magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก แนวโน้มบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรมไทยไปไกล
formats

แนวโน้มบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรมไทยไปไกล

วันนี้ (11 มี.ค.) ศ.ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์ นายกสมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย(Thai-BISPA) เปิดเผยแนวโน้มของอุทยานวิทยาศาสตร์และหน่วยบ่มเพาะธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างนวัตกรรมของประเทศ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการวิจัยและพัฒนาในทางที่ดี โดยระบุว่า นวัตกรรมไบโอเทคโนโลยีของไทยได้สร้างชื่อเสียงจนเป็นที่จับตามองของบริษัทใน ต่างประเทศ เนื่องจากความสำเร็จทางไบโอเทคโนโลยี จนได้รางวัลระดับโลก มีการลงทุนจากบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัท เฟล็กโซรีเสิรช และ บริษัท ไฮกริมเอ็นไวรอนเมนทอล แอนด์ รีเสิร์ช ทำให้นักวิจัยของไทยได้รับความสนใจ ดังนั้น ไทยควรจะนำจุดนี้ ยกเป็นภาพลักษณ์งานวิจัยของประเทศให้ชัดเจน เพื่อการทำตลาดและสร้างแรงจูงใจให้กับนักวิจัยรุ่นใหม่ศ.ดร.ชัชนาถ กล่าวอีกว่า การบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะมีเอกชนมาดูแลเป็นกลุ่มแรก จากเดิมที่ใช้งบสนับสนุนจากภาครัฐมากกว่า 90% สอดคล้องกับรูปแบบการพัฒนาของธุรกิจที่มุ่งตลาดระดับโลก โดยที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่กลไกการบ่มเพาะธุรกิจของภาครัฐไทยยังไม่สามารถสนับสนุนอย่างฉับไวและไม่ สามารถผลักดันสู่ตลาดโลกได้ดีพอ

นอกจากนี้ในปี 2556 จะเป็นปีที่โหมทำการวิจัยจากกิจการขนาดใหญ่ของไทย เนืองจากสภาพการแข่งขันที่คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆมากขึ้น มีกฎหมายและระเบียบที่เอื้อต่อการวิจัยและพัฒนามากขึ้น ดังนั้นในปีนี้จะมีบริษัทขนาดใหญ่เพิ่มงบประมาณการวิจัยและพัฒนาโดยทำเอง เป็นส่วนใหญ่ มีเพียงบางส่วนที่ทำร่วมกับสถาบันการศึกษา ซึ่งน่าจะทำให้การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศถึงเป้าหมาย 2 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี)  อย่างไรก็ตามทางภาครัฐ ได้เชื่อมโยงการวิจัยของภาคเอกชนให้ประสานกับการวิจัยของสถาบันการศึกษา โดยเริ่มกับ 6 บริษัทใหญ่คือ เวสเทิร์นดิจิตอล หรือ WD, ซีเกท, การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย, กลุ่มบริษัทปูซีเมนต์ไทย หรือ SCG, กลุ่มบริษัทมิตรผล และเบทาโกร ได้ลงนามสนับสนุนการวิจัยในภาคการศึกษาแห่งละ 25 ทุน แล้ว

นายกสมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย เห็นว่า การขยายตัวของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ของไทย จะไม่ทันกับการเติบโตของนักวิจัยของไทยที่กำลังมีมากขึ้น โดยไทยมีผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารจัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจที่ผ่านการรับรอง จากองค์การนานาชาติเพียง 5 คน มีผู้ผ่านการฝึกอบรมขั้นต้นและขั้นกลางไม่เกิน 20 คน ขณะที่การเติบโตในอุตสาหกรรมการวิจัยและพัฒนามากขึ้น.

รายการอ้างอิง :
แนวโน้มบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรมไทยไปไกล. เดลินิวส์ (ไอที). วันจันทร์ที่ 11 มีนาคม 2556.

– ( 42 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


three + 3 =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>