magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก รถยนต์รักษ์สุขภาพ
formats

รถยนต์รักษ์สุขภาพ

‘ดร.อดิสร’พาไปรู้จัก หนึ่งในบทบาทของเซนเซอร์ที่เกี่ยวข้องกับผู้ขับขี่ เป็นมากกว่าเซนเซอร์ตรวจขาซิ่งหรือเมาแล้วขับ

ในโลกของเราทุกวันนี้ ไม่ว่าเราจะเดินไปทางไหนก็มักจะมีเซนเซอร์คอยตรวจจับอยู่เสมอไม่ว่าเราจะเดินเข้าร้านสะดวกซื้อ เซนเซอร์หน้าร้านก็ทำงานเพื่อเปิดประตูให้เราโดยอัตโนมัติ เข้ามาในรถยนต์เซนเซอร์ก็ทำงานเพื่อปรับอุณหภูมิในห้องโดยสารให้เราเย็นสบาย เมื่อมาถึงบ้านเราก็ต้องตรวจเช็คเซนเซอร์กันขโมยที่เราติดไว้รอบบ้าน ทั้งยังมีเซนเซอร์ที่คอยตรวจจับควันเพื่อป้องกันไฟไหม้ แค่นี้เราก็อยู่กับเซนเซอร์ตลอดเวลาในชีวิตเราแล้ว
ล่าสุดทีมนักวิจัยทางด้านสุขภาพจาก University of Southern California ได้ทำการวิจัยและพัฒนาเซนเซอร์ที่จะบ่งบอกนิสัย และการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆของเรา เซนเซอร์ที่พูดถึงนี้ไม่ได้ติดเพียงตัวเดียวเท่านั้น ทีมวิจัยได้ใช้เซนเซอร์ถึง 230 ตัว ร่วมกับแอพพลิเคชั่นบน iPhone  เพื่อการนี้โดยนำเซนเซอร์มาติดตั้งในรถยนต์ เพราะทุกวันนี้เราใช้รถยนต์อยู่บนท้องถนนวันละหลายๆ ชั่วโมง

เซนเซอร์นี้จะทำการตรวจวัดการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆรอบตัวเรา ตัวอย่างเช่น เมื่อเราขับรถเร็ว การเต้นของหัวใจจะเร็วขึ้น เซนเซอร์จะไปเปิดเพลงฟังสบายๆ เพื่อให้จังหวะการเต้นของหัวใจเราช้าลง Paul Abramson หนึ่งในแพทย์ในทีมวิจัยได้ให้ความเห็นว่า การรถยนต์เป็นที่ๆเหมาะสมในการทำการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์เพราะเหตุที่ว่า บนท้องถนนนั้น สามารถทำให้คนเปลี่ยนแปลงอารมณ์ได้บ่อยและรวดเร็วกว่าที่อื่นๆ จึงเห็นว่าการติดตั้งเซนเซอร์ดังกล่าวบนรถยนต์นั้นสามารถศึกษาพฤติกรรมประจำวันของผู้ป่วยได้ดี ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น ผู้ป่วยเข้าไปซื้ออาหารในร้านอาหารจานด่วนบ่อยแค่ไหนใน 1 สัปดาห์หรือในแต่ละช่วงเวลาของวันผู้ป่วยมีความดันโลหิตเท่าไหร่และหัวใจเต้นเป็นกี่ครั้งต่อนาที

การศึกษาดังกล่าวนั้นจะช่วยให้ผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันและไขมันสูง สามารถทราบถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้องของตนเองและสามารถปรับเปลี่ยนได้ ทำให้การรักษาและการใช้ชีวิตเป็นไปได้อย่างดีขึ้น ทีมวิจัยกล่าวว่าการใช้งานรถยนต์ที่ติดตั้งเซนเซอร์ดังกล่าวนี้ จะใช้ได้ดีกับผู้ที่ตั้งใจจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพของตนเองจริงๆ เพราะการทราบถึงพฤติกรรมที่แท้จริงของตนพร้อมทั้งประเมินและปรับเปลี่ยนได้ด้วยตนเองนั้นจะทำให้สุขภาพดีอย่างยั่งยืน

ไม่ว่าจะมีเครื่องมืออะไรมาเพื่อตรวจวัดพฤติกรรมใดๆของมนุษย์เพื่อให้สุขภาพดี ไม่ว่าจะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกี่ท่าน ไม่ว่าจะเป็นโรคเรื้อรังใดๆ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเคยชินเป็นเรื่องที่ยากที่จะทำได้เพราะกว่าจะเกิดโรคเรื้อรังอะไรก็เป็นเพราะอุปนิสัยในการใช้ชีวิต

ดังนั้นเทคโนโลยีทุกอย่างนั้นมีไว้เพื่อให้มนุษย์ทราบว่าวิถีชีวิตที่คนนั้นใช้อยู่จะนำพาโรคใดมาหาท่าน แต่ถ้าท่านไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองแล้ว ไม่ว่าเทคโนโลยีใดก็ไม่สามารถช่วยให้ท่านมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ได้ นอกจากตัวของตัวเองจะลุกขึ้นมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเคยชินเพื่อสุขภาพดีอย่างยั่งยืน

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. รถยนต์รักษ์สุขภาพ. เดลินวิส์ (ไอที-นวัตกรรม : นวัตกรรม). วันที่ 18 ตุลาคม 2555.– ( 136 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


− one = 5

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>