magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก เอไอทีวิจัย’น้ำเสียจากส้วม’
formats

เอไอทีวิจัย’น้ำเสียจากส้วม’

ทีมนักวิทยาศาสตร์ AIT เตรียมการที่จะนำเสนอระบบการจัดการน้ำเสียจากส้วมรูปแบบใหม่ ในประเทศที่กำลังพัฒนาสามประเทศในเอเชีย

ในความพยายามที่จะหาวิธี การอย่างยั่งยืนสำหรับการแก้ปัญหาด้านสุขาภิบาลที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งคนยากไร้ในประเทศไทย กัมพูชาและเวียดนามกำลังเผชิญอยู่ นักวิจัยได้เริ่มโครงการวิจัยระยะ   เวลา  5 ปี ด้วยทุนสนับสนุนจำนวน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ (150 ล้านบาท) จากมูลนิธิ Bill & Melinda Gates Foundation (BMGF) ในสหรัฐอเมริกา

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) เป็นหนึ่งในบรรดาผู้รับทุนจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆกว่า 61 แห่งทั่วโลก ที่ได้รับทุนวิจัยจากทีมงานในโครงการน้ำ, สุขาภิบาล, และสุขอนามัยของ ของมูลนิธิ BMGF ประจำปี 2554  ทั้งนี้ สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และการจัดการ สำนักวิชาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรและการพัฒนา ของสถาบันเอไอที เป็นผู้ดำเนินงานโครงการวิจัย “โครงการการพัฒนาระบบจัดการน้ำเสียขนาดเล็กอย่างยั่งยืน” ซึ่งจะมีระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2555 – 2560

จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ประชากรจำนวน 2.5 พันล้านคนทั่วโลกยังไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขาภิบาล โดยร้อยละ 75 อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ การมีระบบสุขาภิบาลขึ้นอยู่กับเจ้าของบ้านที่จะลงทุนติดตั้งส้วมและระบบเก็บ กักและบำบัดสิ่งปฏิกูลในรูปของบ่อเกรอะ-บ่อซึม

รศ.ดร.ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ แห่งสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หัวหน้าทีมวิจัยได้กล่าวในงานแถลงข่าวซึ่งจัดขึ้นเมื่อวานนี้ (24 ก.ย.)ที่ โรงแรมพูลแมน บางกอก คิงพาวเวอร์ ไว้ว่า “ การมีส้วมและบ่อรองรับน้ำเสียจากส้วมโดยทั่วไปยังไม่เพียงพอที่จะทำให้มี ระบบสุขาภิบาลที่ปลอดภัยและยั่งยืน เนื่องจากในบางครั้งระบบดังกล่าวอาจชำรุดเสียหาย เพราะขาดข้อมูลเกี่ยวกับอายุการใช้งาน การเดินและบำรุงรักษาระบบที่ไม่ถูกต้อง เช่น การไม่สูบตะกอน”  นอกจากนี้ ยังพบปัญหาของการระบายน้ำที่ไม่ผ่านการบำบัดรวมถึงการระบายสิ่งปฏิกูลที่ สูบออกมาลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ

รศ.ดร.ธรรมรัตน์ เชื่อว่าปัจจัยสำคัญในการขยายระบบสุขาภิบาลให้ครอบคลุมเพิ่มมากขึ้นจำเป็นจะ ต้องการพัฒนา คิดค้น ระบบบำบัดขนาดเล็ก (Decentralized system) สำหรับรูปแบบการจัดการน้ำเสียจากส้วมขึ้น โดยต้องเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นในการที่จะรวมเทคโนโลยีการบำบัดรูปแบบ ต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการบำบัดของเสียที่มนุษย์ขับถ่ายออกมา และน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากบ้านเรือนและอาคารต่างๆ นอกจากนี้การใช้ระบบบำบัดขนาดเล็กดังกล่าวยังมีข้อดีในการลดค่าใช้จ่ายของ บ้านเรือนในการต่อเชื่อมกับท่อระบายน้ำและลดภาระในการจัดให้มีระบบบำบัดน้ำ เสียรวมขนาดใหญ่

โครงการซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “การพัฒนาระบบจัดการน้ำเสียจากส้วมอย่างยั่งยืนสำหรับประเทศกำลังพัฒนา การออกแบบ การปฏิบัติการและการตรวจสอบ” ใช้รูปแบบ “การตลาดนำการวิจัย” หรือ  Market-driven Approach” เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าระบบบำบัดขนาดเล็กที่พัฒนาขึ้นสามารถขายได้และสอด คล้องกับความต้องการของประชาชน

ในการดำเนินการโครงการในช่วง 5 ปีนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่  ช่วงแรก) การสร้างเวทีเพื่อนวัตกรรม ช่วงที่สอง) การออกแบบและพัฒนาทางเลือกตัวอย่างเพื่อการทำพาณิชย์ และช่วงที่สาม) กระตุ้นการทำพาณิชย์ของทางเลือกตัวอย่าง

ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีน้ำเสียชุมชนเกิดขึ้น 20 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งมีเพียง 1.6 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ที่ถูกรวบรวมเข้าสู่ระบบท่อรวบรวมน้ำเสียเพื่อไปบำบัดยังระบบบำบัดน้ำเสีย รวมของเทศบาลหรือชุมชน ซึ่งระบบฯ ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถใช้งานได้ดี

ในส่วนของการจัดการสิ่งปฏิกูลเองก็มีปัญหาในลักษณะเดียวกันคือ สิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้นประมาณ 60,000 ตันต่อวัน มีเพียง 4,500 ตันต่อวัน เท่านั้น ที่ถูกบำบัดอย่างถูกต้องเหมาะสม (จำนวนน้อยกว่า 10%) ดังนั้น วัตถุประสงค์หนึ่งของโครงการคือการจัดการสิ่งปฏิกูลอย่างถูกสุขอนามัยให้ เพิ่มขึ้นอีก 2 เท่า โดยการนำเสนอรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมสำหรับจัดการสิ่งปฏิกูล

เป้าหมายครอบคลุมของงานวิจัยนี้คือการนำเสนอรูปแบบใหม่ของระบบบำบัดน้ำ เสียขนาดเล็กและเทคโนโลยีเพื่อการบำบัดแบบเต็มหรือแบบบางส่วนและการกำจัด สิ่งปฏิกูลและน้ำเสียจากที่อยู่อาศัยหรือแหล่งธุรกิจที่อยู่ใกล้ห้องน้ำ จุดมุ่งหมายพื้นฐานของโครงการนี้คือการกระตุ้นการทำพาณิชย์ระบบบำบัดน้ำเสีย อย่างยั่งยืนรูปแบบใหม่และมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม โดยมีเป้าหมายที่จะยกระดับสุขอนามัยสำหรับคนยากไร้ในเขตเมืองใหญ่

ดร. ธรรมรัตน์ กล่าวว่ารูปแบบการตลาดนำการวิจัยซึ่งเน้นความต้องการของลูกค้าและผู้ใช้ จะวางกรอบการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อที่จะสร้างความต้องการของตลาดที่แท้จริง สินค้าต่างๆซึ่งได้มาจากโครงการจะครอบคลุมเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสียที่ สามารถประยุกต์ใช้ได้ในประเทศที่กำลังพัฒนาและตั้งอยู่บนพื้นฐานของความ ชัดเจนทางวิทยาศาสตร์ เทคนิคและการตลาดที่ดี

รายการอ้างอิง :

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. เอไอทีวิจัย’น้ำเสียจากส้วม’. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (ไอที-นวัตกรรม : วิทยาศาสตร์). วันที่ 26 กันยายน 2555.

– ( 276 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


+ 8 = fourteen

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>