magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home การแพทย์/สาธารณสุข อาหารต้านมะเร็ง
formats

อาหารต้านมะเร็ง

แม้ว่าโรคมะเร็งจะ เป็นภัยร้ายที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ แต่เราสามารถเตรียมความพร้อมไว้ก่อนได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารเสริมระบบ ภูมิต้านทานให้กับร่างกาย

แม้ว่าโรคมะเร็งจะเป็น ภัยร้ายที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ แต่เราสามารถเตรียมความพร้อมไว้ก่อนได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารเสริมระบบ ภูมิต้านทานให้กับร่างกาย หลายคนคงอยากทราบว่า ควรจะเลือกบริโภคอาหารอะไร เพื่อช่วยเสริมภูมิต้านทานโรคมะเร็งวงศ์ธิติ ศิลป์สาคร นักกำหนดอาหาร โรงพยาบาล พญาไท 1 บอกว่า ควรจะเลือกบริโภคอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระหรือที่เรียกว่า antioxidant ซึ่งประกอบไปด้วย กลุ่มผักมีสี เช่น บีทรูท ผักโขม แครอท มะเขือเทศ ยิ่งผักมีสีเข้มมากเท่าไหร่ นั่นหมายถึงว่ามีสารไฟโตเคมิคอล (phytochemical) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้นเท่านั้น รงควัตถุเหล่านี้ ได้แก่ ไบโอฟลาวินอยด์ 20,000 ชนิดมีคุณสมบัติในการดูดซึม วิตามิน ต้านมะเร็ง ส่วนแคโรทีนอยด์ จะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในการทำลายเซลล์มะเร็ง

ผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี บร็อคโคลี กะหล่ำดอก เหล่านี้มีสารประกอบจำนวนมากที่ช่วยยับยั้งการเพิ่มจำนวนของสารก่อมะเร็งนอก จากนั้น ยังมีหัวหอมและกระเทียม ซึ่งจะประกอบด้วย ไบโอฟลาวินอยด์หลายชนิดด้วยกัน หนึ่งในนั้นได้แก่ เคอร์ซิทิน ซึ่งสามารถเปลี่ยนเซลล์มะเร็งให้เป็นเซลล์ปกติได้ นอกจากนี้ยังมีสารต้านมะเร็งอื่นๆ ได้แก่ อัลลิซิน , เอส-อัลลิล ซิสทีอิน, ซีลีเนียม และสารอื่นๆอีกมาย ดังนั้นหากรับประทานกระเทียมและหัวหอมเป็นประจำจะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันใน ร่างกาย ถัดมาคือ ปลาทะเล เช่น แซลมอน แมคเคอเรล ซาร์ดีน ทูน่าและปลาจากทะเลน้ำลึก เนื่องจาก ปลาเหล่านี้จะอุดมไปด้วยไขมันที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ได้แก่ EPA (eicosapentaenoic acid) และ DHA( docosahexaenoic acid) ซึ่งชะลอการแพร่ของมะเร็ง กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และยังประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆที่พบในน้ำทะเล
นักกำหนดอาหาร แนะนำ ให้รับประทานปลาทะเลอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 ขีด แต่ถ้าไม่ชอบรับประทานปลาทะเลให้เปลี่ยนมารับประทานเนื้อไก่แทนและหลีก เลี่ยงเนื้อหมูเพราะอาจปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดง ในกลุ่มเบต้า – อะโกนิสต์ (Beta-agonists) ที่มักตรวจพบว่ามีการลักลอบใช้อยู่ จากนั้นเป็นโปรตีนจาก ถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ในถั่วเหล่านี้พบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง นอกจากนี้ ถั่วยังอุดมไปด้วยกากใยที่สามารถละลายน้ำได้ ซึ่งจะช่วยในขบวนการทำความสะอาดของร่างกายตามธรรมชาติ

แม้ว่า ถั่วจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ก็ต้องจำกัดปริมาณการรับประทาน ยกตัวอย่าง ถั่วลิสง 10 เมล็ด เท่ากับรับประทานน้ำมัน 1 ช้อนชา จึงไม่ควรรับประทานในปริมาณมากเพราะทำให้ไขมันเข้าไปในร่างกายเกินความจำ เป็น ตามด้วย เมล็ดธัญพืช เช่น ข้าว โอ๊ต บาร์เลย์ ข้าวโพด ข้าวสาลี เนื่องจากเมื่อกากใยของพืชเหล่านี้แตกตัวที่ลำไส้จะเปลี่ยนเป็นกรดบิวไทริก (butyric acid) กรดไขมันสายสั้น ซึ่งมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญหรือทำให้เซลล์ลำไส้ที่ผิดปกติที่จะ พัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งตายลงได้

นักกำหนดอาหารสาว ยังแนะนำให้บริโภค สาหร่ายทะเล เพราะมีสารบางชนิดที่ป้องกันการติดเชื้อในทางเดินอาหาร และยังประกอบด้วยกากใยชนิดพิเศษที่สามารถละลายน้ำได้ซึ่งจะเป็นตัวกลางในการ นำไขมันอันตราย สารอนุมูลอิสระ สารพิษต่างๆออกจากลำไส้ และสาหร่ายทะเลยังเป็นแหล่งของแร่ธาตุอย่างดีจากน้ำทะเล

นอกจากนี้ใน กลุ่มของเครื่องเทศ เช่น มาสตาร์ด พริก พริกไทย กระเทียม หัวหอม ขิง โรสแมรี่ อบเชยและเครื่องเทศอื่นๆที่ใช้ปรุงแต่งรส มีคุณสมบัติในการต้านมะเร็งและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้เช่นเดียวกันสุด ท้ายขาดไม่ได้ก็คือ การบริโภคน้ำสะอาด เพราะ ร่างกายคน ประกอบด้วยน้ำ เนื่องจากน้ำนั้นเป็นเป็นสารตัวกลางสำคัญของร่างกายที่ใช้ในขบวนการต่างๆของ เซลล์ เช่น ควบคุมสมดุลกรด-ด่าง การทำความสะอาด การขจัดสิ่งสกปรก และยังนำพาสารอาหารที่มีประโยชน์เข้าสู่เซลล์ ตลอดจนนำของเสีย หรือสารพิษออกจากเซลล์ จึงควรดื่มจิบน้ำบ่อยๆ

รายการอ้างอิง :
กอห์นนี่. อาหารต้านมะเร็ง. กรุงเทพธุรกิจ (Life Style : สุขภาพ). วันที่ 15 มีนาคม 2556 .– ( 100 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


9 − = seven

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>