จากที่ได้รับรู้ถึงคุณสมบัติของ “เส้นใยจากต้นนุ่น” เมื่อนำมาถักทอเป็นผ้าจะได้เนื้อผ้าที่อ่อนนุ่ม แถมมีคุณสมบัติพิเศษมากมาย เช่น กันความชื้น แห้งเร็ว เบา ลอยน้ำ ซับน้ำมัน เป็นฉนวนความร้อน ป้องกันเชื้อราและไรฝุ่น ซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้ที่เป็นภูมิแพ้ ที่สำคัญเป็นพืชยืนต้นสามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ ไม่ต้องอาศัยปุ๋ยเคมีและยา กำจัดศัตรูพืช จึงสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ผลิตผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ เลือกพัฒนาเส้นใยที่ทำมาจากนุ่น
ใยนุ่นใช้ทำหมอน ฟูก ผ้าห่ม มาเป็น 1,000 ปี แต่ต่อมาถูกแทนที่จากใยสังเคราะห์และโฟม โดยหารู้ไม่ว่าคุณสมบัติตามธรรมชาติของนุ่น สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ได้มหาศาล จนอาจเรียกได้ว่าเป็นเส้นใยที่มีอนาคตของประเทศไทย :อุ่นกายไม่ทาร้ายกัน
“คุณสมบัติเด่นของนุ่นคือเก็บความอุ่นดี และเมื่อศึกษาลึกเข้าลงไปอีกก็พบว่า เส้นใยนุ่นเป็นท่อปลายปิด มีน้ำหนักเบากว่าฝ้าย 8 เท่า ไม่ซับน้ำ แต่ซับน้ำมัน ซึ่ง เหมาะกับผ้าซับมันของสุภาพสตรีนอกจากนี้ นุ่นมีคุณสมบัติการไม่ซับน้ำ ทำให้สามารถกันน้ำได้ โดยไม่ต้องใช้สารเคมี จึงไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญเป็นพืชยืนต้นที่ให้ผล ผลิตยาวนาน 100 ปีโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยหรือยาฆ่าแมลง” บัณฑิตพงศาโรจนวิทย์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยนำโชคเท็กซ์ไทล์ จำกัด กล่าว 3 ปีที่ผ่านมา บัณฑิตและทีมงานร่วมกับสถาบัน
พัฒนาสิ่งทอ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และอีกหลายๆ หน่วยงานของภาครัฐ พัฒนาเส้นใยธรรมชาติ ยกตัวอย่างผลงานล่าสุดเส้นใยผสมนุ่นกับฝ้าย สามารถพัฒนาคุณสมบัติเรื่องของการเก็บความอุ่น กันน้ำได้ ซึ่งเกิดจากเส้นด้ายที่ผสมระหว่างใย ฝ้ายกับใยนุ่น ที่ปั่นด้วยเครื่องปั่นด้ายชนิดพิเศษ
จากการศึกษาพบว่า ผ้าที่มีนุ่นผสมอยู่ 20% เทียบกับผ้าโครงสร้างเดียวกัน น้ำหนักเท่ากัน จะมีคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่าผ้าที่ทำมาจาก ฝ้าย ลินิน ไหมและสามารถ ทดแทนขนเป็ด หรือขนสัตว์แคสเมีย ที่มีราคาสูงได้
“ความโดดเด่นตรงนี้ ทำให้ผ้าทอจากใยนุ่นผสมฝ้ายกลายเป็นวัตถุดิบที่ได้ความนิยมเพิ่มขึ้น ทั้งในญี่ปุ่น ยุโรป และถูกนำไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เพราะตอบโจทย์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม”:ธรรมชาติคืออนาคต
บัณฑิต กล่าวว่า จากแนวคิดธรรมชาติคืออนาคต โดยนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาผนวกเข้ากับความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ตั้งแต่การนำวัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติมาปั่นเป็นเส้นด้ายทอผ้า ค้นหาสีย้อมจากธรรมชาติ ไปจนถึงการสร้างเครื่องจักรเพื่อใช้ปั่นด้ายทดแทนแรงงานคน สร้างเป็นต้นแบบการผลิตผ้าทอที่ไม่ผ่านกระบวนการฟอกย้อม ซึ่งใช้ทั้งสารเคมี สีสังเคราะห์ รวมถึงพลังงานที่สิ้นเปลืองในกระบวนการฟอกย้อมอย่างต่อเนื่อง “จากพื้นฐานที่เป็นโรงงานปั่นด้ายกับทอผ้า ขายเส้นด้ายและผ้าทอทั้งในและต่างประเทศ พบว่า สภาพการแข่งขันสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ เราพยายามมองหาจุดเด่นและสร้างจุดขายเข้าไปในตลาดเฉพาะกลุ่ม การพัฒนาเส้นใยจากธรรมชาติเป็นทางรอดให้เราสามารถแข่งขัน ไม่ต้องเป็นกังวลกับมาตรการกีดกันทางการค้าที่เกี่ยวกับสารเคมี” เขากล่าว
ปัจจุบันเส้นด้ายและผ้าทอจากเส้นใยธรรมชาติ ส่งออกไปขายทั้งในญี่ปุ่นและยุโรปเพิ่มขึ้นทุกปี และใน 5ปี ข้างหน้า ไทยนำโชคเท็กซ์ไทล์วางแผนที่จะนำเส้นใย ธรรมชาติเหล่านี้มาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ผ้าขนหนู และเสื้อยืดในชื่อแบรนด์ของตัวเอง
บัณฑิตให้ความสำคัญกับสิ่งที่ไม่มีใครทำ แทนการลงทุนเครื่องจักร โดยเริ่มต้นทางจากวัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติ ซึ่งประเทศไทยมีความได้เปรียบต่างประเทศ เพราะมีหลากหลาย แต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่ดีอยู่ในตัว ไม่ต้องพึ่งพาสารเคมี ส่งผลให้กลายเป็นสินค้าที่มีคุณค่าและมีราคาในสายตาผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็น ผ้าทอที่ ผลิตจากใยกล้วย ใยข่า และล่าสุดใยนุ่นผสมฝ้าย ที่ได้รับรางวัลจากการเข้าร่วมประกวด ทรู อินโนเวชั่น อวอร์ดส์ 2012 ประเภท Best Inspiration Award
และนี่คือ กุญแจแห่งความสำเร็จของ ไทยนำโชคเท็กซ์ไทล์ ในการก้าวสู่ตลาดต่างประเทศ
รายการอ้างอิง :
‘บุษกร ภู่แส. นุ่น’ เส้นใยมีอนาคต. กรุงเทพธุรกิจ (idea). ฉบับวันที่ 06 มีนาคม พ.ศ. 2556.– ( 141 Views)