จุดขายของ “ชาใบหูกวาง” ไม่ใช่แค่เรื่องของวัตถุดิบที่แตกต่างจากใบชา ยอดนิยมทั้งชาอู่หลง ชาดำ ชาขาวและชาเขียว ไม่ใช่แค่เรื่องของชาสุขภาพอย่างชาสมุนไพร ต่างๆ แต่มากกว่าในเรื่องกระบวนการผลิตที่ได้รับการแบ็คอัพจากสำนักงานพัฒนาวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) องค์กรชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีของไทย ทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญจากเนเธอร์แลนด์ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงเทคโนโลยี ในการพัฒนากลิ่นชาให้คงความหอมทนนาน เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง :วิจัยเพิ่มค่าชาไทย
“ชาใบหูกวาง” ถูกวางตำแหน่งให้อยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ชาเพื่อสุขภาพ เช่นเดียวกับกลุ่มชาสมุนไพร เพียงแต่จุดเริ่มต้นได้รับการสนับสนุนจากโครงการสนับสนุนการ พัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ไอแท็ป) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภาคเหนือ ที่ใช้เวลาราวครึ่งปีในการพัฒนาชาหูกวางขึ้นมา สำเร็จ
สุวลี เกียรติ์กรัณย์ กรรมการผู้จัดการ หจก.ไฟว์สตารส์ เฮอร์เบิล แกลเลอรี่ ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาและสมุนไพร แบรนด์ทีแกลเลอรี่ กล่าวว่า หลังจากพัฒนา ผลิตภัณฑ์ใบชาหูกวางไดสำเร็จ สิ่งที่บริษัทต้อง เดินหน้าต่อคือ การสร้างมาตรฐานการผลิตที่ผู้บริโภคยอมรับ ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากไอแท็ปต่อเนื่องเป็นโครงการที่ 2 ใน การจัดทำระบบ ISO 22000:2005 เพื่อรับรองความปลอดภัย ในด้านคุณภาพการผลิตและการนำไปบริโภค
กระทั่งปัจจุบันเป็นสินค้าติดตลาดในกลุ่มคนรักสุขภาพ และส่งออกไปประเทศจีน สิงคโปร์ และเตรียมจะขยายกำลังการผลิตเป็น 300% เพื่อส่งออกไปออสเตรเลีย สกอตแลนด์และจีน รวมทั้งตลาดอาเซียนอย่างกัมพูชาและมาเลเซีย อีกทั้งอยู่ระหว่างต่อยอดให้เป็นโลชั่นหรือเจลบรรเทาอาการปวดหรืออักเสบ ของกล้ามเนื้อ
ขณะเดียวกัน บริษัทได้รับการสนับสนุนจากไอแท็ปและเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ
อุตสาหกรรมจากเนเธอร์แลนด์ (พัม) ในการพัฒนากลิ่นชาให้คงความหอมทนนาน เพื่อให้ผู้บริโภคที่ซื้อชาไปได้ครบทุกครบทุกรสทั้งรสชาติ กลิ่น และความสุข
สิ่งที่ได้ไม่ใช่แค่เทคนิคการผลิตเพื่อให้ได้กลิ่นหอมธรรมชาติของชาที่อยู่ ทนนานกว่าวิธีการผลิตทั่วไป แต่พี่เลี้ยงเทคโนโลยีจากเนเธอร์แลนด์ยังพาไปดูโรงงานที่มี กระบวนการผลิตลักษณะคล้ายกันที่เนเธอร์แลนด์ เพื่อนำความรู้ที่ได้กลับมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจชาให้มีความเข้มแข็งยิ่ง ขึ้น
“การนำงานวิจัยเข้ามาใช้กับธุรกิจชา ทำให้ผลผลิตที่ได้รับไม่ใช่แค่ชาธรรมดาๆ
ถึงวันนี้แม้จะยังไม่เป็นที่แพร่หลาย แต่เชื่อว่าในอีก 4-5 ปีข้างหน้า ทีแกลเลอรี่จะอยู่ ระดับต้นๆ เมื่อผู้บริโภคนึกถึงผลิตภัณฑ์ชาเพื่อสุขภาพ” เจ้าของธุรกิจชาเพื่อสุขภาพ กล่าว
ผลิตภัณฑ์ทีแกลเลอรี่ไม่ได้มีดีแค่เรื่องเทคโนโลยี แต่ยังเป็นการสานต่อภูมิปัญญาของตระกูล เมื่อสุวลีมองว่าการทำชาอย่างเดียว ไม่ใช่ความต้องการที่จะสืบทอดองค์ความรู้ของตระกูลได้โดยตรง เพราะคุณพ่อชำนาญในเรื่องการผลิตชามากว่า 60 ปี ขณะที่คุณตาเป็นหมอ
พื้นบ้านที่มีความชำนาญในเรื่องสมุนไพร จึงเกิดความคิดที่จะผสมผสานองค์ความรู้เรื่องชาและสมุนไพรเข้าไว้ด้วยกัน
ชาใบหูกวาง ผลิตภัณฑ์ชิ้นแรกของบริษัทที่ผสานเรื่องของใบชากับตำรับสมุนไพรล้านนา โดยใบหูกวางมีคุณสมบัติด้านการสมานแผลอักเสบ บำรุงตับ แต่คนใน ภาคเหนือนิยมปลูกไว้ประดับหน้าบ้าน ไม่ได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างอื่น
:ธุรกิจเดินหน้าด้วยแหล่งทุน
ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ธุรกิจชาเพื่อสุขภาพของสุวลี เป็น 1 ใน 20 กว่าโครงการที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างสวทช.กับองค์กรเนเธอร์แลนด์ ตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่หรือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าที่มีอยู่เดิม ด้วยเทคนิคเฉพาะทาง
“ปีนี้ สวทช.เดินหน้าต่อสำหรับความร่วมมือกับพัม โดยตั้งเป้าจะสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอีของไทยให้เข้าร่วมโครงการปีละ 50 รายต่อปี และจะนำร่องในปีนี้ 35 ราย ด้วยงบประมาณโครงการกว่า 30 ล้านบาท ซึ่งเมื่อสิ้นสุดโครงการ ไอแท็ปจะให้ทุนสนับสนุนการทำธุรกิจ เพื่อให้เกิดการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ได้จากการร่วมโครงการอย่าง ยั่งยืน”รองผู้อำนวยการ สวทช.
รายการอ้างอิง :
กานต์ดา บุญเถื่อน. “ใบชา”แตกกิ่งเทคโนโลยี. กรุงเทพธุรกิจ. ฉบับวันที่ 08 มีนาคม พ.ศ. 2556.– ( 78 Views)