magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก คุมเข้มความเสี่ยงของรถตู้
formats

คุมเข้มความเสี่ยงของรถตู้

มาต่อข้อมูลจากศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน เรื่อง รถตู้ประจำทาง อุบัติเหตุที่ซ้ำซาก.. จากเหตุสุดวิสัย หรือ ความไม่ใส่ใจของนโยบาย

รถตู้ประจำทางมีความจำเป็นต้องเร่งด่วน ที่ต้องกำหนดให้มีมาตรการควบคุมความเร็วและคุมเข้มความเสี่ยงต่าง ๆ ให้เป็นรูปธรรม เพราะมีองค์ประกอบที่เอื้อต่อการเกิดอุบัติเหตุ และความสูญเสียได้สูงกว่ารถบัสประจำทาง ได้แก่          รถตู้ประจำทาง ดัดแปลงสภาพ โดยเพิ่มจากที่นั่งปกติ 10 ที่นั่ง เป็น 14-15 ที่นั่ง พร้อมทั้งการติดตั้งถังแก๊ส (NGV หรือ LPG) อีก 2 ถัง ทำให้มีน้ำหนักของรถรวมถึง 3,350 กิโลกรัม เพิ่มจากประเภทที่ไม่ได้ดัดแปลงประมาณ 400 กิโลกรัม (ยังไม่รวมน้ำหนัก สัมภาระของผู้โดยสาร และ บางเส้นทางมีการยืนของผู้โดยสารร่วมด้วย)

น้ำหนักส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นของตัวรถตู้จากการดัดแปลงนั้นอยู่ที่ส่วนท้าย ของรถซึ่งเป็นตำแหน่งของการติดตั้งเชื้อเพลิง ทำให้สัดส่วนการกระจายน้ำหนักหรือแรงกดของเพลาหน้าและเพลาท้ายต่างจากสภาพ เดิมของรถ จึงทำให้สัดส่วนแรงกดที่ล้อหน้าทั้งสองล้อต่อน้ำหนักรวมจะลดลงไปกว่าเดิม ในขณะที่แรงกดที่ล้อหลังจะเพิ่มขึ้น จะมีผลกระทบต่อความปลอดภัย รวมถึงสมรรถนะของรถในการออกตัว การเร่ง การเปลี่ยนช่องทาง หรือการเบรก ทั้งทางตรงและทางโค้ง (ข้อมูล : ดร.สราวุฒิ เลิศพลังสันติ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ MTEC)

รถตู้ประจำทาง มีการแข่งขันสูง และ การต้องทำรอบ ในการขนส่ง จึงจะคุ้มทุน ข้อมูลจาก TDRI พบว่า รถตู้ประจำทาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 72 ต่อปี เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยม จากคนเดินทาง ประกอบกับปัจจัยด้านนโยบายที่เอื้อให้เจ้าของรถทะเบียนรถโดยสารประจำทาง สามารถนำรถ 1 คันมาแลกเป็นทะเบียนรถตู้ได้ 3 คัน ส่งผลให้รถบัสสาธารณะประจำทาง ในเส้นทางปริมณฑล เกือบทั้งหมด เปลี่ยนเป็นรถตู้ แทน

ตัวเลข รถตู้ประจำทาง ที่จดทะเบียน เพิ่มจาก 3,230 คันในปี 2549 เป็น 17,597 คันในปี 2553 (ปัจจุบัน มีรถตู้ประจำทาง ประมาณ 20,000 คัน) ผลจากการเพิ่มจำนวน ทำให้เกิดการแข่งขัน ประกอบกับ ค่าใช้จ่ายในการผ่อนส่งค่ารถ ซึ่งอยู่ระหว่าง 1,500-2,200 บาท/วัน (ไม่รวมค่าวิน) ทำให้เจ้าของรถ ต้องเร่งทำรอบการวิ่งมากขึ้นในแต่ละวัน จึงจะคุ้มทุน ส่งผลให้คนขับต้องขับเร็ว ขับแซงปาดซ้ายขวา เพื่อเร่งทำเวลา ผลกระทบคือ อ่อนล้าและหลับใน

รายการอ้างอิง :
คุมเข้มความเสี่ยงของรถตู้. เดลินิวส์ (กรอบบ่าย- เดินหน้าเลี้ยวซ้าย). ฉบับวันที่ 07 มีนาคม พ.ศ. 2556.– ( 67 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


+ 3 = eight

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>