magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ข่าววิทยาศาสตร์ พายุงวงช้าง
formats

พายุงวงช้าง

เมื่อช่วงเช้าวันที่ 9 มี.ค. เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่าพายุงวงช้าง ขึ้นบริเวณสะพานปลาแหลมฉบัง ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ท่ามกลางฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก

ทำให้ชาวประมงที่กำลังนำเรือออกหาปลา พากันนำเรือกลับเข้าฝั่งอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ไม่มีรายงานความเสียหาย หรือผู้ได้รับอันตรายแต่อย่างใด

พายุงวงช้าง (Waterspout) เรียกได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นพายุนาคเล่นน้ำ หรือพวยน้ำ เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะคล้ายท่อน้ำขนาดใหญ่ เชื่อมต่อระหว่างผืนฟ้าและพื้นน้ำ          ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ
ที่ปรึกษาด้านวิชาการ ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย (สวทช.) อธิบายว่า การเกิดพายุงวงช้างมีได้ 2 ลักษณะ
แบบแรก คือ พายุทอร์นาโด ที่เกิดขึ้นเหนือแอ่งน้ำ ทะเล หรือทะเลสาบ โดยจะเกิดขึ้นระหว่างที่มีฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก เรียกว่า พายุฝนฟ้าคะนองแบบ ซูเปอร์เซลล์ (Supercell Thunderstrom) และมีระบบอากาศหมุนวนที่เรียกว่า เมโซไซโคลน (Mesocyclone) พายุแบบนี้จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำที่เกิดจากทอร์ นาโด (Tornadic Waterspout)

แบบที่สอง คือ นาคเล่นน้ำของแท้ ที่เกิดจากมวลอากาศเย็นเคลื่อนผ่านเหนือผิวน้ำที่อุ่นกว่า โดยบริเวณใกล้ๆ ผิวน้ำ มีความชื้นสูง และไม่ค่อยมีลมพัด ทำให้อากาศที่อยู่ติดกับผืนน้ำซึ่งอุ่นในบางบริเวณยกตัวขึ้นอย่างรวดเร็วและ รุนแรง ทำให้อากาศโดยรอบไหลเข้ามาแทนที่ จากนั้นจึงพุ่งเป็นเกลียวขึ้นไป

ในช่วงที่อากาศพุ่งขึ้นเป็นเกลียววนนี้ หากน้ำในอากาศยังอยู่ในรูปของไอน้ำ จะยังมองไม่เห็นอะไร แต่หากอากาศขยายตัว และเย็นตัวลงถึงจุดหนึ่ง ไอน้ำจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำจำนวนมาก ทำให้เห็นเป็นท่อ หรือลักษณะคล้ายงวงช้าง เชื่อมระหว่างผืนน้ำและเมฆ

ปรากฏการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นได้บ่อย และเป็นประเภทเดียวกับที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากช่วงที่เกิดมักมีพายุฝนฟ้าคะนองร่วมอยู่ด้วย

ความแตกต่างระหว่างนาคเล่นน้ำทั้ง 2 แบบ คือ นาคเล่นน้ำที่เกิดจากทอร์นาโด จะเริ่มจากอากาศหมุนวน ในบริเวณเมฆฝนฟ้าคะนอง แล้วหย่อนส่วนลำงวงลงมาแตะพื้น เป็นการหมุนจากด้านบนลงล่างของอากาศ

ส่วนนาคเล่นน้ำของแท้ จะเริ่มจากอากาศหมุนวนบริเวณผิวพื้นน้ำ ก่อนพุ่งขึ้นไปด้านบน
พายุงวงช้าง หรือนาคเล่นน้ำส่วนใหญ่ มีขนาดยาว 10-100 เมตร แต่บางครั้งอาจยาวได้มากถึง 600 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง พบได้ตั้งแต่ 1 เมตร ไปจนถึงหลายสิบเมตร

พายุงวงช้างแต่ละลูก อาจมีท่อหมุนวนเพียงท่อเดียว หรือหลายท่อก็ได้ แต่ละท่อจะหมุนด้วยอัตราเร็ว 20-80 เมตรต่อวินาที กระแสลมในตัวพายุมีความเร็ว 100-190 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และอาจสูงได้ถึง 225 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

นอกจากจะหมุนวนรอบตัวเองได้แล้วนั้น พายุงวงช้างยังเคลื่อนที่ได้เร็วตั้งแต่ 3-130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ส่วนใหญ่จะเคลื่อนที่ค่อนข้างช้าประมาณ 18-28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงมีคำแนะนำให้ชาวเรือที่พบปรากฏการณ์ดังกล่าว สังเกตทิศทาง และเดินเรือไปยังทิศตรงกันข้าม

พายุงวงช้าง หรือนาคเล่นน้ำ มักมีระยะเวลาเพียง 2-30 นาที และจะสลายตัวอย่างรวดเร็วเมื่อขึ้นสู่ฝั่ง

รายการอ้างอิง :
พายุงวงช้าง. ข่าวสด (กรอบบ่าย-คอลัมน์ที่13). ฉบับวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556.– ( 41 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


7 − = two

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>