magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ข่าววิทยาศาสตร์ Lycopene อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน
formats

Lycopene อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน

สาร lycopene เป็นสารประกอบที่ทำให้มะเขือเทศเปลี่ยนสีกลายเป็นสีแดง มีคุณสมบัติที่สามารถระงับอาการอักเสบ จำกัดการผลิตคลอ
เลสเตอรอล และยับยั้งการแข็งตัวของเลือด แต่สิ่งแรกและเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ สาร lycopene เป็นสารแคโรทีนอยด์ (carotenoid)
ชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ที่ช่วยกำจัดโมเลกุลต่าง ๆ ที่ไม่เสถียร หรืออนุมูลอิสระ (free radicals) ออก
จากร่างกาย เนื่องจากอนุมูลอิสระที่มีอยู่ภายในร่างกายสามารถทำให้เกิดการทำลายดีเอ็นเอ ฆ่าเซลล์ โจมตีโปรตีน และส่งเสริมให้เกิด
โรคหลอดเลือดได้อีกด้วย นักวิจัย ระบุว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่าสาร lycopene มีผลโดยตรงต่อการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอด
เลือดสมองตีบตัน จากการศึกษาดูเหมือนว่า ผู้ที่ชื่นชอบรับประทานอาหารจำพวกผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารแคโรทีนอยด์ จะมี
ความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองตีบตันน้อยลง แต่ยังมีการทำการศึกษาไม่เพียงพอที่สามารถวิเคราะห์ผล
กระทบของสาร lycopene ที่มีต่อความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน
Jouni Karppi และคณะนักวิจัยจากๅ University of Eastern Finland เมือง Kuopio ได้ติดตามศึกษากลุ่มผู้ชายจำนวน 1,031 คน
ที่มีอายุตั้งแต่ 46 ถึง 65 ปี เป็นระยะเวลา 12 ปี เพื่อวัดระดับปริมาณสาร lycopene ในกระแสเลือด จากการติดตามคนกลุ่มนี้ตลอดระยะ
เวลา 12 ปี นักวิจัยได้สรุปผลการเฝ้าติดตามว่า มีผู้ที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบตันจำนวน 67 ราย  กลุ่มคนที่มีระดับสาร lycopene
ในกระแสเลือดต่ำที่สุดมีโอกาสป่วยเป็นโรคหลอดลเลือดสมองตับตันมากกว่ากลุ่มคนที่มีระดับสาร lycopene ในกระแสเลือดสูงที่สุดถึง
สองเท่านักวิจัยยังอธิบายถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองตีบตันได้ เช่น การสูบบุหรี่ มวลร่างกาย ความดันโลหิต
คลอเรสเตอรอลชนิด LDL โรคเบาหวาน และประวัติของโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1153—-12556– ( 92 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


9 × eight =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>