IEEE Computer Society ซึ่งเป็นกลุ่มความร่วมมือด้าน IT และคอมพิวเตอร์ระดับโลก ได้คาดการณ์ถึงทิศทางของโลกคอมพิวเตอร์ใน
อนาคตไว้ โดยมีทิศทาง 5 ด้านดังนี้
1.Internet of Things (IoT) จะมีความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น
Internet of Things (IoT) คือ เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ ตู้เย็น โทรทัศน์
และอื่นๆ เข้าไว้ด้วยกัน โดยเครื่องมือต่าง ๆ จะสามารถเชื่อมโยงและสื่อสารกันได้โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต จากการคาดการณ์ ในปี
ค.ศ.2020 สิ่งต่าง ๆ กว่าแสนล้านชิ้นจะสามารถเชื่อมต่อกันได้ด้วยระบบ IoT ผู้บริโภคทั่วไปจะเริ่มคุ้นเคยกับเทคโนโลยีที่ทำให้พวกเขา
สามารถควบคุมสิ่งของต่าง ๆ ทั้งจากในบ้าน และสำนักงานหรือจากที่ไหนก็ได้ เช่น การควบคุมอุณหภูมิภายในบ้าน การเปิดปิดไฟ ไปจนถึง
การสั่งให้เครื่องทำกาแฟ เริ่มต้นกาแฟ
2.การใช้ภาพและเทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูลช่วยให้มนุษย์รับมือกับความท้าทายของยุค Big Data
ยุคของข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน มนุษย์สามารถสร้างและเก็บรวบรวมข้อมูลได้จำนวนมหาศาล และสามารถนำไปใช้ได้ในหลากหลายวงการ
เช่น วงการธุรกิจ การแพทย์ ความปลอดภัยของชาติ และการจัดการหายนะต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ แต่ปัญหาต่อไปคือ
ข้อมูลเหล่านั้นมีจำนวนมากขึ้น ๆ และล้าสมัยเร็วขึ้น หน่วยงานรัฐบาลและบริษัทใหญ่ ๆ กำลังให้ความสำคัญกับการวิจัยเพื่อหาวิธีการับมือกับ
ปัญหาดังกล่าว เทคโนโลยีการวิเคราะห์ Big Data และการทำข้อมูลให้เป็นภาพเป็นวิธีการหนึ่งที่มีประสิทธิภาพที่ไม่เพียงแต่ช่วยในการนำเสนอข้อมูลจำนวนมาก ๆ ให้สามารถเข้าใจได้ง่ายแล้ว
3.Hybrid Clouds และ Personal Clouds
เทคโนโลยี Cloud computing จะเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยองค์กรและบริษัทต่าง ๆ จะใช้ Hybrid clouds หรือเทคโนโลยี cloud ที่ผสมผสานระหว่าง Public cloud กับ private cloud ส่วนผู้บริโภคก็จะใช้ personal clouds การจัดการและมาตรฐานของระบบ Cloud จะมีการพัฒนามากขึ้น และยังเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่องเพื่อวัตถุประสงค์การลดการใช้พลังงาน
4.สงครามการควบคุมตรวจสอบบนระบบอินเตอร์เน็ตจะเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น
อินเตอร์เน็ตจะกลายเป็นสนามรบของการควบคุมทางเทคนิค สังคมและการเมือง โดยในปี 2013 สงครามนี้จะคงดำเนินต่อไปโดยมีสองขั้ว
ระหว่างการควบคุมตรวจสอบบนโลกอินเตอร์เน็ตกับการพัฒนาเพื่อเสรีภาพและความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ โดยปีนี้ความเคลื่อนไหว
เพื่อการควบคุมตรวจสอบที่เห็นได้ชัดเจนคือ ความพยายามเริ่มใช้กฎหมาย Online Piracy Act (SOPA) และ Protect IP Act (PIPA)
แต่ก็ไม่สำเร็จผลเนื่องจากเว็บไซต์ Wikipedia, Reddit และเว็บไซต์อื่น ๆ ที่เน้นการแบ่งปันข้อมูลออกมาคัดค้าน แต่ความขัดแย้งนี้จะคุขึ้น
มาอีกครั้งในปี 2013 เนื่องจากสหภาพ International Telecommunication Union ของ United Nation (UN) กำลังพิจารณาคำขอ
ในการเพิ่มการควบคุมบนอินเตอร์เน็ตที่ยื่นโดยประเทศรัสเซีย สาธารณะรัฐประชาชนจีน ประเทศทาจิกิสถาน และประเทศอุซเบกิสถาน โดยประเทศเหล่านี้ได้ยื่นขอเสนอแก่ UN General Assembly ให้พิจารณากฎ “International Code of Conduct for Information Security” ซึ่งเป็นกฏเกณฑ์ระหว่างประเทศในการจัดการความปลอดภัยทางข้อมูลเพื่อให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ มีการวางมาตรฐานและกฏเกณฑ์ควบคุมพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารและ Cyberspace ซึ่งเป็นที่กังวลอยู่ในหลาย ๆ ประเทศ ข้อเสนอบางข้อ ขอให้ยกเลิกการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นความลับอีกด้วย
5.นักวิจัยและบริษัทต่าง ๆ จะพยายามพัฒนาเครื่องมือและวิธีการที่จะเพิ่มอำนาจให้แก่ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหลายหน่วยประมวลผล
(Mulitcore computing)
ระบบประมวลผลในยุคปัจจุบันจะทำงานไปพร้อม ๆ กันหลาย ๆ ระบบ ดังนั้นการเรียนรู้และเตรียมความพร้อมที่จะใช้งานเทคโนโลยี
ที่มีหลายหน่วยประมวลผลจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยในปัจจุบันเครื่องจักรต่าง ๆ กำลังถูกพัฒนาให้มีหน่วยประมวลผลมากขึ้น ซึ่ง
อาจจะมีมากถึง 10,000 หน่วย ด้วยความใหม่และความซับซ้อนของเทคโนโลยีที่มีหลายหน่วยประมวลผลทำให้นักพัฒนาและ
สถาปนิกคอมพิวเตอร์ต้องเร่งศึกษา ในปี 2013 นักวิจัยจะมุ่งเน้นในการพัฒนา Share memory หรือเทคนิคการสื่อสารข้อมูลใน
กระบวนการที่มีหลาย ๆ ระบบเข้ามาใช้หน่วยความจำเดียวกันให้อยู่ในชั้นของแผ่นไมโครชิป ซึ่งจะช่วยเพิ่มอำนาจในการทำงานให้แก่
ทั้งผู้บริโภคทั่วไปและองค์กรต่าง ๆ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.nstda.or.th/nstda-doc-archives/doc_download/1153—-12556
– ( 42 Views)