magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home ASEAN เปิดงานวิจัยทางรถไฟเชื่อมเพื่อนบ้าน
formats

เปิดงานวิจัยทางรถไฟเชื่อมเพื่อนบ้าน

เปิดผลวิจัย เสนอ 3 เส้นทางสร้างรถไฟเชื่อมประเทศเพื่อนบ้าน ชี้ระบบรางความเร็วสูงสายยาวแย่งผู้โดยสารมากกว่า เตือนใช้เงินมาก อาจไม่มีใครลงทุน

วันนี้ ( 20 มี.ค.)  ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ หัวหน้าโครงการวิจัยการใช้ประโยชน์จากระบบรถไฟที่เชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของภูมิภาค ได้รายงานผลการศึกษาต่อ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ระบุว่า หากการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงประเทศจีนและประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาค ลุ่มแม่น้ำโขงแล้วเสร็จ และมีการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะเกิดการเคลื่อนที่ของคน สินค้า บริการ และการลงทุนอย่างเสรี จะมีปริมาณการค้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด การขนส่งทางรถไฟจะเป็นการขนส่งหลัก โดยการขนส่งทางถนนเป็นตัวกระจายสินค้า      จากการประมาณความต้องการเดินทาง พบว่าหากนำรถไฟความเร็วสูงใช้ในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะแบ่งผู้โดยสารจากการเดินทางอื่นๆ ถึงร้อยละ 32.08 เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก จะแบ่งผู้โดยสารไปร้อยละ 20.61 ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-นครสวรรค์ จะดึงผู้โดยสารร้อยละ 10.00

ส่วนการประมาณการขนส่งสินค้า การเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศไทย – ลาวมีมูลค่าและปริมาณสูงขึ้น การค้าระหว่างไทย – จีนตอนใต้ มีศักยภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการเชื่อมโยงผ่านทางด่านหนองคาย เส้นทางที่คณะวิจัยเห็นความเหมาะสม 3 สายทางได้แก่ 1.เส้นทางเชื่อมสู่ประเทศเพื่อนบ้านทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงการสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อกับประเทศเวียดนาม ลาว และพม่า  2.เส้นทางการขนส่งสินค้าทางรถไฟเชื่อมโยงทะเลฝั่งอันดามันและอ่าวไทย รองรับการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายของสหภาพพม่า 3.เส้นทางการท่องเที่ยวทางรถไฟ รองรับนักท่องเที่ยวจากจีน และกลุ่มอาเซียนที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยเน้นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงระหว่างประเทศจีน ลาว และไทย เชื่อมต่อกับการท่องเที่ยวโดยด้วยรถไฟระหว่างประเทศเส้น ทางกรุงเทพฯ-มาเลเซีย-สิงคโปร์

ดร.ฉลองภพรายงานการคาดการณ์ผลกระทบด้วยว่า จะทำให้ต้นทุนด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ของไทยลดลง มีความสะดวกและประหยัด ประชาชนมีทางเลือกการเดินทางมากกว่าเครื่องบินหรือทางถนน การพัฒนาเมืองจะมีรูปแบบสอดคล้องกับการเดินทางด้วยรถไฟ อย่างไรก็ตามโครงการจะใช้เงินทุนสูง หากความคุ้มค่าทางการเงินต่ำเอกชนอาจไม่ลงทุน หากรัฐบาลสนับสนุน ก็จะเป็นภาระต่องบประมาณของประเทศ นอกจากนี้ยังจะกระทบกับการเดินทางอากาศ เนื่องจากรถไฟความเร็วสูงเป็นคู่แข่งโดยตรงกับการเดินทางทางอากาศ

รายการอ้างอิง :
เปิดงานวิจัยทางรถไฟเชื่อมเพื่อนบ้าน. เดลินิวส์ (ไอที). วันพุธที่ 20 มีนาคม 2556.

– ( 263 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


6 × = six

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>