magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก รัฐเพิ่มงบวิจัย1%ของจีดีพี ความท้าทายที่ยังมาไม่ถึง
formats

รัฐเพิ่มงบวิจัย1%ของจีดีพี ความท้าทายที่ยังมาไม่ถึง

เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ คงไม่อาจมองข้ามความสำคัญของงานวิจัย ที่เป็นกลไกหลักในการเกื้อหนุน  ในขณะที่ประเทศไทยผ่านมาหลายยุคหลายสมัย งบวิจัยของประเทศยังคงย่ำอยู่ที่ 0.02% ของจีดีพี ด้วยเม็ดเงินลงทุนราว 1 หมื่นล้านบาท ความท้าทายของตัวเลขงบวิจัยที่เพิ่มขึ้นยังคงเกิดขึ้นในรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย

รัฐบาลภายใต้การนำของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สร้างความท้าทายครั้งใหม่กับวงการวิจัย หลังจากประกาศเพิ่มงบวิจัยของประเทศให้ 1-2% ของจีดีพี แต่ไม่ได้ระบุถึงกรอบเวลาที่ชัดเจนนั้น ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. สะท้อนมุมมองว่า การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของรัฐบาล ซึ่งที่ผ่านมาทุกรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับนโยบายวิจัย แต่ในทางปฏิบัติยังคงเส้นคงวามาตลอด หมายถึงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง          ผลที่เห็นได้ชัดเจนคือจีดีพีของประเทศที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่งบวิจัยเท่าเดิม ทำให้อันดับขีดความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศไทยตกลงจากอันดับที่ 27 ลงมาอยู่อันดับที่ 30 ในปี 2555 ขณะที่ประเทศเจริญแล้ว งบวิจัยขยับขึ้นไปได้ 2-3% ของจีดีพี

“รัฐลงทุนงบวิจัยน้อยมาก โดยมองว่าเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า เพราะการลงทุนกับงานวิจัยไม่ได้หมายความว่าลงทุนไปแล้วจะได้เสมอไป แต่ถ้าได้ ก็ได้มหาศาล”เสมอไป แต่ถ้าได้ ก็ได้มหาศาล” เขากล่าว และว่า ที่ผ่านมารัฐบาลลงทุนวิจัยข้าวปีละไม่ถึง 200 ล้านบาท ขณะที่ไทยส่งออกข้าวแสนล้านบาท ซึ่งพันธุ์ข้าวที่มาจากงานวิจัย ไม่มีใครพูดถึง

แม้ในอดีตการลงทุนวิจัยด้านการเกษตรของประเทศเกือบครึ่งของงบวิจัยทั้งหมด ทำให้ด้านการผลิตไม่มีปัญหา และไทยอยู่ในตำแหน่งผู้นำของอาเซียน ได้รับการยอมรับในเรื่องคุณภาพ งานวิจัยมีความก้าวหน้าจากองค์ความรู้ที่สะสมมาอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าเมื่อใดที่รัฐไม่ลงทุน ไทยก็ไม่สามารถยืนอยู่แถวหน้าได้

“งานวิจัยไม่เหมือนการสร้างตึก เงินที่ใส่เข้าไปจะต้องได้ตึก แต่เงินวิจัยใส่ไปแล้วอาจยังไม่ได้อะไร ยังไม่ใช่คำตอบ เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา” เขากล่าว และมองว่า เรื่องที่ต้องใช้เวลา” เขากล่าว และมองว่า ประเทศไทยไม่เพียงแค่งบวิจัยที่เป็นปัญหา แต่ยังมีปัญหาเรื่องนักวิจัยที่มีจำนวนจำกัด นั้นไม่ได้แปลว่ารัฐลงทุนวิจัย 2% ของจีดีพี แล้วจะทำได้สำเร็จ

