magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว ลำต้น เป็นเถาเลื้อย เถาแข็งและเหนียว คล้ายกับถั่วพู แต่มีอายุเพียงปีเดียว หรือฤดูเดียว เถาสีเขียวอ่อน ลำต้นม้วนพันสิ่งยึดเกาะได้ดี ใบเป็นใบประกอบแบบฝ่ามือ มี 3 ใบย่อย รูปสามเหลี่ยมยาว 6-10 เซนติเมตร ดอก เป็นดอกช่อออกตามซอกใบกลีบดอกสีขาว หรือน้ำเงินอ่อน ฝักเป็นฝักกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5- 1 เซนติเมตร ยาว 20-80 เซนติเมตร มีหลายเมล็ด

ในตำหรับยาแพทย์แผนไทย ใช้ใบสดของถั่วฝักยาวประมาณ 60-100 กรัม ต้มกับน้ำเป็นยารักษาโรคหนองในและปัสสาวะเป็นหนอง เปลือกฝัก ใช้สด 100-150 กรัม ต้มกิน ใช้ภายนอกโดยการพอกตำ จะเป็นยารักษาอาการปวดบวม ปวดตามเอว และแผลที่เต้านม เมล็ด ใช้แห้งหรือสดต้มกินกับน้ำหรือคั้นสดจะมีรสชุ่มชื่นเป็นยาบำรุงม้ามและไต แก้กระหายน้ำ อาเจียน ปัสสาวะกะปริดกะปรอย และตกขาว ราก ใช้สดต้มกับน้ำหรือตุ๋นกินเนื้อใช้รักษาภายนอกโดยการพอกหรือนำมาเผาแล้วบด ให้เป็นผงละเอียดผสมกับน้ำทาใช้เป็นยารักษาโรคหนองในที่มีหนองไหล บำรุงม้าม ส่วนการใช้ภายนอกนั้น ใช้รักษาฝีเนื้อร้ายและช่วยให้เนื้อเจริญเร็วขึ้นถั่วฝักยาวมีโปรตีน วิตามินเอ ไทอามีน ไรโบฟลาวิน เหล็ก ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม นอกจากนั้นยังมีวิตามินซี โฟเลต แมกนีเซียม และแมงกานีส ถั่วฝักยาวปริมาณ 100 กรัมมีพลังงาน 47 แคลอรี ไม่มีไขมันและคอเลสเตอรอล โซเดียม 4 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 8 กรัม และโปรตีน 3 กรัม.

รายการอ้าอิง :
ถั่วฝักยาว. เดลินิวส์ (เกษตร-เรื่องน่ารู้). วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2556.

– ( 29 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


9 × two =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>