magnify
magnify

Open Knowledge for all 

formats

สมองสีฟ้า

สิ่งมหัศจรรย์สิ่งหนึ่งบนโลกนี้และผมเชื่อว่า สิ่งนี้มหัศจรรย์กว่าปิระมิด สวนลอยบาบิโลน หรือแม้กระทั่งกำแพงเมืองจีน

สิ่งนั้นคือร่างกายและสมองของมนุษย์คนเรานี่แหละครับ

ด้วยโครงสร้างการทำงานที่ซับซ้อนประกอบด้วยหน่วยย่อยต่าง ๆ มากมาย ทำงานร่วมกันจนกลายเป็นระบบของร่าง กายคนที่สมบูรณ์ ทำให้มนุษย์อย่างเรา ๆ

สามารถคิด สร้างสรรค์ คำนวณ ท่องจำ เรียนรู้ เกิดอารมณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมหัศจรรย์

แม้เราจะพอเข้าใจการทำงานของสมองอยู่บ้าง ว่าสัญญาณที่วิ่งอยู่ระหว่างเซลล์ประสาท (neuron) วิ่งจากส่วนไหนไปส่วนไหนเพื่อทำงานอะไร แต่รูปแบบการวิ่งของสัญญาณเหล่านั้น มีความหมายอย่างไร และทำให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างไร ยังเป็นเรื่องที่ต้องศึกษากันต่อไป

ลองคิดกันง่าย ๆ ก็ได้ครับ เมื่อแสงตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาของเรา หลังจากนั้นแล้ว ภาพเหล่านั้นมีรูปแบบการวิ่งไปมาในสมองเราอย่างไร เราเข้าใจภาพนั้นได้อย่างไร จัดเก็บภาพด้วยรูปแบบอะไร เก็บด้วยความละเอียดอย่างไร เป็นตารางหรือไม่ มีสีที่ระดับความละเอียดเท่าไร ค้นหาและดึงความหมายของภาพนั้นมาใช้ได้อย่างไร หรือถ้าผมขอให้นึกถึงหมายเลขโทรศัพท์หนึ่งเบอร์ คุณจะนึกถึงอะไรเป็นอย่างแรก นึกถึงหมายเลขโทรศัพท์เลย หรือว่า ต้องนึกถึงเจ้าของก่อน แล้วจึงใช้ชื่อเจ้าของในการค้นหาหมายเลขโทรศัพท์นั้นออกมา

แน่นอนครับว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในย่อหน้าด้านบนนี้ เกิดขึ้นเร็วมาก เร็วจนเราไม่รู้ว่า มันมาได้อย่างไร แต่ที่รู้ ๆ คือ สมองทำงานตอบสนองความต้องการแบบนั้นของเราได้อย่างดี โดยเราแทบไม่ต้องสั่งการอะไรเลย

เพื่อพยายามทำความเข้าใจกระบวน การทำงานของสมอง มนุษย์ได้สร้างแบบจำลองของสมองขึ้นหลากหลายรูปแบบ เพื่อหาคำตอบว่า รูปแบบการเชื่อมต่อกันของเซลล์ประสาท จะสามารถทำให้เกิดความคิด ความจำ หรือการเรียนรู้ได้อย่างไร

โครงการใหญ่โครงการหนึ่งที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2005 ด้วยความร่วมมือของไอบีเอ็มและ COLE POLYTECHNIQUE FDRALE DE LAUSANNE (EPFL) มีชื่อว่า โครงการบลูเบรน หรือ สมองสีฟ้า (Blue Brain Project) มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแบบจำลองสมองลงบนเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยนำความรู้ทางด้านประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience) เข้ามาช่วยกำหนดรูปแบบของเซลล์สมองและการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทเหล่า นี้ เพื่อเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ให้เหมือนจริงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งจะสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงการประสาทวิทยาศาสตร์ในที่สุด

สิ่งที่โครงการบลูเบรนประสบความสำเร็จไปแล้ว คือ การสร้างคอร์ติคัลคอลัมน์ของหนู ซึ่งคอร์ติคัลคอลัมน์นี้ ถือเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสมอง มันเป็นกลุ่มของเซลล์ประสาทจำนวนประมาณ 10,000 เซลล์ในหนูและ 100,000 เซลล์ในมนุษย์ จัดตัวเป็นกลุ่มในแนวตั้ง และเมื่อคอร์ติคัลคอลัมน์เหล่านี้ทำงานร่วมกัน จะกลายเป็นสมองของเราได้ในที่สุด โดยบลูเบรนตั้งความหวังไว้ว่า จะสามารถจำลองการทำงานของสมองมนุษย์ได้ในอีกสิบปีข้างหน้า

ปัจจุบันโครงการบลูเบรนใช้ซีพียู 16,384 คอร์ และใช้แรม 16 เทระไบต์ และเป็นหนึ่งในสองของโครงการ FET Flagship ของอียู ที่เพิ่งประกาศไปเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยจะได้รับเงินทุนสนับสนุนมูลค่าหนึ่งพันล้านยูโรเป็นระยะเวลาสิบปี เพื่อทำความฝันของการจำลองสมองมนุษย์ให้เป็นจริงได้ในที่สุด.

รายการอ้างอิง :

สุกรี สินธุภิญโญ. สมองสีฟ้า. เดลินิวส์ (1001). วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2556.– ( 36 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


+ 4 = nine

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>