“เงินไม่ได้ซื้อได้ทุกอย่าง การสร้างนักวิจัยต้องค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆ โต” ผู้อำนวยการ ต้องค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆ โต” ผู้อำนวยการ สวก. กล่าว พร้อมแนะแนวทางการสร้างนักวิจัยว่า รัฐต้องเปิดทางให้เอกชน โดยเฉพาะเอสเอ็มอีสร้างหน่วยวิจัย มีกลไกสนับสนุนให้เอกชนรับทุนวิจัยภาครัฐได้เหมือนมหาวิทยาลัย

เขามองว่า เอกชนไทยยังไม่มีทุนมากพอที่จะลงทุนวิจัย แต่ยังต้องการงานวิจัยที่ตรงกับความต้องการ เพื่อผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพดีขึ้น ขายได้มากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ประเทศจะได้รับคือการจ้างงาน ภาษี ทำให้เกิดแรงจูงใจให้กับภาคเอกชนในการตั้งหน่วยวิจัย สนับสนุนให้เกิดการจ้างงาน สร้างนักวิจัยในจำนวนที่มากขึ้น

“ทุนวิจัย 1 ล้าน ขายได้ร้อยล้านพันล้าน ถ้ารัฐบาลเห็นว่างานวิจัยมีประโยชน์ต่อประเทศ ก็พร้อมที่จะลงทุนวิจัยมากขึ้น ตอนนี้เราเริ่มขยับทำงานวิจัยที่หลากหลายเพื่อสร้างฐานความรู้ นำไปสู่การต่อยอดในอนาคต”  เขากล่าว และว่า นั่นเป็นเหตุผลให้อนาคต”  เขากล่าว และว่า นั่นเป็นเหตุผลให้หน่วยงานให้ทุนต้องพยายามสร้างเอกภาพให้เห็นว่า งานวิจัยที่ออกมานั้นมีประโยชน์ต่อสังคม ไม่ได้ขึ้นหิ้งอย่างที่เข้าใจ โดยเน้นการต่อยอดเชิงพาณิชย์

ทั้งนี้ งานวิจัยมีส่วนสำคัญในการสร้างสินค้าใหม่ หรือเพิ่มมูลค่าสินค้าที่มีอยู่เดิม เช่น สินค้าเกษตรอย่าง “ข้าว” นวัตกรรมสามารถดึงข้าวออกจากตลาด สร้างผลตอบแทนจากเงินทุนวิจัยได้เป็นร้อยเท่าพันเท่า

จากประสบการณ์จากการสนับสนุนทุนให้กับโครงการวิจัยต่างๆ ราว 150 -170 ล้านบาทต่อปี ทำให้ สวก. รู้ว่างานวิจัยในช่วง 10 ปีแรก ที่เน้นการวิจัยเชิงพาณิชย์ ในที่สุดก็ทำได้ไม่สำเร็จตามเป้า เพราะในมุมเกษตรกรยังคงต้องการงานวิจัยสาธารณะ

“แนวทางการส่งเสริมงานวิจัยด้านการเกษตรออกไปสู่เชิงพาณิชย์คงไม่ถูกต้องนัก ต้องมีงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร แต่อย่างไรก็ตาม งานวิจัยบางชิ้นยังคงต้องอาศัยเอกชนเข้ามาช่วยต่อยอดและผลิตเพื่อจำหน่ายต่อ ไป ผลสุดท้ายเกษตรกรจะได้ประโยชน์ โดยที่งานวิจัยกว่าครึ่งเป็นงานที่มุ่งเน้นให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่” ดร.พีรเดช อธิบายผลิตภัณฑ์ใหม่” ดร.พีรเดช อธิบายเหตุผลดังกล่าวทำให้เกิดการแบ่งสัดส่วนงานวิจัย เป็นงานวิจัยเชิงพาณิชย์ 60% งานวิจัยเชิงสาธารณะ 30% และงานวิจัยเชิงนโยบาย 10%เพื่อให้เกิดความสมดุล

ดร.พีรเดช บอกว่า สวก. พยายามผลักดันแนวคิดการสร้างเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานให้ทุนวิจัย โดยสภาวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีหน้าที่มองในภาพรวม เรื่องของนโยบายวิจัยเร่งด่วน และบูรณาการวิจัยใน 5 เรื่องหลักได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา การจัดการโลจิสติกส์ และการท่องเที่ยว เพื่อนำเสนอต่อรองกับภาครัฐในการของบประมาณวิจัย

