทียบเท่าระเบิดทีเอ็นทีขนาด 500,000 ตัน

วันเดียวกันนั้น  อุกกาบาตอีกลูกซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 45 เมตร และถูกตั้งชื่อว่า “2012 DA 14”  ได้เคลื่อนตัวผ่านโลก แต่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร เพราะอุกกาบาตลูกนี้แค่วิ่งเฉียดโลกเท่านั้น  แต่ประเด็นอยู่ตรงที่ว่า ถ้าอุกกาบาต “2012 DA 14” พุ่งชนโลก มันจะทำลายเมืองใหญ่จนสิ้นซาก ซึ่งน่ากลัวกว่าอุกกาบาตตกในรัสเซียเสียอีก

ลินด์ซีย์ จอห์นสัน   ผู้จัดการโครงการวัตถุใกล้โลก (เอ็นอีโอ) ของนาซาบอกว่า เมื่อ 10 ปีก่อน นาซาไม่สามารถตรวจพบ “2012 DA 14” แต่นาซาสร้างกระบวนการเรียนรู้วิธีค้นหาดาวเคราะห์น้อย  จอห์นสันกล่าวอีกว่า  มีวัตถุต่าง ๆ มากมายที่เคลื่อนตัวอยู่รอบ ๆ ใกล้โลกของเราประมาณครึ่งล้าน และเป็นเรื่องยากในการติดตาม เพราะดาวเคราะห์พวกนี้มีขนาดเล็ก  และเพื่อให้สอดคล้องต่อเป้าหมายที่สภาคองเกรสกำหนดไว้ในปี พ.ศ.  2541 นาซาได้ค้นพบและจัดเก็บรายชื่อดาวเคราะห์ประมาณร้อยละ 95 ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 กิโลเมตรหรือเกินกว่านั้น ซึ่งอยู่ในวงโคจรรอบดาวอาทิตย์ของโลกและอาจเป็นตัวการสร้างความหายนะครั้ง ใหญ่

โครงการวัตถุใกล้โลกที่ปัจจุบันนาซายังคงติดตามและค้นหาอุกกาบาตกับดาวหาง ที่เฉียดโลก ด้วยกล้องโทรทรรศน์ที่ส่งเข้าสู่วงโคจรและที่อยู่บนพื้นโลก ทำให้บรรดานักวิทยาศาสตร์สามารถประเมินได้ว่า วัตถุนอกโลกที่เคลื่อนตัวเข้ามาใกล้เป็นภัยอันตรายต่อโลกของเราหรือไม่ ด้วยระบบนี้กล้องโทรทรรศน์ที่ชื่อว่า อาเรซิโบ เรดิโอ เทเลสโคป ในเปอร์โตริโก ซึ่งมีเสาอากาศขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 305 เมตร  สามารถเฝ้าดูความเคลื่อนไหวบนท้องฟ้าได้ถึง 1 ใน 3 และตรวจหาอุกกาบาตที่มีขนาดใหญ่

หอดูดาวที่สร้างขึ้นหลายแห่งทั่วโลกทั้งหมด จะส่งข้อมูลไปยังไมเนอร์ แพลเน็ต เซ็นเตอร์  ที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากนาซา และดำเนินการโดยหอสังเกตการณ์ดาราฟิสิกส์สมิธโซเนียน เพื่อสหภาพดาราศาสตร์ระหว่างประเทศในกรุงปารีสของฝรั่งเศส แต่ในช่วงเวลาที่งบประมาณตึงตัวเช่นนี้ ทำให้นาซากำลังพยายามพัฒนาระบบติดตามวัตถุขนาดเล็กในอวกาศ  โครงการนี้ใช้งบประมาณ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 150 ล้านบาท อยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาวายมีชื่อเรียกว่า แอทลาส (Asteroid Terrestrial-Impact Alert System )

คณะนักวิจัยบอกว่า แอทลาส ซึ่งเฝ้าสังเกตท้องฟ้าทุกคืน  จะสามารถตรวจหาวัตถุนอกโลกที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 45 เมตร
ได้ล่วงหน้าเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ก่อนที่อุกกาบาตจะพุ่งชนโลก   ส่วนอุกกาบาตที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 150 เมตร ระบบตรวจจับ ซึ่งจะใช้การได้ในปลายปี พ.ศ. 2558 จะบอกล่วงหน้า 3 สัปดาห์

จอห์น ทอนรี  ผู้เชี่ยวชาญของแอทลาสกล่าวว่า เป้าหมาย คือ การค้นหาวัตถุนอกโลก และเตือนภัยล่วงหน้าในเวลาที่เพียงพอจะช่วยปกป้องชีวิตผู้คนบนโลก อีกทั้งยังให้เวลาในการอพยพประชาชน การหามาตรการปกป้องอาคารบ้านเรือนและระบบสาธารณูปโภค ตลอดจนเฝ้าระวังคลื่นยักษ์สึนามิจากการที่อุกกาบาตตกในมหาสมุทร ระบบดังกล่าวมีความไวอย่างมาก ยกตัวอย่าง เช่น สามารถตรวจหาไม้ขีดไฟที่ลุกโชนในนครนิวยอร์ก และสามารถมองเห็นได้
จากระบบตรวจหาแม้อยู่ไกลถึงนครซานฟรานซิสโกของรัฐแคลิฟอร์เนีย

แต่ความพยายามของนาซานั้น อดีตมนุษย์อวกาศสหรัฐหลายคนเชื่อว่ายังไม่เพียงพอ ทำให้กลุ่มนักวิทยาศาสตร์กำลังดำเนินการสร้างกล้องโทรทรรศน์เอกชนครั้งแรก เพื่อค้นหาและติดตามอุกกาบาต เพื่อปกป้องมวลมนุษยชาติ องค์กรนี้มีชื่อว่า บี 612 กำลังพยายามระดมเงินทุน 450 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 13,500 ล้านบาท เพื่อสร้างและติดตั้งกล้องโทรทรรศน์อวกาศในวงโคจรรอบดาวอาทิตย์ ด้วยระยะห่างจากโลก 273 ล้านกิโลเมตร เพื่อตรวจจับวัตถุต่าง ๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นได้   หลังจากที่โลกมีระบบเตือนภัยคลื่นยักษ์สึนามิ คราวนี้ก็ถึงเวลาของระบบเตือนภัยอุกกาบาตกันแล้ว.

รายการอ้างอิง :
วิษณุ ศิริอาชารุ่งโรจน์. ระบบเตือนภัยอุกกาบาตถล่มโลก. เดลินิวส์. วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2556.

– ( 108 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


nine × = 9

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>