magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home การแพทย์/สาธารณสุข กรมควบคุมโรคเตือนระวังโรคจากความร้อนอาจถึงตาย
formats

กรมควบคุมโรคเตือนระวังโรคจากความร้อนอาจถึงตาย

กรมควบคุมโรค เตือนระวังโรคจากความร้อนอาจถึงตาย แนะดื่มน้ำให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการอยู่กลางแดดจัด หรือป้องกันไม่ให้ผิวหนังสัมผัสแสงแดดโดยตรง …

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมช.สาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว ประกอบกับโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้อุณหภูมิของประเทศไทยในหน้าร้อนสูงขึ้นตามไปด้วย จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า คนไทยได้รับผลกระทบจากความร้อนมีจำนวนเพิ่มขึ้น ดังนี้ ในปี พ.ศ.2551 จำนวน 80 ราย และเสียชีวิต4 ราย, ปี พ.ศ.2552 มีผู้ป่วยจำนวน 89 ราย และเสียชีวิต 8 ราย และในปี พ.ศ.2553 มีผู้ป่วยจำนวน 198 ราย เสียชีวิต 18 ราย
รมช.สาธารณสุข กล่าวว่า โรคจากความร้อนที่สำคัญ ได้แก่
1.โรคลมแดด (Heat Stroke) เป็นโรคที่เกิดจากความร้อนที่มีอาการรุนแรงที่สุด อาจเสียชีวิตได้ สาเหตุเนื่องจากระบบการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายไม่ทำงานในสภาวะอากาศที่ร้อนจัด ผู้ป่วยจะมีอุณหภูมิของร่ายการสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ผิวหนังแดง ร้อน และแห้ง ไม่มีเหงื่อ ชีพจรเต้นแรงเร็ว ปวดหัวตุบๆ วิงเวียน คลื่นไส้ ไม่รู้สึกตัว ต้องรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยนำผู้ป่วยเข้าในที่ร่มทันที ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น เช็ดตามตัวหรือห่อตัว รีบทำให้ร่างกายเย็นโดยเร็ว ห้ามดื่มน้ำในรายที่ไม่รู้สึกตัว หากมีอาการชักให้จับนอนตะแคงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุและการสำลักจากการ อาเจียน ห้ามใช้วัสดุ เช่น ช้อน ส้อม ใส่ในปาก และรีบพาไปพบแพทย์ทันที

2.โรคเพลียแดด (Heat Exhaustion) เป็นโรคที่เกิดในขณะที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง ทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่า 37 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะมีอาการเหงื่อออกมาก หน้าซีด เหนื่อย อ่อนแรง วิงเวียน ปวดหัว อาเจียน เป็นลม กล้ามเนื้อเกร็ง การช่วยเหลือ ควรให้ดื่มน้ำเปล่าเย็น และเช็ดตัวด้วยน้ำเย็น ถ้าเป็นไปได้พาเข้าไปอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ หรือใต้ร่มไม้

3.โรคตะคริวแดด (Heat Cramps) มักเกิดในคนเสียเหงื่อมาก ระหว่างทำงานหนัก หรือออกกำลังกาย ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ ส่งผลให้เป็นตะคริว ผู้ป่วยจะปวดกล้ามเนื้อ เกร็งบริเวณหน้าท้อง แขนหรือขา การช่วยเหลือควรหยุดการใช้แรงทันที พาเข้าในที่ร่มหรือที่มีเครื่องปรับอากาศ ดื่มน้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่มที่มีเกลือแร่ ถ้าอาการไม่ดีภายใน 1 ชั่วโมง ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

4.ผิวหนังไหม้แดด (Sunburn) ผู้ป่วยจะมีผิวหนังเป็นรอยแดง ปวดแสบร้อนเล็กน้อย โดยทั่วไปจะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ ห้ามเจาะตุ่มน้ำที่พอง ให้ประคบเย็น ทาโลชั่นเพื่อให้ความชุ่มชื้น หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี จะมีตุ่มพองน้ำใส ปวดรุนแรง ให้ไปพบแพทย์เช่นกัน ด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กลุ่มเสี่ยงต่อโรคจากความร้อน มี 5 กลุ่ม ได้แก่ 1.เด็กเล็ก 2.ผู้สูงอายุเกิน 65ปี 3.ผู้ที่ท้วมหรืออ้วน

4.ผู้ใช้แรงงานอย่างหนักหรือผู้ออกกำลังกายหนัก

5.ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง หรือกำลังรับประทานยาบางชนิด เช่น ยารักษาภาวะซึมเศร้า นอนไม่หลับ นอกจากนี้ผู้ที่ทำงานกลางแดด ทหารเกณฑ์ระหว่างฝึกหนัก เด็กที่ถูกทิ้งไว้ในรถที่ดับเครื่องกลางแดดรอผู้ปกครอง ก็ต้องระวังโรคจากความร้อนเป็นพิเศษ สำหรับการป้องกันโรคที่เกิดจากความร้อน ต้องดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว หรือ 2 ลิตรต่อวัน สังเกตสีปัสสาวะถ้ามีสีเหลืองเข้มแสดงว่าดื่มน้ำไม่เพียงพอ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการอยู่กลางแดดจัด หรือป้องกันไม่ให้ผิวหนังสัมผัสแสงแดดโดยตรง โดยสวมเสื้อผ้าหลวมที่เบาสบาย สวมหมวกปีกกว้าง กางร่ม และใช้ครีมกันแดด ที่มีค่า SPF 15 ขึ้นไป 30 นาทีก่อนออกแดด และทาซ้ำตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์ สำหรับผู้ที่เดินทางหรือต้องทำงานกลางแจ้ง แนะนำให้สวมแว่นตากันแดดเพื่อกรองแสง จะช่วยให้มองเห็นภาพชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันฝุ่นละออง ป้องกันแสงยูวีที่จะทำให้เกิดการเสียหายต่อสายตาและกระจกตาด้วย หากประชาชนมีข้อสงสัย สอบถามได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลออนไลน์ กระทรวงสาธารณสุข 1422 หรือศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค 02 590 3333.

รายการอ้างอิง :
กรมควบคุมโรคเตือนระวังโรคจากความร้อนอาจถึงตาย. ไทยรัฐออนไลน์ (การศึกษา). วันที่ 24 มีนาคม 2556.– ( 73 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments 

One Response

  1. เป็นบทความที่มีประโยชน์มากๆครับ ผมมี link วิธีทำน้ำดื่มให้สะอาดจากกรมควบคุมโรคมาให้ด้วยครับ
    http://www.ddc.moph.go.th/emg/showimgpic.php?id=514

Leave a Reply to เครื่องกรองน้ำ Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


3 + two =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>