ทั้งนี้ ในปี 2555 รัฐบาลให้อนุมัติงบประมาณวิจัยในภาพรวมของประเทศที่ 560 ล้านบาท จากที่ขอไป 1 พันล้านบาท ทำให้ วช. ต้องใช้งบประมาณที่มีอยู่เข้ามาเสริมรวมทั้งสิ้น 720 ล้านบาท โดยมอบให้ภาคีเครือข่ายทำหน้าที่บริหารจัดการทุนวิจัย ตามความโดดเด่นของแต่ละหน่วยงาน เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) เชี่ยวชาญเรื่องยางพารา โลจิสติกส์และการท่องเที่ยว สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทำงานวิจัยมันสำปะหลัง ในขณะที่งานวิจัยข้าว ให้ สวก. ดูแลภายใต้งบประมาณ 228 ล้านบาท โดย สวก. ได้จัดสรรให้กับ 60 โครงการวิจัยในปีที่ผ่านมา

ตลอดจนได้มีการหารือในกลุ่มหน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัย 5 ส. รวม สกอ. และ 1ว. คือ วช. เพื่อลดปัญหางานวิจัยซ้ำซ้อน เช่น นำยุทธศาสตร์งานวิจัยข้าว จาก 4 หน่วยงาน ได้แก่ สวทช. วช. กรมการค้า และสวก. มารวมเป็นหนึ่ง ภายใต้ยุทธศาสตร์วิจัยข้าวแห่งชาติ 2556-2559 เพื่อภารกิจงานที่ไม่ซ้ำซ้อน โดย สวทช. เน้นการพัฒนาสายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ โดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเพื่อเพิ่มผลผลิตและสร้างความต้านทานต่อโรคและแมลง ส่วน สวก. เน้นงานวิจัยข้าวทนแล้ง ซึ่งเขามองว่า งานวิจัยต้องเดินหน้าไปด้วยกัน เพื่อหาเทคโนโลยีที่ดีที่สุด

อย่างไรก็ตาม ในปี 2556 สวก. ได้รับงบประมาณเพิ่มเติม 410 ล้านบาท เพื่อเดินหน้าใน 4 ภารกิจหลัก ได้แก่ ข้าว ปาล์มน้ำมัน อาหารเพื่อความมั่นคง และงานวิจัยในพื้นที่สูง ซึ่งเป็นงานที่ทำอยู่เดิมแต่ต้องทำให้มากขึ้น โดยงบประมาณที่ได้รับจะช่วยกำหนดทิศทางได้ชัดเจน และได้งานวิจัยที่มีผลกระทบสูง

“ถ้างบวิจัยของประเทศเพิ่มเป็น 1% ของจีดีพี ได้จริงตามเป้าที่วางไว้ หรือราว 5 หมื่นล้านบาท เงินจำนวนนั้นต้องนำมาใช้กับการสร้างคน การลงทุนด้านเครื่องมือวิจัย ซึ่งการที่ไทยจะเดินหน้าสู่ประเทศเศรษฐกิจฐานความรู้ได้นั้น ต้องแก้ที่ตัวคน” เขากล่าว และยังทิ้งท้ายว่า เกษตรกรคน” เขากล่าว และยังทิ้งท้ายว่า เกษตรกรรุ่นใหม่ต้องเป็นเกษตรกรที่มีความรู้ เพราะการเกษตรถ้าทำด้วยความรู้ ไม่มีคำว่าจน

“เกษตรกรรุ่นใหม่ต้องมีความรู้ เพราะการเกษตรถ้าทำด้วยความรู้ ไม่มีคำว่าจน”

แหล่งที่มา : จุฑารัตน์  ทิพย์นำภา. รัฐเพิ่มงบวิจัย1%ของจีดีพี ความท้าทายที่ยังมาไม่ถึง. กรุงเทพธุรกิจ. ฉบับวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556.– ( 75 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


− two = 4

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>